แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ SEO แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ SEO แสดงบทความทั้งหมด

ประเภทของแผนผังเว็บไซต์ (Sitemap) สามารถแบ่งได้กี่ประเภท

เมื่อคุณสร้างบทความใน Web หรือ Blog ของคุณเรียบร้อยแล้ว คุณก็คงหวังจะให้ Search Engine ไม่ว่าจะเป็น Google / Bing / Yahoo / Ask.com / AOL เป็นต้น มาทำความรู้จัก Web หรือ Blog ของคุณ



ในบทความนี้ เราจะเสนอวิธีหนึ่งที่คุณต้องทำ นั้นก็คือ การสร้าง Site Map หรือ แผนผังเว็บไซต์ นั้นเอง ซึ่ง Site Map จะมีหน้าที่อธิบายถึง โครงสร้างของเว็บไซต์ ทั้งหมด อ่านมาถึงตรงนี้ มีใคร งง กับคำว่าโครงสร้างของเว็บไซต์หรือไม่ ... ถ้าคุณๆ ฟังแล้วนึกภาพไม่ออก เราขอเรียกสิ่งนี้ว่ามันเหมือนกับหน้าสารบัญของเว็บไซต์ 

Search Engine จะทำการเก็บข้อมูลและตรวจสอบ Meta-tag ไฟล์ .txt ข้อมูลเนื้อหา และคำค้นต่างๆ 

"SEO ชอบ Sitemap ประเภทไหนละ !!!"

Sitemap หรือ แผนผังเว็บไซต์ จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท

1. URLlist (Text Sitemap) เป็น Sitemap ที่สร้างด้วยการ List หน้า Page ไว้ในเว็บไซต์ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างง่าย ตามรูปที่ 1
รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างรูปแบบ Sitemap ที่สร้างแบบ list หน้าเพจต่างๆ

2. HTML Sitemap เป็น Sitemap แบบที่มีโครงสร้าง ที่สามารถบอกข้อมูลให้ทั้งผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ และ Search Engine Bot 

อะไรที่เพิ่มลงไปใน HTML Sitemap

2.1 รูปแบบที่มีโครงสร้างที่ชัดเจน มีการเรียงลำดับชั้นไว้แล้ว ทำให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถเข้าใจโครงสร้างเนื้อหาของ Site ได้อย่างรวดเร็ว
2.2 สามารถจัดการ anchor text ได้ หรือ Backlink คือ การทำให้ข้อความธรรมดาเป็นข้อความที่ Link ไปเว็บไซต์หรือหน้าบทความที่ต้องการได้ เช่น <a href="url">Anchor Text</a> ดังนั้น คุณๆ ควรคิด Keyword ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ที่จะเชื่อมโยงไปหรือเนื้อหาในบทความ
2.3 ควรทำเป็น Static Page เพื่อให้ Bot สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

3. XML Sitemap เป็น Sitemap แบบ ไม่มี โครงสร้าง ซึ่งผู้อ่านจะไม่สามารถเห็นว่ามีเพจอะไรบ้าง 
😲😲😲😲 
เมื่อผู้ใช้ไม่เห็น Sitemap แบบนี้ .... แล้วจะสร้างไปทำไม ... ก็มีไว้บอกข้อมูลเว็บไซต์เรากับ Search Engine นั้นเอง 

Share:

5 ขั้นตอนสร้าง Site Map ใน Blogger ด้วย Search Console

ในการสร้าง Blogger มาหนึ่ง Blog คุณต้องมีการสร้าง Sitemap เพื่อให้ข้อมูลกับ Search engine ว่า Blog ของเรามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยภายใน Blogger มีเมนูนำคุณไปสู่ Google Search Console ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับ Sitemap ได้อย่างรวดเร็ว


วิธีการสร้าง Sitemap ด้วย Google Search Console

ขั้นตอนที่ 1. เข้า Dashboard ของ Blogger 
ขั้นตอนที่ 2. เลือกเมนู "การตั้งค่า" และ เลือกเมนูย่อย "ค่ากำหนดของการค้นหา" 
ที่ด้านขวาของหน้าจอให้มองหาส่วน "โปรแกรมรวบรวมข้อมูลและการจัดทำดัชนี" 
ให้คลิก "แก้ไข" ที่ส่วน Google Search Console ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 แสดงช่องทางการเข้าไปจัดการ Google Search Console

ขั้นตอนที่ 3. ระบบจะเปิด https://www.google.com/webmasters/tools/ ให้คลิกปุ่มเพิ่มพร๊อพเพอร์ตี้ ด้วยการพิมพ์ชื่อเว็บ Blog ของเรา ซึ่งบทความนี้ก็ต้องพิมพ์ https://www.happylearntool.blogsport.com/ ระบบจะไปค้นหาและนำเว็บคุณมาแสดง ดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 แสดงหน้าที่ Google Search Console ไปค้นหาเว็บตามที่ระบุไปมาแสดง

ให้คุณคลิกเข้าไปที่ชื่อเว็บไซต์ของคุณ ระบบจะแสดงรายละเอียดแผงควบคุม และให้คลิกส่วนของ แผนผังไซต์ ที่ด้านขวาของจอดัง รูปที่ 3

รูปที่ 3 แสดงหน้าแผงการควบคุม

ขั้นตอนที่ 4.
 คลิกปุ่ม เพิ่ม/ทดสอบแผนผังเว็บไซต์ ระบบจะแสดง PopUp ให้ใส่ atom.xml ที่ช่อง Text ดังรูปที่ 4 

รูปที่ 4 แสดง PopUp ให้ใส่ชื่อ atom.xml

ขั้นตอนที่ 5. ให้ คลิกปุ่มทดสอบ ก่อนเพื่อตรวจสอบ แต่ถ้าไม่มี Error อะไรให้ คลิกปุ่มส่ง ได้ทันที

หลังจากคลิกส่งแล้วสามารถคลิก "การรวบรวมข้ออมูล" >> "แผนผังไซต์" ที่จอด้านขวาจะแสดงรายละเอียดบทความภายใน Blog ทันที

เพียงแค่นี้ Blog ของคุณจะมี Sitemap แบบของ XML ให้ Search Engine เก็บข้อมูลแล้ว
Share:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Dashboards คืออะไร มีกี่ประเภท

Dashboards คืออะไร และสามารถช่วยเราในการทำงานอย่างไร Dashboards คือ การนำข้อมูลมาสร้างรายงานที่เป็นภาพรวมทางธุรกิจ ให้ผู้บริหารสามารถ...

Recent Posts

Keywords

เอ็กเซล Data-Management Functions การจัดการข้อมูลในเอ็กเซล Blogger Basic-Excel Create-Blogger การจัดการข้อมูล Excel Conditional Formatting excel Data-Analysis Drop down list Excel สูตร Computer knowledge Feed RSS Atom คือ อะไร Index Match function excel SEO Search Console Search engine chart excel คือ excel data validate paste option Excel vlookup approximate Match exact Match vlookup function excel การใช้ concatenate ใน excel สร้าง drop down list สร้าง กราฟ เอ็กเซล Advance Filter Auto Filter by Color Auto Filter by Text Content Syndication DATEDIF() Datedif Function Excel SUM Function Excel SUMIF Function Excel SUMIFS Function Formula Values Transpose Formatting Function excel Gantt Chart excel Gantt Chart excel ทำยังไง HLOOKUP Icon Set Index Match function คือ Knowledge Line Chart Scatter Chart LogicFunction Match function excel Name Manager Paste Special Pie Doughnut chart excel Robots Header Tag Sumproduct function การใช้ สูตร เอ็กเซล Template Text Function Excel Trim Clear Function Excel Values column chart excel condition countif excel count if excel 2010 countifs data validation excel countifs เงื่อนไข ตัวอักษร มากกว่า น้อยกว่า excel index match formula excel match function reference cell excel sort and filter excel เบืื้องต้น excel เบื้องต้น flash fill excel คือ flash fill คือ อะไร function คือ highlight in dropdownlist index excel match vlookup index match ใช้ยังไง lookup excel กราฟ แผนภูมิ Excel การ เรียง ข้อมูล excel การ เรียง ลําดับ ข้อมูล excel การกรองข้อมูล Excel การตัดข้อความ เอ็กเซล การทํา chart excel การทําcontrol chart excel การสร้าง ตาราง กราฟ excel การสร้าง chart excel การสร้างฟีต การหาผลรวมในเอ็กเซล การเผยแพร่เนื้ือหา การเพิ่ม Subscription ให้ Blogger การแยก ข้อความ การใช้ if การใช้ index match excel การใช้งาน Subtotal outline excel การใช้ฟังก์ชั่น concatenate การใช้แผนภูมิ chart excel ค้นหาข้อมูล เอ็กเซล ค้นหาเลขคอลัมน์ ค้นหาเลขแถว เอ็กเซล ตัดช่องวางในเอ็กเซล ผูกเว็บกับ Google Analytics ฟังก์ชั่น Text การใช้ วิธีการตัดข้อความใน Excel วิธีทำ แผนภูมิ วงกลม Excel สูตร COUNTIF สูตรexcel concatenate สูตรการหาผลรวมใน Excel หาผลต่างระหว่างเดือน เพิ่มรายการใน Data Validation แผนภูมิ คอลัมน์ excel แผนภูมิคอลัมน์ เรียงซ้อน ใส่สีให้ dropdownlist