บทความนี้ จะอธิบายการใช้ฟังก์ชั่น Match และแสดงตัวอย่างการประยุกต์ใช้ระหว่าง Match Function ร่วมกับ Vlookup Function
ฟังก์ชั่น Match
เป็นฟังก์ชั่นหาเลขลำดับของข้อมูล ซึ่งหลักการคล้ายกับ VLOOKUP (หาสิ่งที่เราสนใจ) โดยที่ MATCH จะ ไม่ แสดงค่า (Value) จากตาราง แต่มันทำได้เพียงหาเลขลำดับของสิ่งที่ค้นหาว่าอยู่ในแถว (Row) หรือคอลัมน์ (Column) อะไรเท่านั้น
ไวยาการณ์ =MATCH(lookup_value, lookup_array, [match_type])หลักการใช้ฟังก์ชั่น Match
- lookup_value คือ ค่าที่ต้องการหา
- lookup_array คือ ลำดับคำที่ค้นหา ว่าอยู่ในแถวหรือคอลัมน์อะไร (เลือกได้แค่แถว หรือคอลัมน์ เท่านั้น จะเลือกทั้งคู่ไม่ได้)
- [match_type] คือ การเลือกประเภทการค้นหา ซึ่งมี 3 ประเภท คือ
- 0 : เป็นการหาค่าที่ต้องเหมือนกันทั้งหมด (เหมือนกับ VLOOKUP แบบ Exact Match) แต่ถ้าเจอเหมือนกันมากกว่า 1 ตัว โปรแกรมจะแสดงตัวแรก
- 1 หรือไม่ต้องใส่ค่า : ควรทำการเรียงข้อมูล lookup_array จากน้อยไปมากก่อน ซึ่งหลักการทำงาน จะหาค่าที่มากกว่า ค่าที่กำลังค้นหา แล้วแสดงค่าตัวก่อน 1 ช่อง
- -1 : ควรทำการเรียงข้อมูล lookup_array จากมากไปน้อยก่อน ซึ่งหลักการทำงาน จะหาค่าที่น้อยกว่า ค่าที่กำลังค้นหา แล้วแสดงค่าตัวก่อน 1 ช่อง
ตัวอย่างการใช้ฟังก์ชั่น Match
เราจะใช้ตารางเดียวกับบทความ VLOOKUP เพื่อให้คุณ ๆ เห็นถึงความต่างของฟังก์ชั่น MATCH และ VLOOKUP
รูปที่ 1 ตารางใช้แสดงผลการค้นหาด้วย MATCH |
จากรูปที่ 1 สามารถหาลำดับคอลัมน์หรือแถว ของสิ่งที่ต้องการค้นหา ดังนี้
- การหาร้านค้าที่ชื่อ Ooh la la สามารถเขียนสูตร (หาแถว) ดังนี้
=MATCH("Ooh la la",B1:B14,0)
หมายถึง ใช้คำสั่ง Match ทำการค้นหาชื่อร้าน Ooh la la โดยมองหาที่ช่วงของคอลัมน์ B1:B14 และต้องค้นหาโดยคำต้องตรงกันทั้งหมด
ผลลัพธ์ของสูตรนี้ คือ 13
- การหาว่ารหัสร้านค้า S009 สามารถเขียนสูตร (หาแถว) ดังนี้
=MATCH(A6,A1:A14,0)
หมายถึง ใช้คำสั่ง Match ทำการค้นหารหัสร้านในเซลล์ A6 โดยมองหาที่ช่วงของคอลัมน์ A1:A14 และต้องค้นหาโดยคำต้องตรงกันทั้งหมดผลลัพธ์ของสูตรนี้ คือ 6- การหาคำว่า "Nameshop" สามารถเขียนสูตร (หาคอลัมน์) ดังนี้
=MATCH("nameshop",A1:D1,0)
หมายถึง ใช้คำสั่ง Match ทำการค้นหา "nameshop" โดยมองหาที่ช่วงของคอลัมน์ A1:D1 และต้องค้นหาโดยคำต้องตรงกันทั้งหมดผลลัพธ์ของสูตรนี้ คือ 2- การหาอัตราภาษี 500,000 บาท สามารถเขียนสูตร ดังนี้
=MATCH(D2,D1:D14,1)
หมายถึง ใช้คำสั่ง Match ทำการค้นหาอัตราภาษี 500,000 บาท โดยมองหาที่ช่วงของคอลัมน์ D1:D14 และต้องค้นหาโดยเรียงข้อมูลก่อน ผลลัพธ์ของสูตรนี้ คือ 14
นอกจาก คำสั่ง Match สามารถทำให้เราทราบคอลัมน์ หรือแถว ของสิ่งที่เราค้นหา ซึ่งคุณ ๆ สามารถนำสูตร Match นี้ไปใช้รวมกับสูตรอื่น เช่น VLOOKUP
ปล. ใครยังไม่เข้าใจการทำงานของ VLOOKUP Function สามารถเข้าไปอ่านทบทวนได้ที่ "การค้นหาข้อมูลด้วย vLookUp จาก Excel"
ตัวอย่างการใช้ฟังก์ชั่น Match ร่วมกับฟังก์ชั่น Vlookup
จากรููปที่ 1 จะแสดงวิธีการนำทั้ง 2 ฟังก์ชั่นมาค้นหาข้อมูลได้อย่างอย่าง แต่คุณอย่าพึ่งคิดว่า ข้อมูลเพียงแค่นี้ไม่เห็นต้องเขียนสูตรให้ยุ่งยาก
เราใช้รูปที่ 1 แทนข้อมูลขนาดใหญ่ เพราะถ้าคุณต้องไปเจอทั้งคอลัมน์และแถวมีจำนวนมากๆ ก็สามารถใช้ทั้ง 2 ฟังก์ชั่น มาประยุกต์ เขียนสูตรเพื่อหาข้อมูลได้ง่าย ๆ ดังนี้
การค้นหาเลขคอลัมน์โดยใช้ฟังก์ชั่น match ร่วมกับฟังก์ชั่น vlookup
เราใช้รูปที่ 1 แทนข้อมูลขนาดใหญ่ เพราะถ้าคุณต้องไปเจอทั้งคอลัมน์และแถวมีจำนวนมากๆ ก็สามารถใช้ทั้ง 2 ฟังก์ชั่น มาประยุกต์ เขียนสูตรเพื่อหาข้อมูลได้ง่าย ๆ ดังนี้
การค้นหาเลขคอลัมน์โดยใช้ฟังก์ชั่น match ร่วมกับฟังก์ชั่น vlookup
=VLOOKUP("S013",A1:C14,MATCH("Branch",A1:C1,0),FALSE)
จากคำสั่งที่เขียนด้านบน ส่วนของ Match หมายถึง หาเลขลำดับที่ตรงกับคำว่า "Branch" จากช่วง A1:C1 โดยทำต้องสะกดเหมือนกับคำที่กำลังหา คำตอบของสูตร (MATCH("Branch",A1:C1,0)) นี้ เป็นเลขคอลัมน์ คือ 3
เมื่อนำมาร่วมกับ vlookup คำตอบของสูตร (=VLOOKUP("S013",A1:C14,MATCH("Branch",A1:C1,0),FALSE)) นี้ เป็น Krabi นั้นเอง
คุณ ๆ คงสงสัยว่า ใครจะอยากรู้ เลขคอลัมน์ หรือแถว ข้อมูล (Data) กันบ้างละ สิ่งที่คนใช้งาน Excel อยากจะรู้ ควรจะเป็น ข้อมูล (Data) ที่อยู่ในเซลล์นั้นๆ ซิ !!!!
คนที่จะอยากรู้ว่าเลขคอลัมน์ หรือเลขแถว ของสิ่งที่ค้นหาเป็นเลขอะไร ก็คือ คนที่เขียนสูตรด้วยฟังก์ชั่น INDEX นั้นเอง
คนที่จะอยากรู้ว่าเลขคอลัมน์ หรือเลขแถว ของสิ่งที่ค้นหาเป็นเลขอะไร ก็คือ คนที่เขียนสูตรด้วยฟังก์ชั่น INDEX นั้นเอง