แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เอ็กเซล แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เอ็กเซล แสดงบทความทั้งหมด

Dashboards คืออะไร มีกี่ประเภท

Dashboards คืออะไร และสามารถช่วยเราในการทำงานอย่างไร


Type of Dashboard

Dashboards คือ การนำข้อมูลมาสร้างรายงานที่เป็นภาพรวมทางธุรกิจ ให้ผู้บริหารสามารถทำการวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น จะเห็นว่าเราเรียก Dashboards ว่าเป็นรายงานได้ แต่ไม่ใช่ว่าทุกรายงานจะเป็น Dashboards แล้วความแตกต่างระหว่าง Dashboards และรายงานคืออะไร 

  • รายงานจะทำการรวบรวมข้อมูล และแสดงข้อมูลที่รวบรวมนั้น จากที่เดียวกัน เช่น ผู้จัดการขององค์กรแห่งหนึ่ง ต้องการทราบการเติบโตของยอดขายในช่วงเวลาที่ผ่านมาและภูมิภาคไหนที่ทำกำไรได้สูงที่สุด เป็นต้น เราจะต้องนำรวบรวมข้อมูลและแสดง เป็นรายงาน ซึ่งรายงานนี้ เราค่อยนำไปใช้เป็น Data ในการสร้าง Dashboards ภายหลัง
  • ส่วน Dashboards จะสามารถตอบคำถามให้กับผู้จัดการขององค์กรได้ดีกว่า เพราะ Dashboards จะแสดงให้เห็นทันที ว่าภูมิภาคใดที่มียอดขายผลิตภัณฑ์ใดสูงสุด ส่งผลให้ผู้จัดการ สามารถวางแผนส่งเสริมการขายได้ง่ายขึ้น 


ปัจจุบันรายงานแบบ Dashboards สามารถสร้างได้จากเครื่องมือจำนวนมาก หนึ่งในเครื่องมือเหล่านี้ คุณๆ สามารถเลือกใช้ Microsoft Excel ที่เราคุ้นๆ แต่ไม่ค่อยจะสนิทกันสักเท่าไร ฮ่าฮ่าฮ่า

ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้วิธีการสร้างรายงานแบบ Dashboards ให้มาทำความรู้จักรูปแบบรายงานแบบ Dashboards กันก่อน ดังนี้

1. Strategic Dashboards

Dashboard เชิงกลยุทธ์ เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจให้กับผู้จัดการทุกระดับ โดยแสดงภาพรวมที่มีประสิทธิภาพของธุรกิจ มักจะแสดงเป็นรายวัน รายเดือน รายไตรมาส และรายปี เช่น Customer Service Dashboards หมายถึง การนำข้อมูลมาสร้างเป็นรายงานภาพรวมของการให้บริการลูกค้า ในธุรกิจนั้นเอง เพื่อให้นำไปวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น 
หรือ KPI Dashboard ซึ่งย่อมาจาก Key Performance Indicators เป็นเครื่องมือที่ช่วยผู้บริหารสามารถมองเห็นประสิทธิภาพของบริษัท ด้วยการรวบรวม (collecting) จัดกลุ่ม (grouping) จัดระเบียบ (organising) และแสดงตัวชี้วัดที่สำคัญของบริษัท โดยวัตถุประสงค์หลักของการใช้ KPI Dashboards สามารถแสดงประสิทธิภาพของ KPI ที่สำคัญ และมุมมองเชิงเปรียบเทียบของ KPI หรือบริษัทอื่นอีกด้วย

2. Analytical Dashboards
เป็น Dashboard เชิงวิเคราะห์ ประกอบด้วย ข้อมูลจำนวนมาก ประวัติของข้อมูล และผลการเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งเน้นมุมมองต่างๆของข้อมูลที่วิเคราะห์ออกมา เช่น dashboard บริหารการเงิน / dashboard บริหารยอดการขาย เป็นต้น

3. Operational Dashboards
เป็น Dashboard ที่ใช้ตรวจสอบการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง Dashboard นี้จะแตกต่างจาก Dashboard 2 ตัวแรกที่กล่าวมา และต้องเป็น Dashboard ที่มีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ เช่น Project Management Dashboards เป็น Dashboard ที่จำเป็นสำหรับผู้จัดการโครงการที่ต้องควบคุมโครงการขนาดเล็กถึงโครงการขนาดกลาง สามารถใช้ Excel มาใช้ในการวางแผน ติดตามโครงการต่างๆ ได้

4. Informational Dashboards
เป็น Dashboard ที่แสดงข้อมูล ตัวเลขที่เป็นข้อเท็จจริง หรือสถิติ ซึ่ง Dashboard ชนิดนี้สามารถแสดงข้อมูลทั้งแบบค่าคงที (Dashboard static) หรือ ข้อมูลแบบที่เปลี่ยนแปลง (Dashboard dynamic) แต่ Dashboard นั้นจะไม่สามารถโต้ตอบกับผู้ดูได้ เช่น Dashboard แสดงข้อมูลเครื่องบินขึ้น-ลงสนามบิน เป็นต้น


Dashboards ทั้ง 4 นั้น เราจะสร้างได้นั้น เราต้องทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของแต่ละ Dashboards ก่อน ต่อไปนี้จะเป็นวิธีการที่ทำให้คุณๆ วิเคราะห์ว่าจะสร้าง Dashboards อะไร เพื่อได้ตอบสนองกับความต้องการของผู้ที่จะนำ Dashboards นี้ไปใช้งาน 

  • สิ่งที่คุณๆ ต้องทำก่อนหรือทันทีที่ได้รับข้อมูลมา คุณต้องถามผู้ที่เกี่ยวข้อง ถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการจาก Dashboards เช่น KPI ที่ต้องการให้สร้างเพียงครั้งเดียวหรือสร้างเป็นประจำ เป็น KPI ของทั้งบริษัทหรือบางแผนก เป็นต้น การตั้งคำถามที่เหมาะสมจำช่วยให้คุณเข้าใจข้อมูลที่คุณนำมาสร้าง Dashboards
  • แหล่งของข้อมูลที่คุณจะต้องได้รับ เช่น ข้อมูลจะได้จากไหน รูปแบบของข้อมูลคืออะไร ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยแค่ไหน
  • ใครคือผู้ใช้ Dashboard นี้ เช่น ผู้จัดการอาจสนใจเฉพาะข้อมูลเชิงลึกจาก Dashboard แต่นักวิเคราะห์ข้อมูลบางคนอาจต้องการข้อมูลที่ละเอียดลงไป แล้วแต่ว่าใครจะเป็นผู้ใช้ Dashboard นั้นเอง
  • Dashboard นี้ต้องการให้ Update บ่อยแค่ไหน เช่น ต้อง Update ทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน คุณสามารถสร้าง plug-and-play model ซึ่งเมื่อต้อง Update ก็เพียงแค่คัดลอกข้อมูลมาวาง แต่ถ้า Dashboard สร้างเพียงครั้งเดียวคุณก็ไม่ต้องสร้างเป็น Model ไว้
  • Office เป็น version อะไร เพราะถ้าคุณสร้าง Dashboard ด้วย Version 2016 แต่ผู้ใช้กลับเปิด Dashboard version 2003 รับรองว่าเปิดไม่ได้

Reference
http://chandoo.org/wp/excel-dashboards/
https://www.datapine.com/blog/strategic-operational-analytical-tactical-dashboards/
https://trumpexcel.com/creating-excel-dashboard/
https://trumpexcel.com/kpi-dashboard-in-excel-part-1/

Share:

การใส่สีให้ Drop Down List ใน Microsoft Excel อย่างง่าย


ถ้าคุณๆ อ่านมาหลายบทความเริ่มเห็นหรือไมว่าการใช้ Excel มันไม่ได้ยาก เพียงคุณๆ เข้าใจความสามารถของเครื่องมือที่เราใช้ เราก็จะสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ให้อย่างง่ายดาย ก่อนที่จะบรรยายไปไกลกว่านี้ เรามาเข้าเรื่องบทความของเราดีกว่า วันนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอเทคนิคต่างๆ มาช่วยให้ดูน่าสนใจ 

การใส่สีให้ Drop Down List อย่างง่าย

เมื่อคุณๆ คิดอยากใส่สี HighLight เปลี่ยนสีตัวหนังสือ หรือใส่ Icon เป็นต้น มาถึงตรงนี้ถ้าใครที่ชำนาญ Excel สักหน่อย คงจะคิดถึง Conditional Formatting เป็นแน่ ถูกต้องแล้วค่ะ ไม่พูดพร่ำต่อละ เข้าเรื่องเลยละกันค่ะ

1. คุณต้องสร้าง Drop Down List ก่อน แต่ถ้ายังไม่รู้จะสร้างอย่างไร สามารถศึกษาวิธีการสร้างจากบทความเก่า เช่น การสร้าง Drop Down List แบบง่ายๆ หรือ การเพิ่มรายการภายใน Drop Down List ภายหลังโดยไม่ต้องสร้างใหม่ 




กรณีต้องการใส่สี HighLight ใน Drop Down List เพียง Cell เดียว

2. กำหนดให้คอลัมน์ B เป็น Drop Down List แล้ว (โดย Drop Down List เราเป็นคำที่แสดง Status ต่างๆ เช่น Complete Pending Inprocess Queue และ Cancel) เราจะแสดงตัวอย่างวิธีการกำหนดให้เมื่อผู้ใช้คลิกเลือกสถานะต่างๆ Hightlight จะขึ้นตามที่กำหนด ตามรูปที่ 1 
รูปที่ 1 แสดงตัวอย่าง DropDownList ให้แสดง Hightlight

     2.1 ให้คุณๆ คลิก Cell ที่เป็น Drop Down List ซึ่งตามรูปที่ 1 คือ B1 โดยให้ไปเลือก Home Ribbon และเลือก Conditional Formatting ตามรูปที่ 2
รูปที่ 2 การเลือก Conditional Formatting 

     2.2 เลือก Highlight Cells Rules และจะขึ้นเมนูย่อยให้คุณเลือกว่าจะกำหนดเงื่อนไขยังไงให้แสดง Highlight แบบต่างๆ ตามตัวอย่างข้อ 2 DropDownList ของเราเป็นตัวหนังสือ ดังนั้น เราจะเลือกเป็น Equal To... ตามรูปที่ 3
รูปที่ 3 ขึ้น Equal To PopUp ให้กำหนดค่าที่จะเท่ากัน

ตามข้อ 2 ให้คุณพิมพ์คำว่า Complete ในช่องด้านซ้าย และเลือกสิ่งที่จะให้แสดงที่ช่องด้านขวา ตามรูปที่ 4
รูปที่ 4 กำหนดว่าถ้า DropDownList มีค่าเท่ากับ Complete จะแสดง Highlight 

กรณีต้องการใส่สี HighLight ใน Drop Down List หลาย Cells

3. จากข้อ 2.1 แทนที่จะเลือกแค่ B1 ให้คุณเลือกทั้งคอลัมน์ B และทำตามข้อ 2.2 โดยพิมพ์คำที่ต้องการไปที่ละคำ (Pending Inprocess Queue และ Cancel) และเลือกรูปแบบเป็นอย่างอืน ตามรูปที่ 5
รูปที่ 5 กำหนด DropDownList หลาย Cells ให้แสดง Highlight ตามต้องการ

ตามรูปที่ 5 กำหนดคำ Pending ให้แสดง Hightlight เป็นสีเทา ซึ่งใน Equal To PopUp ไม่มีค่าไว้ให้คุณเลือก Custom Format... ตามรูปที่ 6
รูปที่ 6 กำหนดพื้นของ DropDownList 
ที่เมนู Format Cell คุณต้องเลือก Fill Tab ซึ่งคำ Pending เลือกพื้นเป็นสีเทา และคลิกปุ่ม Ok
ตามรูปที่ 1 ด้านบนคลิก DrowDownList ที่ B2 เลือก Pending จะแสดง Hightlight ตามที่กำหนด ดังรูปที่ 7 
รูปที่ 7 แสดงตัวอย่าง DropDownList ที่แสดง HighLight

ส่วนคำ Inprocess Queue และ Cancel ให้ทำตามข้อ 3 และเลือก Highlight ตามต้องการ ซึ่งกรณีที่ต้องการแก้ไขที่หลังสามารถเข้าไปที่ Conditional Formatting เลือก Manage Rule ตามรูปที่ 8
รูปที่ 8 แสดง Conditional Formatting Rules Manager 
คุณๆ สามารถแก้ไข Cell Value ต่างๆ โดยเลือกค่านั้น และคลิกที่ปุ่ท Edit Rule.. หรือ Double Click เข้าไป ตามรูปที่ 9 
รูปที่ 9 Edit Formatting Rule 
ที่ Select a Rule Type เลือกประเภทกฏที่ต้องการ ในรูปที่ 9 เลือกการจัดรูปแบบเซลที่มีเท่านั้น 

ส่วน Edit the Rule Description คือ ส่วนที่คุณเข้าไปแก้ไขกฏที่จะให้ Excel ตรวจสอบได้

ส่วน Preview ให้คุณคลิกที่ปุ่ม Format เพื่อเปลี่ยนรูปแบบ HighLight ตามที่คุณต้องการได้เอง

เพียงเท่านี้คุณจะได้คอลัมน์ DropDownList ที่เมื่อเลือกค่าตรงกับเงื่อนไขไหนจะแสดง HighLigt ที่คุณกำหนดได้เอง จากรูปล่างนี้เป็นตัวอย่างการแสดง HighLight ต่างๆ

หวังว่าบทความนี้ คงพอจะเป็นตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Excel ของคุณๆ ให้สามารถนำมาจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ได้ หากมีคำแนะนำหรือข้อคำถามสามารถส่งมาที่เมล์ ขอบคุณค่ะ 👩😁😃

Share:

3 ขั้นตอนในการสร้าง Drop Down List ให้สามารถเพิ่มรายการได้ภายหลังโดยไม่ต้องแก้ไข

Data Validation Feature

การสร้าง Drop Down List ใน Excel สามารถสร้างได้จากหลายวิธี ซึ่งก่อนหน้านี้ เราได้นำเสนอ 3 วิธีการใน การสร้าง Drop Down List ทั้งแบบง่ายและแบบมีเงื่อนไข หรือ การสร้าง Drop Down List เพื่อควบคุมการแสดงข้อมูลแบบตาราง แต่ในบทความนี้ เราจะนำเสนอเทคนิคในการใช้ Data validation feature ร่วมกับ Table of Item or List เพื่อให้คุณๆ สามารถเพิ่มรายการใน Drop Down List โดยไม่ต้องไปแก้ไข Drop Down list เดิม

การสร้าง Drop Down List ที่คุณๆ สามารถเพิ่มรายการได้ในภายหลังโดยไม่ต้องแก้ไข

ใครบ้างที่เคยเจอปัญหาการสร้าง Drop Down List แล้ว ภายหลังที่ต้องการเพิ่มรายการใน Drop Down List กลับพบว่าต้องเริ่มต้นสร้าง Drop Down List ทั้งหมดใหม่ 

ถ้าคุณเจอปัญหาดังกล่าว ลองทำตามขั้นตอน 3 ขั้นตอนข้างล่างนี้ 

1. สร้าง Table of Item หรือ List

เป็นขั้นตอนแรกในคุณต้องสร้าง Table of Item หรือ List ที่คุณต้องการให้เป็นรายการ (Item of Drop Down List) หรือข้อมูลภายใน Drop Down List นั้นเอง 
ตัวอย่างต้องการสร้าง Table of Item ของตัวเลข ตามรูปที่ 1 

Item, เอ็กเซล
รูปที่ 1 ตารางรายการที่ต้องการจะนำไปสร้าง Drop Down List

จากนั้นให้วางเมาส์ที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของตาราง และเปิด Ribbon's Insert tab >> คลิกเลืิอก Table หรือ Short Cut : Ctrl+T ดังรูปที่ 2

Table, Excel, เอ็กเซล
รูปที่ 2 เลือก Ribbon's Insert tab และเลือก Table

จากนั้นระบบจะแสดง Popup : Create Table ในช่อง Where is the data for your table? ให้คุณระบุเซลล์ที่เป็นข้อมูลหรือรายการใน Drop Down List และเลือกช่อง My table has headers จากนั้นคลิกปุ่ม OK ดังรูปที่ 3 

รูปที่ 3 สร้างตารางสำหรับใส่รายการใน Drop Down List

ก็จะได้ตารางภายในโปรแกรม Excel ซึ่งมันจะชื่อว่า Table1 

คุณสามารถตรวจสอบว่าใน Excel นี้มีตารางที่ช่อง Name Box ดังรูปที่ 4

รูปที่ 4 เลือก Name Box เพื่อตรวจสอบตารางที่สร้าง

สำหรับขั้นที่ 1 ที่เตรียมข้อมูลหรือรายการที่จะอยู่ใน Drop Down List อยู่ในตารางก็เสร็จแล้ว 

2. สร้าง Name the list

ขัั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอน named range ซึ่งมันจะทำให้ตัวตารางที่เราสร้างไว้ในขั้นตอนที่ 1 เป็นแบบ dynamic โดยให้เข้าไปที่ Ribbon's Formulas tab >> เลือก Define Name ดังรูปที่ 5

รูปที่ 5 สร้าง Named range 

จะแสดง Pop up: New Name ให้คุณๆ ระบุชื่อที่คุณต้องการในช่อง Name และกดพิมพ์ชื่อหัวตารางในวงเล็บ ที่ช่อง Refers to  ดังรูปที่ 6

รูปที่ 6 New Name

ในรูปที่ 6 นี้ ชื่อเราตั้งเป็น NumberName และช่อง Refers to เราให้ตารางที่ 1 (ในขั้นตอนที่ 1) ไปอ่านชื่อหัวตาราง 

3. สร้าง Drop Down List

ขั้นตอนนี้จะเหมือนการสร้าง Drop Down List เหมือนในบทความ การสร้าง Drop Down List ทั้งแบบง่ายและแบบมีเงื่อนไข ดังนี้
3.1. เลือกเซลล์ที่ต้องการให้เป็น Drop Down List
3.2. เลือก Ribbon's Data tab 3.3. เลืิอก Data Validation 3.4. แสดง Pop Up: Data Validation3.5. ช่อง Allow: เลือก List 3.6. ช่อง Source: เอาเมาส์วางที่ช่องและกดปุ่ม F3 ดังรูปที่ 7

รูปที่ 7 สร้าง Drop Down List ครั้งเดียวได้หลายเซลล์

3.7. ปรากฏ Pop Up: Paste Name ให้เลือกชื่อ Name ที่เราสร้างไว้ (ตามขั้นตอนที่ 2) และคลิก OK ดังรูปที่ 8

รูปที่ 8 เลือก Name ที่เราสร้างไว้ เพื่อระบุว่า Data Validation ที่เราสร้างจะเอารายการจากไหนมาแสดง

3.8. คลิก OK ใน Pop Up: Data Validation

โดยบทความนี้ จะใช้ตัวอย่างให้ Matching คำภาษาอังกฤษ (รายการใน Drop Down List) ให้ตรงกับตัวเลข ตามรูปที่ 9

รูปที่ 9 แสดงตัวอย่างการสร้าง Data Validation ครั้งเดียวได้หลายเซลล์

เมื่อทำตามกระบวนการทั้ง 3 ขั้นตอนแล้ว หากภายหลังต้องการเพิ่มรายการในตาราง (Table1) ตามขั้นตอนที่ 1 ก็สามารถเพิ่มได้ทันที ไม่กระทบกับ Drop Down List ที่สร้างไปแล้วแต่อย่างใด และรายการที่คุณไปเพิ่มใหม่ ก็จะปรากฎใน Drop Down List ที่สร้างไปแล้วด้วย ดังรูปที่ 10

รูปที่ 10 แสดงตัวอย่าง Data Validation ที่สามารถเพิ่มรายการ Data Validation ได้

เพียงเท่านี้การสร้าง Drop Down List ก็เป็นเรื่องง่าย ถ้าอนาคตต้องมีรายการเพิ่มขึ้นมาใหม่ หวังว่าคงจะไม่ยากเกินไปนะคะ หากมีคำถามสามารถส่งมาสอบถามที่ e-mail ได้ค่ะ 

บทความครั้งถัดไปจะกลับมาเขียนทริปต่างๆ ที่จะเสริมให้ Drop Down List ที่เราสร้างดูมีความน่าสนใจและคนสร้าง Excel จะดูเป็นมืออาชีพมากขึ้น


Share:

การหาผลต่างของจำนวนวัน เดือน ปี ด้วยโปรแกรม Excel แบบง้ายยยยยย...ง่าย

สวัสดีค่ะ ผู้เขียนหายไปนานมากที่ไม่ได้ update ข้อมูลบน Blogger นี้ เนื่องจากภาระงานประจำที่เปลี่ยนไป เผลอแปล๊บบบเดียวจะสิ้นปีแล้ว ปลายปีงานเริ่มเข้าที่เข้าทาง เลยมีเวลาหันกับมาดู ต้องใช้เวลาในการทบทวนความทรงจำกันหน่อย 5555
หาผลต่างของวัน

ก่อนที่จะบ่นยาววววกันไป เข้าเรื่องเนื้อหากันเลย วันนี้ผู้เขียนขอเริ่มบทความแรกก่อนจะสิ้นปี 2561 อิอิอิอิ ด้วยการอธิบายขั้นตอนการทำงานสูตร DATEDIF() ของ Excel โดย MS Office ใน Version ต่างๆ ที่รองรับกับสูตรนี้ ได้แก่ Excel for Office 365, Excel 2019, Excel 2016, Excel 2013, Excel 2010, Excel 2007 เป็นต้น

DATEDIF เป็นฟังค์ชั่นในการหาผลต่างระหว่าง 2 วัน คือ วันเริ่มต้น กับ วันสิ้นสุด โดยเราสามารถเขียนตามไวยากรณ์ของฟังค์ชั่น ดังนี้

ไวยากรณ์

=DATEDIF(วันเริ่มต้น, วันสิ้นสุด, ชนิดข้อมูลที่ต้องการให้แสดงคำตอบ)

โดย "ชนิดข้อมูลที่ต้องการให้แสดงคำตอบ" คุณๆ สามารถกำหนดได้ 5 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้
"ํY"     หาผลต่างของจำนวนปีที่ต่างกันระหว่างวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด
"M"     หาผลต่างของจำนวนเดือนที่ต่างกันระหว่างวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด
"D"     หาผลต่างของจำนวนวันที่ต่างกันระหว่างวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด
"MD"   หาผลต่างของจำนวนเดือนที่ต่างกัน โดยไม่สนใจวันหรือปีของวันเริ่มต้นและวันสุดสุด
"YM"   หาผลต่างของจำนวนวันที่ต่างกัน โดยไม่สนใจปีของวันเริ่มต้นและวันสุดสุด

ตัวอย่างเช่น
ต้องการหาผลต่างของวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด โดยแสดงข้อมูลตามแบบต่างๆ ดังรูปที่ 1 
รูปที่ 1 ตัวอย่างการหาผลต่างของวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด ตามชนิดข้อมูลต่างๆ

จากรูปที่ 1 ขออธิบายสูตร DATADIF() ตามรูปแบบชนิดข้อมูลที่ต้องการให้แสดง ดังนี้

1. คอลัมน์ C กำหนดสูตรหาผลต่างจำนวนปี ที่ต่างกันระหว่างวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด คือ=DATEDIF(B2,A2,"Y") 

2. คอลัมน์ D กำหนดสูตรหาผลต่างจำนวนเดือน ที่ต่างกันระหว่างวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด คือ =DATEDIF(B2,A2,"M")

3. คอลัมน์ E กำหนดสูตรหาผลต่างจำนวนวัน ที่ต่างกันระหว่างวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุด คือ =DATEDIF(B2,A2,"D")

4. คอลัมน์ F กำหนดสูตรหาผลต่างจำนวนเดือนที่ต่างกัน โดยไม่สนใจวันหรือปีของวันเริ่มต้นและวันสุดสุด คือ =DATEDIF(B2,A2,"MD")

5. คอลัมน์ G กำหนดสูตรหาผลต่างจำนวนวันที่ต่างกัน โดยไม่สนใจปีของวันเริ่มต้นและวันสุดสุด คือ =DATEDIF(B2,A2,"YM")
ตัวอย่างการนำไปใช้
     ในชีวิตจริง ถ้าต้องมีการคำนวณงานวันที่ของวันที่เริ่มต้นและวันที่สิ้นสุด แต่มีบาง Row ไม่ระบุวันที่เข้ามา จะทำให้การเขียนสูตร DATADIF ไม่สามารถคำนวณค่าออกมาได้ ดังนั้น เราควรจะมีการใส่สูตรเพื่อตรวจสอบและแสดงข้อความเพื่อให้รายงานของท่านมีความสมบูรณ์มากขึ้น ดังตัวอย่างรูปที่ 2
หาผลต่างระหว่างวันที่, excel
รูปที่ 2 ตัวอย่างการหาวันที่ระหว่างวันที่ได้รับมอบหมายและวันที่ดำเนินการเสร็จ

จากรูปที่ 2 ท่านจะเห็นว่ามีบางคอลัมน์ที่ไม่ได้ระบุวันที่ดำเนินการเสร็จ เช่น B2, B5-B7, B12 และ B18 ถ้าเราไม่ใส่สูตรในการตรวจสอบค่าว่างจะทำให้การแสดง DATEDIF ทำงานผิดพลาด ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เราจะใช้สูตร IF เข้ามาช่วย ดังนี้
=IF(B2="","ไม่ระบุวันที่ไว้",DATEDIF(E2,B2,"D"))

แต่ถ้าหากตัวอย่างนี้ มีบางแถวที่ไม่มีการระบุวันที่ที่ได้รับมอบหมายด้วย คุณสามารถใช้ OR เข้ามาช่วยในการตรวจสอบร่วมกับ IF ได้ ดังนี้
=IF(OR(E2="",B2=""),"ไม่ระบุวันที่ไว้",DATEDIF(E2,B2,"D"))

เพียงแค่นี้เราจะได้มีข้อมูลการหาผลต่างระหว่างวันที่มอบหมายและวันที่ดำเนินการเสร็จสิ้น ไว้ตรวจสอบพนักงานหรือลูกทีมของท่านได้แล้ว




Share:

การสร้าง Drop Down List เพื่อควบคุมการแสดงข้อมูล (Data) แบบตาราง (Table)

เอ็กเซล

จากบทความก่อนเรื่อง "การสร้าง Drop Down List ทั้งแบบง่ายๆ และแบบมีเงื่อนไข" เราให้คุณทำความรู้จักกับวิธีการสร้าง Drop down list ไป 3 แบบ ไม่ทราบว่าคุณๆ ยังคิดว่ายุ่งยาก ซับซ้อนเกินไปไหม ในบทความนี้ เราจะนำเสนอวิธีการสร้าง Drop down list ในวิธีการอื่นๆ เพื่อให้คุณได้วิธีการที่ชื่นชอบมากที่สุด

การแสดงข้อมูล จากวิธีเลือก Drop Down Filte 

รูปที่ 1 ตารางข้อมูลที่ต้องการให้แสดงข้อมูลตาม DropDownList 

จากรูปที่ 1 เป็นตารางข้อมูลเดิม ที่เราจะมากำหนดให้แสดงข้อมูลตาม DropDownList ซึ่งคุณๆ 

ต้องเพิ่มคอลัมน์ที่ 1 เพื่อเป็นคอลัมน์แสดงลำดับที่ คอลัมน์ที่ 2 เพื่อเป็นคอลัมน์ที่แสดงข้อมูลตาม DropDownList และ คอลัมน์ที่ 3 เพื่อแสดงตัวเลขทั้งหมดในคอลัมน์ที่ 2

ต้องสร้างตารางที่จะใช้เป็นเงื่อนไขให้กับ Drop Down List ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 ตารางที่เพิ่ม Column 1-3 และสร้าง DropDownList
ขั้นตอนการสร้าง
1. สร้าง List ที่ไม่มีข้อมูลซ้ำกัน เพื่อนำข้อมูลใน List ไปสร้าง DropDownList อีกที 
     1.1. คัดลอกข้อมูลในคอลัมน์ Module มาวางไว้ในส่วนอื่นของ Worksheet ตามรูปที่ 2 วางไว้ที่คอลัมน์ G
     1.2. เลือกเมนู Data >> Remove Duplicates โปรแกรม Excel จะตัดข้อความที่ซ้ำกันทิ้งไป ซึ่งเราจะนำข้อมูลนี้ มาสร้าง Drop down list กัน 
2. การสร้าง Drop down list คุณสามารถกลับไปทบทวนการสร้าง ตามตัวอย่างที่ 1 ในบทความ "การสร้าง Drop Down List ทั้งแบบง่ายๆ และแบบมีเงื่อนไข" นี้
3. สร้างคอลัมน์อีก 2 คอลัมน์ โดย
    3.1. คอลัมน์ที่ 1 ให้แสดงเลข runing number 
    3.2. คอลัมน์ที่ 2 ให้เขียนสูตรฟังก์ชั่น =IF(A2=$I$1,D2,"") ในเซลล์ E2 ซึ่งฟังก์ชั่นนี้ จะทำการตรวจสอบเซลล์ E2 ว่ามีข้อมูล A2 มีค่าเท่ากับคอลัมน์ I1 หรือไม่ ถ้ามีค่าเท่ากันให้แสดงข้อมูลเหมือนเซลล์ D2 แต่ถ้าไม่เหมือนกันก็แสดงค่าว่าง 
    3.3. คอลัมที่ 3 ให้นำเลขในคอลัมน์ที่ 2 มาแสดง โดยเขียนสูตรฟังก์ชั่น =IFERROR(SMALL($E$2:$E$27,$D2),"") ในเซลล์ F2 ซึ่งฟังก์ชั่นนี้ SMALL จะทำการตรวจสอบค่าในเซลล์ D2 ภายในช่วง E2 ถึง E27 ถ้าในเซลล์ D2 มีค่าให้แสดงตัวเลข แต่ถ้าค่าไม่ตรงกัน ฟังก์ชันจะคืนค่า #NUM! ซึ่งถ้าเราเขียนเฉพาะฟังก์ชั่น SMALL เพียงฟังก์ชั่นเดียว ตารางเราคงจะดูไม่ดีเท่าไร ดังนั้น เราจะเอาฟังก์ชั่น IFERROR มาควบคุม เมื่อเจอ Error ต่างๆ เราจะให้แสดงเป็นค่าว่าง ดังรูปที่ 2
4.  ขั้นตอนสุดท้าย คือ การเขียนสูตรทีละคอลัมน์ 
=IFERROR(INDEX($A$2:$A$27,$F2,COLUMNS($J$2:$J$27)),"")
=IFERROR(INDEX($B$2:$B$27,$F2,COLUMNS($K$2:$K$27)),"")
=IFERROR(INDEX($C$2:$C$27,$F2,COLUMNS($L$2:$L$27)),"")
เพื่อสร้างตารางที่เปลี่ยนข้อมูลตามที่เลือก DropDownList ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 แสดงตารางที่เขียนจากสูตร เพื่อให้แสดงข้อมูลที่เปลี่ยนไปตาม DropDownList
เพียงเท่านี้คุณจะได้ตารางที่แสดงข้อมูลตาม DropDownList จ้า

Share:

การสร้าง Drop Down List ทั้งแบบง่ายๆ และแบบมีเงื่อนไข

Drop-Down List ถือเป็นวิธีการที่ดีในการควบคุมข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องกรอกเข้ามาภายในโปรแกรม หรือ เป็นการสร้างช่องทางโต้ตอบให้กับรายงานแบบ Dashboards ได้ โดยที่การสร้าง Drop-Down List ภายในโปรแกรมอื่นๆ ดูจะไม่ได้เป็นสิ่งที่ยุ่งยากสักเท่าไร แต่สำหรับใครที่เคยเจองานที่ต้องสร้าง Drop-Down List ใน Excel อาจไม่รู้สึกแบบนั้น ดังนั้น ในบทความนี้ เราจะแสดงตัวอย่างวิธีใช้ Drop-Down List แบบต่างๆ เพื่อให้ท่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

ตัวอย่างที่ 1 การสร้าง Drop-Down List แบบง่ายๆ ด้วยตารางหรือช่วง (Table/Range) ใน sheet
1. ให้คุณเตรียมข้อมูลที่ต้องการสร้าง Drop-Down List  
2. ทำการสร้าง Drop-Down List ใน Cell ที่คุณต้องการ ดังนี้
    >> ไปที่ Tab: Data 
    >> มองหาส่วนของ Data Tool 
    >> เลือกปุ่ม Data Validation 
    >> จะมี PopUp: Data Validation แสดงขึ้นมา 
    >> ใน Tab: Settings ให้เลือก List 
    >> ในช่อง Source Field: [ระบุชื่อเซลล์ที่จะมาทำ Drop-Down List]
    >> คลิกปุ่ม OK ดังรูปที่ 1
การสร้าง Drop Down List ในเอ็กเซล
รูปที่ 1 ตัวอย่างการสร้าง Drop-Down List ด้วย Data Validation แบบช่วงเซลล์ข้อมูล (Range)
เพียงแค่นี้คุณจะได้ Drop-down list ที่มีข้อมูลตั้งแต่ A20 ถึง A24 

แต่ถ้ามี Item ไม่มาก สามารถระบุข้อมูลไปที่ Source Field ได้โดยตรง จากรูปที่ 1 ให้ระบุ Item ที่ Source field เช่น Mark,John,Natty,Anny,Woody 

3. การแปลง Cell ธรรมดาใน Excel ให้กลายเป็น Drop-Down List ที่มีข้อมูลในข้อ 1 เรียบร้อย ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 แสดงการสร้าง Drop-Down List 
จากรูปที่ 2 เราได้สร้าง Cell ด้านขวาของ "Employees" ให้เป็น Drop-Down List นั้นเอง

กรณีต้องการสร้าง Drop Down List ทั้งคอลัมน์ คุณสามารถคลิกที่หัวคอลัมน์นั้นๆ และทำตามตัวอย่างที่ 1 ได้เลย

ตัวอย่างที่ 2 การสร้าง Drop-Down List แบบใช้สูตร Offset
ข้อ 1 และ ข้อ 2 ให้ทำเหมือนตัวอย่างที่ 1 แต่ ในช่อง Source Field: ให้พิมพ์สูตร OFFSET Function ในการสร้าง Drop-Down List โดยไวยากรณ์ของสูตร คือ


=OFFSET(reference name, rows, cols, [height], [width])

ดังรูปที่ 3 
รูปที่ 3 แสดงวิธีการสร้าง Drop-Down List ด้วยสูตร OFFSET
ข้อดีของการใช้สูตร OFFSET ยังสามารถสร้าง Drop-down list ด้วยการขยายเซลล์ เพื่อเพิ่มรายการใน Drop-down list ได้อัตโนมัติ ซึ่งคุณสามารถนำสูตรข้างล่างนี้ ไปประยุกต์ใช้ได้ ดังนี้


=OFFSET($A$2,0,0,COUNTIF($A$2:$A$10,”<>”))

จากสูตรนี้ CountIF จะแสดงรายการใน Drop-Down List เพียง 5 รายการ โดย CountIF จะใช้นับเซลล์ที่ว่าง (non-blank cells) และรวมเซลล์ว่างเพื่อไม่ให้แสดงรายการว่างใน Drop-Down List นั้นเองดังนั้น เมื่อไรที่คุณเพิ่มรายการ (Item) ในเซลล์ตั้งแต่ A7 ถึง A10 ช่องที่เราสร้าง Drop-Down List จะเพิ่มรายการอัตโนมัติทันที

ความแตกต่างระหว่างตัวอย่างที่ 1 และตัวอย่างที่ 2 คุณจะพบว่า หาสร้าง Drop Down List ตามตัวอย่างที่ 2 จะทำให้การเพิ่มหัวข้อภายใน Drop Down List สามารถทำได้ง่ายกว่า และไม่ต้องกลับไปแก้ไข Data Validation เดิมที่ทำไว้ด้วย แต่ถ้าคุณทำตามตัวอย่างที่ 1 คุณต้องมั่นใจว่า Drop Down List ที่คุณกำลังสร้าง จะไม่มีการเพิิ่มหัวข้อ Drop Down List ในภายหลังอีก 

ตัวอย่างที่ 3 การสร้าง Drop-Down List แบบมีเงื่อนไขหรือแสดงข้อมูลตาม Drop-Down List ก่อนหน้า
หลายครั้งคุณต้องสร้าง Drop-Down List หลายตัว โดย Drop-Down List ที่ 2 จะขึ้นกับ Drop-Down List ที่ 1 จะเรียกว่า "Dependent drop-down lists"  หรือ "Conditional drop-down lists" 
ข้อ 1. เตรียมข้อมูลสำหรับสร้าง Dependent drop-down lists  หรือ Conditional drop-down lists โดยเลือกเซลล์ที่คุณต้องให้เป็น Drop-down list1 

ข้อ 2. การสร้าง Drop-Down List ที่ 1 ใน Cell ที่คุณต้องการ 
    >> ไปที่ Data Tab
    >> มองหาส่วนของ Data Tool 
    >> เลือกปุ่ม Data Validation 
    >> จะมี PopUp: Data Validation แสดงขึ้นมา 
    >> ใน Tab: Settings ให้เลือก List 
    >> ในช่อง Source Field: [ระบุชื่อเซลล์ที่จะมาทำ Drop-Down List ที่ 1]
    >> คลิกปุ่ม OK ดังรูปที่ 4
Data Validation
รูปที่ 4 ตัวอย่างการสร้าง Drop-Down List แบบมีเงื่อนไข
ข้อ 3. การตั้งชื่อตารางที่จะสร้าง Drop-down List ที่ 2 ด้วยการเลิือกเซลล์ A1 ถึง B6 หลังจากนั้น 
     >> เลือก Formulas Tab 
     >> มองหาส่วนของ Defined Names
     >> เลือกปุ่ม Create from Selection
     >> จะมี PopUp: Create Named from Selection แสดงขึ้นมา 
     >> ให้เลือก Top row option  จะได้ชื่อช่วงเซลล์ (names ranges) เป็น Employee และ Department โดย Employee จะอ้างชื่อช่วงเซลล์ (names ranges) Employee 
     >> คลิกปุ่ม OK 

ข้อ 4. การสร้าง Drop-Down List ที่ 2 ใน Cell ที่คุณต้องการ 
    >> ไปที่ Data Tab
    >> มองหาส่วนของ Data Tool 
    >> เลือกปุ่ม Data Validation 
    >> จะมี PopUp: Data Validation แสดงขึ้นมา 
    >> ใน Tab: Settings ให้เลือก List 
    >> ในช่อง Source Field: [ระบุสูตรที่สามารถสร้าง Drop-Down List ที่ 2] 
    >> คลิกปุ่ม OK ดังรูปที่ 5
Data Validation
รูปที่ 5 ตัวอย่างการสร้าง Drop-Down List ที่ 2
จากรูปที่ 5 สูตร INDIRECT(ชื่อเซลล์ที่เป็น Drop-Down List ที่ 1) เพื่อกำหนดให้ Drop-down list ที่ 2 แสดงผลตาม Items ตาม Item  D2 นั้นเอง (Drop-down list 1 เป็น Department ส่งผลให้ Drop-down list 2 แสดง Items ของ Department)


ในบทความนี้ เราให้ตัวอย่างไป 3 แบบ เพื่อให้คุณๆ นำไปประยุกต์ใช้กับลักษณะงานของแต่ละท่านได้อย่างเหมาะสม 
Share:

Conditional Formatting การจัดรูปแบบข้อมูลด้วย Icon Set ตอนที่ 3

บทความก่อนหน้า เราได้แนะนำ Conditional Formatting ที่ใช้ทั้ง Hightlight และ Data Bars เข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูลใน Excel ตามเงื่อนไขต่างๆ แต่ในบทความนี้ เราจะเสนอการจัดการข้อมูลด้วย Icon Set หรือสัญลักษณ์ต่างๆ แทน


👀  👀  👀

การจัดการรูปแบบของข้อมูลด้วย Conditional Formatting 

คือ การทำให้ข้อมูลที่เราสนใจ โดดเด่นกว่าข้อมูลอื่นๆ ใน Sheet ไม่ว่าจะด้วยการ Hi-light เซลล์, การเน้นค่าสูงสุด-ค่าต่ำสุด, การใช้แถบสีเทียบกับข้อมูลมาก-น้อยตามลำดับ, การใส่สัญลักษณ์ต่างๆ ตามค่าข้อมูล เป็นต้น



ตัวอย่าง การทำ Conditional Formatting ด้วย Icon Set 


Conditional Formatting with Icon Set
รูปที่ 1 แสดงการใช้ Icon Set ในการเปรียบเทียบข้อมูล
ในตัวอย่างนี้ เป็นการนำสัญลักษณ์เข้ามาเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งในโจทย์นี้ ให้ทำที่คอลัมน์จำนวนยอดการสั่งต่อวัน ซึ่งถ้ามียอดการสั่งมากกว่าหรือเท่ากับ 4 ให้แสดงเครื่องหมายถูกสีเขียว ส่วนยอดการสั่งมากกว่าหรือเท่ากับ 3 แสดงเครื่องหมายตกใจสีเหลือง และถ้ามียอดต่ำกว่านี้ให้แสดงเครื่องหมายกากบาทสีแดง ตามรูปที่ 1

วิธีทำ 
1. คลิกเลือกเซลล์ D2:D16 
2. เลือก Conditional Formatting จาก Home Tag 
3. เลือก Icon Set และเลือกสัญลักษณ์ที่ต้องการจะใช้ จากการทำข้อนี้คุณจะได้สัญลักษณ์เกิดขึ้นในช่องเซลล์แต่ละช่อง
4. เข้าไปกำหนดเงื่อนไขให้กับสัญลักษณ์ที่เลือกใช้ ด้วยการเข้าทำข้อ 1-2 และเลือก Manage Rules.. 
5. โปรแกรมจะแสดง Conditional Formatting Rules Manager >> คลิกปุ่ม Edit Rule.. ดังรูปที่ 2
Conditional Formatting with Icon Set
รูปที่ 2 แสดงหน้าจอ Edit Formatting Rule ตามเงื่อนไขของโจทย์
เพียงแค่นี้คุณก็จะได้สัญลักษณ์เข้ามาใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลของคุณได้ 

จากทั้ง 3 ตอนของเรื่อง Conditional Formatting ที่มีการจัดการข้อมูลด้วย Hightlight / Data Bars / Icon Set เราคิดว่าน่าจะพอให้คุณๆ ใช้ไปนำเสนอข้อมูลด้วยโปรแกรม Excel นะคะ 
Share:

Conditional Formatting การจัดรูปแบบข้อมูลด้วยการ Hilghtlight Cells ตอนที่ 1

ในบทความนี้ เรามาเรียนรู้ เทคนิคในการจัดการรูปแบบข้อมูลภายใน Excel ด้วย Conditional Formatting 



การจัดการรูปแบบของข้อมูลด้วย Conditional Formatting คือ ทำให้ข้อมูลที่เราสนใจ เป็นจุดที่น่าสนใจกว่าข้อมูลอื่นๆ ใน Sheet ไม่ว่าจะด้วยการ Hi-light เซลล์, การเน้นค่าสูงสุด-ค่าต่ำสุด, การใช้แถบสีเทียบกับข้อมูลมาก-น้อยตามลำดับ, การใส่สัญลักษณ์ต่างๆ ตามค่าข้อมูล เป็นต้น 




วิธีการใช้ Conditional Formatting

ไปที่หน้า Home Ribbon >> คลิกปุ่ม Conditional Formatting ดังรูปที่ 1
การจัดการรูปแบบ ใน Excel
รูปที่ 1 แสดงวิธีการเลือกทำ Conditional Formatting ใน Excel
 เมื่อคลิกที่ปุ่ม Conditional Formatting แล้ว โปรแกรมจะแสดง Pop Up โดยจะมี Functions ให้ใช้ในการจัดการข้อมูล เพื่อให้เราสังเกตได้ง่ายๆ ดังรูปที่ 2
Conditional Formatting
รูปที่ 2 แสดง Conditional Formatting Menu
จากตัวอย่างในบทความ "การกรองข้อมูล (Filter) ใน Excel" หรือ "การเรียงข้อมูล (Sort) ใน Excel" จะเห็นว่ามีการแบ่งสีให้กับประเภทวัตถุดิบต่างๆ 

ดังนั้น เราจะใช้ตัวอย่างนี้มาอธิบายถึงวิธีการเน้นข้อความด้วยวิธีการต่างๆ 

ตัวอย่างที่ 1 จะทำการจัดรูปแบบข้อความจาก "ตัวอักษร" เป็นเงื่อนไข
โจทย์ต้องการให้ Highlight เซลล์ เมนูอาหารโดยแยกสีตามประเภทวัตถุดิบ (เมนูที่มีวัตถุดิบหมู-ใช้พื้นหลังสีชมพู / ปู-สีส้ม / ไก่-สีฟ้า / กุ้ง-สีเขียว) ดังรูปที่ 3
Hilight Cell with Conditional Formatting
รูปที่ 3 แสดง Conditional Formatting แบบ HightLight Cell ด้วยตัวอักษรมาเป็นเงื่อนไข 

วิธีการทำตัวอย่างที่ 1
1. เลือกเซลล์ทั้งหมดที่ต้องจัดรูปแบบ (ในที่นี้เลือก Cell: B2-B16) แล้วไปหน้า Home Ribbon >> คลิกปุ่ม Conditional Formatting
2. เลือก Hightlight Cells Rules >> More Rules.. จะแสดงหน้าจอ ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 แสดงหน้าจอ New Formatting Rule
3. โดยในส่วน Select a Rule Type: (ประเภทเงื่อนไข โดยในตัวอย่างที่ 1 นี้ให้เลือก Format only cells that contain)
4. ส่วน Edit the Rule Description: (การกำหนดเงื่อนไขในการแสดง) โดยที่ Drop Down List ด้านซ้ายให้เลือกเป็น Specific Text / Drop Down List ตรงกลางให้เลือกเป็น Greater than และ Drop Down List ด้านขวาให้เขียนคำที่ต้องการให้โปรแกรมเน้นข้อความ 
5. ส่วน Preview ให้คลิกปุ่ม Format เพื่อกำหนดรูปแบบของข้อความที่คุณต้องการ 
6. คลิก OK ดังรูปที่ 5
Hightlight Cells Rules with Condition Formatting
รูปที่ 5 แสดงตัวอย่างการกำหนดรูปแบบข้อความในเซลล์ที่มีคำว่า ปู อยู่ในชื่อ
ให้ทำแต่ละสีไล่ไปจนครบ หากต้องการปรับแก้ไขภายหลัง สามารถเข้าไปจัดการด้วยการคลิกที่ Manage Rules (ตามรูปที่ 2)

โปรแกรมจะแสดงหน้าจอเพื่อให้คุณแก้ไขรูปแบบต่างๆ ได้ ดังรูปที่ 6
Conditional Formatting
รูปที่ 6 แสดงหน้าจอสำหรับแก้ไขรูปแบบของเงื่อนไขที่กำหนดไว้เดิม

☺☺☺☺

ตัวอย่างที่ 2 จะทำการจัดการรูปแบบข้อความด้วย "ตัวเลข" เป็นเงื่อนไข
โจทย์ต้องการ Highlight เซลล์ เมนูอาหารโดยแยกสีตามจำนวนยอดการสั่งต่อวัน ที่มากกว่า 3 ดังรูปที่ 7
Condition Formatting
รูปที่ 7 แสดง Conditional Formatting แบบ HightLight Cells โดยใช้ตัวเลขมาเป็นเงื่อนไข

วิธีการทำตัวอย่างที่ 2
1. เลือกเซลล์ทั้งหมดที่ต้องจัดรูปแบบ (ในที่นี้เลือก Cell: D2-D16) แล้วไปหน้า Home Ribbon >> คลิกปุ่ม Conditional Formatting
2. เลือก Hightlight Cells Rules >> Greater Than.. ดังรูปที่ 8
Conditional Formatting
รูปที่ 8 แสดงช่องทางการทำตามตัวอย่างที่ 2
ให้ระบุตัวเลขที่ต้องการมาสร้างเงื่อนไข และระบุว่าต้องการให้ Format เป็นแบบใด ดังรูปที่ 9
Conditional Formatting
รูปที่ 9 แสดง Greater Than 
เมื่อคลิก OK ก็จะได้ตามรูปที่ 7 ทันที

ตัวอย่างที่ 3 จะทำการจัดรูปแบบข้อมูลด้วย "วันที่" เป็นเงื่อนไข
โจทย์ต้องการ Hightlight วันที่ของสัปดาห์ถัดไปของวันปัจจุบัน (วันปัจจุบัน คือ 18/9/2017) ดังรูปที่ 10
Conditional Formatting
รูปที่ 10 แสดงตัวอย่างการ Hightling ด้วยวัน

วิธีการทำตัวอย่างที่ 3
1. เลือกเซลล์ทั้งหมดที่ต้องจัดรูปแบบ (ในที่นี้เลือก Cell: D2-D16) แล้วไปหน้า Home Ribbon >> คลิกปุ่ม Conditional Formatting
2. เลือก Hightlight Cells Rules >> A Date Occurring.. 
3. โปรแกรมจะแสดงหน้าจอ A Date Occurring โดยในโจทย์ให้กำหนดเป็นเงื่อนไข สัปดาห์ถัดไปในวันปัจจุบัน ดังรูป 11
Conditional Formatting
รูปที่ 11 แสดงหน้าจอ A Date Occurring เพื่อกำหนดวัดใน Conditional Formatting
4. คลิกปุ่ม OK ก็จะได้ตามรูปที่ 10 

นี้เป็นการจัดรูปแบบข้อมูลใน Excel แบบ HightLight Cells ตามเงื่อนไขแบบต่างๆ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข วันที่ เป็นต้น แต่ Conditional Formatting ยังมีวิธีการจัดการรูปแบบข้อมูลอีกมาก ซึ่งเราจะนำเสนอในบทความถัดไป


💁💁💁
Share:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Dashboards คืออะไร มีกี่ประเภท

Dashboards คืออะไร และสามารถช่วยเราในการทำงานอย่างไร Dashboards คือ การนำข้อมูลมาสร้างรายงานที่เป็นภาพรวมทางธุรกิจ ให้ผู้บริหารสามารถ...

Recent Posts

Keywords

เอ็กเซล Data-Management Functions การจัดการข้อมูลในเอ็กเซล Blogger Basic-Excel Create-Blogger การจัดการข้อมูล Excel Conditional Formatting excel Data-Analysis Drop down list Excel สูตร Computer knowledge Feed RSS Atom คือ อะไร Index Match function excel SEO Search Console Search engine chart excel คือ excel data validate paste option Excel vlookup approximate Match exact Match vlookup function excel การใช้ concatenate ใน excel สร้าง drop down list สร้าง กราฟ เอ็กเซล Advance Filter Auto Filter by Color Auto Filter by Text Content Syndication DATEDIF() Datedif Function Excel SUM Function Excel SUMIF Function Excel SUMIFS Function Formula Values Transpose Formatting Function excel Gantt Chart excel Gantt Chart excel ทำยังไง HLOOKUP Icon Set Index Match function คือ Knowledge Line Chart Scatter Chart LogicFunction Match function excel Name Manager Paste Special Pie Doughnut chart excel Robots Header Tag Sumproduct function การใช้ สูตร เอ็กเซล Template Text Function Excel Trim Clear Function Excel Values column chart excel condition countif excel count if excel 2010 countifs data validation excel countifs เงื่อนไข ตัวอักษร มากกว่า น้อยกว่า excel index match formula excel match function reference cell excel sort and filter excel เบืื้องต้น excel เบื้องต้น flash fill excel คือ flash fill คือ อะไร function คือ highlight in dropdownlist index excel match vlookup index match ใช้ยังไง lookup excel กราฟ แผนภูมิ Excel การ เรียง ข้อมูล excel การ เรียง ลําดับ ข้อมูล excel การกรองข้อมูล Excel การตัดข้อความ เอ็กเซล การทํา chart excel การทําcontrol chart excel การสร้าง ตาราง กราฟ excel การสร้าง chart excel การสร้างฟีต การหาผลรวมในเอ็กเซล การเผยแพร่เนื้ือหา การเพิ่ม Subscription ให้ Blogger การแยก ข้อความ การใช้ if การใช้ index match excel การใช้งาน Subtotal outline excel การใช้ฟังก์ชั่น concatenate การใช้แผนภูมิ chart excel ค้นหาข้อมูล เอ็กเซล ค้นหาเลขคอลัมน์ ค้นหาเลขแถว เอ็กเซล ตัดช่องวางในเอ็กเซล ผูกเว็บกับ Google Analytics ฟังก์ชั่น Text การใช้ วิธีการตัดข้อความใน Excel วิธีทำ แผนภูมิ วงกลม Excel สูตร COUNTIF สูตรexcel concatenate สูตรการหาผลรวมใน Excel หาผลต่างระหว่างเดือน เพิ่มรายการใน Data Validation แผนภูมิ คอลัมน์ excel แผนภูมิคอลัมน์ เรียงซ้อน ใส่สีให้ dropdownlist