แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Basic-Excel แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Basic-Excel แสดงบทความทั้งหมด

แผนภูมิเส้น (Line Chart) ต่างอย่างไรกับแผนภูมิกระจาย (Scatter Chart)

แผนภูมิเส้น แผนภูมิกระจาย

จากความก่อนหน้านี้ กล่าวถึง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแผนภูมิต่างๆ แผนภูมิคอลัมน์ และ แผนภูมิวงกลมหรือโดนัท ไปแล้ว บทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักแผนภูมิเส้นกับแผนภูมิกระจาย ซึ่งเมื่อคุณดูรวมๆ จะพบว่า รูปแบบลักษณะของทั้ง 2 มีความคล้ายกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผนภูมิกระจายที่มีการเชื่อมต่อโดยเส้น (Scatter with Smooth/Straight Lines and Markers Chart) ยิ่งจะดูคล้ายกับแผนภูมิเส้นที่มีเครื่องหมายกำกับ (Line with Marker Chart/Stacked Line with Marker Chart)  

บทความนี้ จะใช้ข้อมูลดิบที่เป็นข้อมูลยอดขายสินค้าแต่ละเดือน เทียบกันระหว่างปี 2016 และ 2017 มาใช้เป็นตัวอย่างการสร้างแผนภูมิทั้ง 2 ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างข้อมูลยอดขายสินค้าแต่ละเดือนเทียบปี

แผนภูมิเส้น (Line Chart)
เป็นแผนภูมิที่สามารถใช้ในการแสดงแนวโน้มตามช่วงเวลา ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อย 1 ชุด หรือมากกว่า 1 ชุด โดยแนวนอน (Horizontal axis) มักใช้ในการแสดงหมวดหมู่ (Category) ของข้อมูล เช่น แสดงแนวโน้นตามปี เดือน ช่วงวัน เป็นต้น ส่วนแนวตั้ง มันใช้ในการแสดงข้อมูลตัวเลข


รูปแบบแผนภูมิเส้นแบบต่างๆ
1. Line Chart เป็นแผนภูมิที่เหมาะกับข้อมูลที่มีหลาย Data Point (Data Points หมายถึง ตัวเลขที่แสดงในแต่ละจุดบนแผนภูมิ ซึ่งจากรูปที่ 2 คุณสามารถเห็น Data Point บนแผนภูมิเส้นก็ต่อเมื่อนำเมาส์ไปวางในแต่ละจุดของเส้น หรือกำหนดให้แผนภูมิแสดงตัวเลขในแต่ละจุดออกมา) ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างแผนภูมิเส้น (Line Chart)
การเตรียมข้อมูลดิบ ให้เหมาะในการสร้างแผนภูมิเส้น
คุณควรเตรียมรูปแบบของข้อมูลดิบให้เหมาะสม กับการสร้างแผนภูมิเส้นให้ง่ายขึ้น ดังนี้ 

  • ควรมีคอลัมน์ตัวเลขอย่างน้อย 1 คอลัมน์ หรือมากกว่า และ คอลัมน์ตัวเลขนี้ ต้องมีแถวตั้งแต่ 2 แถวขึ้นไป เพื่อให้แต่ละเส้นมีจุดมากกว่า 2 จุด 
  • ตัวเลขควรเป็นค่าบวกหรือลบ
  • อาจมีคอลัมน์ที่เป็นตัวหนังสือหรือวันที่ได้

จากรูปที่ 1 เรามาสังเกตว่าข้อมูลในตารางเหมาะจะมาสร้างแผนภูมิเส้นหรือไม่ 

  • มีคอลัมน์ที่เป็นตัวเลขมากว่า 1 คอลัมน์ คือ B, C และแต่ละชุดข้อมูล มีแถว 12 แถว 
  • มีค่าตัวเลขในคอลัมน์ B, C เป็นค่าบวก 
  • มีคอลัมน์ที่เป็นตัวหนังสือ คือ ชื่อเดือน


2. Stacked Line Chart เรียกว่าแผนภูมิเส้นแบบซ้อนกัน แต่เส้นในแผนภูมินี้ จะ ไม่ ซ้อนทับกัน เพราะแต่ละเส้นจะมีการสะสมค่าเพิ่มเข้าไปแต่ละจุดของข้อมูล ดังรูปที่ 3
แผนภูมิเส้น เอ็กเซล
รูปที่ 3 แสดงตัวอย่างแผนภูมิเส้นแบบซ้อนกัน 

3. 100% Stacked Line Chart เป็นแผนภูมิเส้นตรงแบบ 100% แบบนี้เส้นแต่ละชุดข้อมูลจะไม่ซ้อนทับกัน เพราะแต่ละเส้นจะบวกค่าเพิ่มไปที่ละชุดข้อมูล และแสดงค่าดิบโดยการแปลงค่าดิบนั้นให้เป็นเปอร์เซ็นก่อน ซึ่งถ้าสังเกตเส้นสุดท้ายหรือชุดข้อมูลสุดท้าย จะแสดงเป็นค่าเปอร์เซ็นทั้งหมด นั้นคือ 100% ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 แสดงตัวอย่างแผนภูมิเส้นตรงแบบ 100%
กฎของการแสดงข้อมูลของแผนภูมิเส้นตรงแบบ 100%

  • ชุดข้อมูลของแผนภูมินี้ ต้องบวกค่าข้อมูลสะสมไปเรื่อยๆ จนครบ 100%
  • ชื่อคอลัมน์จะแทนด้วยเส้นตรง ซึ่งเป็นเส้นตรงที่ยาวเท่ากับจำนวนคอลัมน์ เช่น จากรูปที่ 4 ชื่อคอลัมน์ คือ ชื่อเดือน แผนภูมินี้จึงแสดงชื่อเดือนเป็นเส้นตรงนั้นเอง
  • เส้นที่ 2 จะแสดงด้วยค่าของเส้น/ชุดข้อมูลที่ 1 รวมกับ 2 เป็นเปอร์เซ็นของแต่ละคอลัมน์ เช่น เส้นสีฟ้าจุดแรกเป็นค่าเดือนมกราคมแปรงเป็นเปอร์เซ็น ส่วนเส้นสีแดงจุดแรกจะนำค่าทั้ง 2 ชุดมารวมกันจนครบ 100%


4. Line with Marker Chart ดังรูปที่ 5
รูปที่ 5 แสดงตัวอย่างแผนภูมิเส้นแบบมีเครื่องหมาย 

5. Stacked Line with Marker Chart ดังรูปที่ 6
รูปที่ 6 แสดงตัวอย่างแผนภูมิเส้นตรงที่มีเครื่องหมาย

6. 100% Stacked Line with Marker Chart ดังรูปที่ 7
รูปที่ 7 แสดงตัวอย่างแผนภูมิเส้นตรงที่มีเครื่องหมายแบบ 100%
แผนภูมิแบบนี้จะมีความคล้ายคลึงกับ 100% Stacked Line Chart เพียงแต่เพิ่มเครื่องหมายจุดบนเส้นเข้าไป

7. 3-D Line Chart ดังรูปที่ 8
รูปที่ 8 แสดงตัวอย่างแผนภูมิเส้นแบบ 3 มิติ



😊😊😊😊😊

แผนภูมิกระจาย (Scatter Chart)
เป็นแผนภูมิกระจาย ที่ใช้เมื่อต้องการเปรียบเทียบตัวแปรหรือชุดข้อมูลอย่างน้อย 2 ชุดขึ้นไป เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือชุดข้อมูลนั้น โดยแผนภูมิกระจายจะเรียกว่า X Y ว่ามีแนวโน้มไปแนวทางใด มันจุึงเหมาะสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมาก 
ถ้าคุณมีข้อมูลยอดขายสินค้าแต่ละเดือนในแต่ละปี เป็นดังนี้ 

รูปแบบแผนภูมิกระจายแบบต่างๆ 
1. Scatter Chart เป็นแผนภูมิกระจาย ที่ใช้เมื่อต้องการเปรียบเทียบตัวแปรหรือชุดข้อมูลอย่างน้อย 2 ชุดขึ้นไป เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือชุดข้อมูลนั้น ดังนั้น แผนภูมินี้ จึงเหมาะที่จะนำไปใช้กับข้อมูลที่มีวิธีการวัดแยกกัน ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างแผนภูมิกระจาย (Scatter Chart)
การเตรียมข้อมูลดิบ ให้เหมาะกับการสร้างแผนภูมิกระจาย
คุณควรเตรียมรูปแบบของข้อมูลดิบทั้งจำนวนและวันที่ ให้เหมาะสม กับการสร้างแผนภูมิกระจาย ซึ่งถ้าข้อมูลไม่เหมาะสม อาจส่งผลให้แผนภููมิเกิดข้อผิดพลาดได้
1. ควรมีคอลัมน์ที่เป็นตัวเลข 2 คอลัมน์ และ คอลัมน์ที่เป็นตัวเลขนี้ ต้องมีอย่างน้อย 2 แถวหรือมากกว่า เพื่อให้โปรแกรมลากเส้นระหว่าง 2 ชุดข้อมูลได้
2. คอลัมน์ที่เป็นวันที่สามารถใช้เป็นคอลัมน์ตัวเลข ซึ่งจะวางไว้ที่แนวนอน (แกน X) โดยแแกน X นี้ มักให้แสดงข้อมูลที่เป็นหมวดหมู่ เช่น วันที่ เดือน ปี เป็นต้น 

2. Scatter with Smooth Lines and Markers Chart
เป็นแผนภูมิ
กระจายแบบเส้นโค้งที่มีเครื่องหมายจุด ที่เหมาะสมกับข้อมูลที่มีข้อมูลน้อย และข้อมูลแทนด้วย X, Y ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างแผนภูมิกระจายแบบเส้นโค้งมีเครื่องหมาย (Scatter with Smooth Lines and Markers)
3. Scatter with Smooth Lines Chart เป็นแผนภูมิกระจายเส้นโค้ง ที่เหมาะสมกับข้อมูลจำนวนมาก และข้อมูลแทนด้วย X, Y ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 แสดงตัวอย่างแผนภูมิกระจายเส้นโค้ง (Scatter with Smooth Line Chart)

4. Scatter with Straight Lines and Markers Chart เป็นแผนภูมิกระจายเส้นตรงที่มีเครื่องหมาย โดยเหมาะที่จะใช้กับข้อมูลที่มีข้อมูลน้อย และข้อมูลแทนด้วย X, Y ดังรูปที่ 4 
รูปที่ 4 แสดงตัวอย่างแผนภูมิกระจายที่เป็นเส้นตรงที่มีเครื่องหมาย (Scatter with Straight Lines and Markers Chart)

5. Scatter with Straight Lines Chart เป็นแผนภูมิกระจายเส้นตรง แผนภูมิแบบนี้เหมาะกับข้อมูลจำนวนมากและมีวิธีการวัดที่ต่างกัน ดังรูปที่ 5
รูปที่ 5 แสดงตัวอย่างแผนภูมิกระจายเส้นตรง (Scatter with Straight Lines Chart)

😊😊😊😊😊

จากตัวอย่างข้างบน จะพบว่า จุดประสงค์ของแผนภูมิทั้ง 2 ไม่เหมือนกัน เพราะ แผนภูมิเส้น เพื่อแสดงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นของข้อมูล แต่แผนภูมิกระจาย เพื่อเปรียบเทียบตัวแปรหรือชุดข้อมูล และ แผนภูมิกระจาย เวลา Pot เส้น ยังไม่มีหมวดหมู่บนแกนแนวนอน เหมือนกับ Line Chart อีกด้วย

นอกจากนี้ ข้อจำกัดของการสร้างแผนภูมิทั้ง 2 แผนภูมิ คือ ห้ามเว้นข้อมูล(ดิบ) ทั้งแถวหรือคอลัมน์ ในตารางที่นำมาสร้างแผนภูมิ เพราะแผนภูมิจะไม่สมบูรณ์ทันที

Share:

ทำความรู้จัก แผนภูมิวงกลมหรือโดนัท (Pie/Doughnut chart) ใน Excel


ในบทความนี้ เรามาทำความรู้จักกับแผนภูมิวงกลมต่อจาก แผนภูมิคอลัมน์ โดยเมื่อคุณอ่านบทความนี้จบ คุณจะได้เรียนรู้ประเภทของแผนภูมิวงกลม การ Plotting ข้อมูลให้เป็นแผนภูมิวงกลม  การสร้างแผนภูมิวงกลมให้สวยมากขึ้น  

แผนภูมิวงกลมหรือโดนัท (Pie/Doughnut chart) 
เป็นการแสดงข้อมูลเป็นวงกลมหรือโดนัท โดยที่แต่ละวงจะแทนข้อมูล 1 ชุด ที่ถูกแบ่งเป็นสัดส่วนไว้แล้ว  

โดยจุดสังเกต ถ้าคุณจะใช้แผนภูมิวงกลมนี้กับชุดข้อมูลหลายชุด จะถือว่าไม่หมาะสม เพราะจะทำให้สัดส่วนของ Doughnut ด้านนอกผิดไปจากขนาดข้อมูลจริง (เพราะ สัดส่วนข้อมูลของ Doughnut ด้านนอกจะมีขนาดใหญ่กว่า Doughnut ด้านใน) 

ดังนั้น หากต้องการจะทำการเปรียบเทียบชุดข้อมูลหลาย ๆ ชุด ควรจะไปใช้แผนภูมิคอลัมน์ (Column Chart) หรือแผนภูมิแท่ง (Bar Chart) หรือถ้าหากคุณจำเป็นต้องใช้แผนภูมินี้จริงๆ ควรมีการแสดงค่าข้อมูลหรือเปอร์เซ็นต์ ไว้ในแผนภูมิด้วย

ข้อกำหนดเบื้องต้นเมื่อต้องใช้แผนภูมิคอลัมน์หรือโดนัท
1. มีชุดข้อมูลอย่างน้อย 1 ชุดหรือมากกว่า 
2. ต้อง ไม่ มีค่าติดลบ หรือ เป็นศูนย์ ในข้อมูล
3. รายการย่อย (Item) ของข้อมูลต่อชุด ต้องไม่เกิน 7 รายการ

การสร้างแผนภูมิวงกลม
1. เลือกข้อมูลที่ต้องการจะสร้างแผนภูมิวงกลม 
2. คลิก Insert > Insert Pie or Doughnut Chart > Doughnut ดังรูปที่ 1 
รูปที่ 1 ช่องทางการสร้างแผนภูมิวงกลมหรือโดนัท

โดยแผนภูมิวงกลมหรือโดนััท สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภททย่อย ดังนี้ 
3.1. แผนภูมิวงกลมหรือโดนัท (Pie Chart) ดังรูปที่ 2 
แผนภูมิโดนัท
รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างแผนภูมิวงกลม

3.2. แผนภูมิวงกลมแบบ 3 มิติ (Pie in 3-D Chart) ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 แสดงตัวอย่างแผนภูมิวงกลมแบบ 3 มิติ


3.3. แผนภูมิวงกลมโดนัท ดังรูปที่ 5

แผนภูมิโดนัท
รูปที่ 5 แสดงตัวอย่างแผนภูมิโดนัท แบบข้อมูลชุดเดียว

สำหรับข้อมูลที่มีหลายชุด แผนภูมิโดนัท ก็สามารถนำเสนอได้ดี ดังรูปที่ 6
รูปที่ 6 แสดงตัวอย่างแผนภูมิโดนัท แบบข้อมูลหลายชุด

นอกจากนี้ ข้อกำหนดเบื้องต้นที่แนะว่าให้แผนภูมิมีรายการย่อย (Item) ไม่เกิน 7 รายการ ซึ่งถ้าหากจำเป็นต้องนำเสนอข้อมูลที่มากกว่านั้นละ เราจะหาทางออกให้กับแผนภูมิแบบนี้อย่างไร 

คำตอบก็คือ Pie of Pie Chart ดังรูปที่ 7 
รูปที่ 7 แสดงตัวอย่างการใช้แผนภูมิแบบ Pie of Pie Chart 
จากรูปที่ 7 จะพบว่า ข้อมูลดิบ (ตาราง) มีรายการย่อย (Item) มากกว่า 7 รายการ เราเลือกใช้ Pie of Pie Chart เพื่อนำเสนอข้อมูลรายการอื่นให้ได้รายละเอียดเพิ่มเติมนั้นเอง 

ถ้ายิ่งข้อมูลดิบมีจำนวนมากเท่าไร รายละเอียดของข้อมูลก็ยิ่งดูยากมากขึ้นตามไปด้วย จากรูปที่ 7 เราได้นำเสนอเป็นเปอร์เซ็น ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะสมมากกว่าตัวเลขตามตาราง 

รายละเอียดของแผนภูมิ เราจะอธิบาย เริ่มจาก ข้อมูลบรรทัดแรกของตาราง คือ
1. สีฟ้า-7% หมายถึง Chumphon วนไปทางซ้าย 
2. สีแดง-13% หมายถึง Amnat Charoen
3. สีเท่า-14% หมายถึง Lampang
4. สีเหลือง-14% หมายถึง Chanthaburi
5. สีน้ำเงิน-2% หมายถึง Samut Prakan
6. สีเขียว-9% หมายถึง Rayong
7, รวมข้อมูลจังหวัดอื่นที่เหลือ-41% ซึ่งมี Pie อีกอันเพื่ออธิบายรายละเอียดส่วนที่เหลือ Krabi / Samut Songkhram / Ratchaburi / Chiang Rai 

นอกจาก Pie of Pie Chart แล้วยังสามารถทำเป็น Bar of Pie Chart ดังรูปที่ 8
รูปที่ 8 แสดงตัวอย่างแผนภูมิแบบ Bar of Pie Chart

นี่จะเห็นว่าเพียงแค่แผนภูมิวงกลม/โดนัท คุณสามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ เพื่อให้นำไปใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์หรือข้อมูลแบบต่างๆ นั้นเอง

Share:

7 ประเภทแผนภูมิคอลัมน์ (Column Chart) ใน Excel

แผนภูมิคอลัมน์

บทความก่อนหน้านี้ เรานำเสนอความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสร้างแผนภูมิในแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนภูมิเส้น (Line Chart) แผนภูมิคอลัมน์ (Column Chart) แผนภูมิวงกลม (Pie/Doughnut chart) แผนภูมิแท่ง (Bar Chart) แผนภูมิพื้นที่ (Area Chart)  แผนภูมิจุด (Scatter/Bubble Chart) เป็นต้น คุณสามารถไปทบทวนได้ที่  "ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแผนภูมิ (Chart) ต่างๆ ใน Excel"
ในบทความนี้ เราจะอธิบายแผนภูมิคอลัมน์ ให้ละเอียดมากขึ้น เพื่อให้คุณนำเสนอมุมมองแผนภูมิคอลัมน์ ให้เหมาะสมกับข้อมูลเดิมนั้นเอง

แผนภูมิคอลัมน์ (Column Chart) 
เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงชุดข้อมูลอย่างน้อย 1 ชุด หรือ ใช้เปรียบเทียบข้อมูลหลายชุด ดังตารางข้างล่างนี้ เป็นข้อมูล 2 ชุด ที่จะนำมาเปรียบเทียบกันโดยใช้แผนภูมิคอลัมน์  
ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลที่นำมาสร้างแผนภูมิ

ตารางที่ 1 สามารถนำข้อมูลที่มากกว่า 2 ชุด คือ รายได้ของเดือนหนึ่ง (Income of m1) และสอง (Income of m2) มาเปรียบเทียบกัน โดยแนวตั้ง (vertical axis : Y-axis) มักจะแสดงเป็นตัวเลข ส่วนแนวนอน (horizontal axis : X-axis) ก็จะแสดงเป็นข้อมูลประเภทอื่นๆ ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 ลักษณะของแผนภูมิคอลัมน์

ลักษณะของแผนภูมิคอลัมน์ สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ
แผนภูมิคอลัมน์แบบคลัสเตอร์ และ แบบซ้อนกัน ซึ่งแต่ละประเภทยังแบ่งออกเป็น 7 แบบย่อย ดังนี้

2.1. แผนภูมิคอลัมน์แบบคลัสเตอร์ (Clustered Column) เป็นการเปรียบเทียบข้อมูลชุดเดียว/หลายชุด โดยคอลัมน์จะเชื่อมต่อติดกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 แสดงแผนภูมิคอลัมน์แบบคลัสเตอร์

2.2. แผนภูมิคอลัมน์แบบ 3-D คลัสเตอร์ (3-D Clustered Column) เป็นการเปรียบเทียบข้อมูลชุดเดียว/หลายชุด โดยคอลัมน์เชื่อมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนแบบ 3 มิติ ดังรูปที่ 2

2.3. แผนภูมิคอลัมน์แบบ 3-D (3-D Column) เป็นการเปรียบเทียบข้อมูลชุดเดียว/หลายชุด โดยแต่ละชุดข้อมูลเป็นแผนภูมิคอลัมน์แบบ 3 มิติ ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 แสดงแผนภูมิคอลัมน์แบบ 3-D

2.4. แผนภูมิคอลัมน์ซ้อนกัน (Stacked Column) เหมาะกับการใช้เปรียบเทียบข้อมูลหลายชุด โดยแสดงในลักษณะคอลัมน์ที่ซ้อนกัน ดังรูปที่ 5
รูปที่ 5 แสดงแผนภูมิคอลัมน์ซ้อนกัน 

2.5. แผนภูมิคอลัมน์แบบ 3-D ซ้อนกัน (3-D Stacked Column) เหมาะกับการใช้เปรียบเทียบข้อมูลหลายชุด โดยมีลักษณะคอลัมน์ซ้อนกัน ดังรูปที่ 6
รูปที่ 6 แสดงแผนภูมิคอลัมน์แบบ 3-D ซ้อนกัน

2.6. แผนภูมิคอลัมน์ซ้อนกันแบบความสูงเท่ากัน (100% Stacked Column) เหมากับใช้เปรียบเทียบข้อมูลหลายชุด โดยแสดงในลักษณะคอลัมน์ที่ซ้อนกัน ขนาดเท่ากัน ดังรูปที่ 7
รูปที่ 7 แสดงแผนภูมิคอลัมน์ซ้อนกันแบบความสูงเท่ากัน

2.7. แผนภูมิคอลัมน์ 3-D ซ้อนกันแบบความสูงเท่ากัน  (3-D 100% Stacked Column) ดังรูปที่ 8
รูปที่ 8 แสดงแผนภูมิคอลัมน์แบบ 3-D ที่ซ้อนกันแล้วความสูงเต็ม 100%
ขั้นตอนการสร้าง
1. เลือกข้อมูลในตารางที่ต้องการนำมาแสดงแผนภูมิคอลัมน์ 
2. คลิกเมนู Insert ดังรูปที่ 9
3. เลือก Chart ribbon group หรือ Alt+F1 ดังรูปที่ 9
รูปที่ 9 แสดงขั้นตอนการสร้างแผนภูมิ
 4. เลือก Column Chart ที่ต้องการ ดังรูปที่ 10
รูปที่ 10 แสดงเมนู Column Chart


Share:

คุณลักษณะของการใช้ Paste ใน Excel

ใน Excel มีฟังก์ชั่นในการวางข้อมูล เป็นสิ่งที่คุณๆ หลายคนคุ้นเคย แต่จะมีสักกี่คน ที่จะเข้าใจคุณสมบัติของ Paste อย่างถูกต้องครบถ้วนบ้าง

ในบทความนี้ จะนำเสนอคุณลักษณะ (Featuresของ Paste โดยช่องทางอย่าง Home Tab หรือ คลิกขวาที่เซลล์ที่ต้องการจะวางข้อความ ซึ่งจะมีคุณลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้ 

วิธีแรก เปิด Home Tab >> คลิกปุ่มสามเหลี่ยมที่ Paste >> จะแสดงแถบเมนู ดังรูปที่ 1  
Paste
รูปที่ 1 แสดงแถบเมนู Paste
จากรูปที่ 1 จะแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 
  1. ส่วน Paste
  2. ส่วน Values
  3. ส่วน Other Paste Options
  4. ส่วน Paste Special...

อธิบายปุ่มที่อยู่ในส่วน Paste 


Paste (P) : ผลลัพธ์การวางเนื้อหาเซลล์ที่คัดลอกจะได้ ทั้งเนื้อหา (Content) และรูปแบบ (Format)



Formulas (F) : ผลลัพธ์การวางเนื้อหาที่คัดลอกจะได้เฉพาะสูตร โดยไม่รูปแบบ (Format) ของเนื้อหามาแสดง


Formulas & Number Formatting (O) : ผลลัพธ์การวางเนื้อหาที่คัดลอกมาได้ทั้งสูตรและรูปแบบของเนื้อหามาแสดง



Keep source formatting (K) : ผลลัพธฺการวางเนื้อหาที่คัดลอกมา พร้อมทั้งรูปแบบของเซลล์เดิมมาด้วย โดยเครื่องมือนี้ ต้องระวังกรณีข้อมูลของเซลล์เดิม มีการใช้การอ้างอิงเซลล์ (Call Reference) แล้วเซลลปลายทางที่จะวาง ไม่ได้มีโครงสร้างของ Sheet เหมือนกัน เช่น 
Keep source formatting
รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างข้อมูลที่จะวางด้วย Keep source formatting
จากรูปที่ 2 นี้ เซลล์ A3 ถึง A5 เป็นเซลล์อ้างอิง ถ้าคุณ ๆ ทำการคัดลอกแล้ว ไปวางที่เซลล์ F ดังรูปที่ 3
Keep source formatting
รูปที่ 3 แสดงผลการวางโดนโครงสร้าง Sheet ไม่ตรงกัน
จากรูปที่ 3 ผลลัพธ์การวางในคอลัมน์ F (F3, F4) จะมองหาเนื้อหาจากเซลล์ถัดไป ให้เหมือนกับเซลล์อ้างอิงของเซลล์ต้นทาง (A3, A4) 


No Border (B) : ผลลัพธ์การวางเนื้อหาที่คัดลอกมา โดยไม่นำเส้นตารางของเซลล์เดิมมาด้วย


Keep source column width (W) : ผลลัพธ์การวางเนื้อหาที่คัดลอกมา พร้อมความกว้างของเซลล์เดิมมาด้วย


Transpose (T) : ผลลันธ์การวางเนื้อหาที่ค้ดลอกมา โดยหมุนเนื้อหาให้ตรงข้ามกับช่วงของเซลล์เดิม 



อธิบายปุ่มที่อยู่ในส่วน Values


Values (V) : ผลการวางจะวางเฉพาะผลการคำนวณแล้ว



Values & Number Formatting (A) : ผลการวางจะวางทั้งสูตรและรูปแบบ ของเซลล์เดิม



Values & Source Formatting (E) : ผลการวางจะวางทั้ง ผลการคำนวณและรูปแบบ ของเซลล์เดิม



อธิบายปุ่มที่อยู่ในส่วน Other Paste Options

Formatting (F) : ผลการวางจะวาง เฉพาะรูปแบบของเซลล์เดิม



Paste Link (N) : ผลการวางจะวาง เซลล์อ้างอิง (Call Reference) ของเซลล์เดิม




Picture (U) : ผลการวางจะวางเป็นรูปภาพ




Linked Picture (I) : ผลการวางจะวาง URL ของภาพ



อธิบายส่วนของ Paste Special...  
เมื่อคุณ ๆ คลิกที่ปุ่ม Paste Special... ตามรูปที่ 1 หรือ Shortcut : Ctrl+Alt+V คุณ ๆ จะพบ pop up ดังรูปที่ 4
Paste
รูปที่ 4 แสดงแถบเมนู Paste Special...
รูปที่ 4 ในส่วน Paste จะเหมือนกับคำอธิบายด้านบน ส่วน Operation จะทำให้คุณ ๆ นำเนื้อหาที่คัดลอกมาทำการวางลงไปที่เซลล์ใหม่ โดยไม่ดำเนินการใด (None) บวก (Add) ลบ (Subtract) คูณ (Multiply) และ หาร (Divide) นอกจากนี้ ยังสามารถยกเว้นช่องวาง (Skip blanks) อีกด้วย

ส่วนวิธีการ "คลิกขวาที่เซลล์ที่ต้องการจะวางข้อความ" สามารถอ่านได้ที่บทความ ุ"6 ปุ่มที่ให้ผล Paste option ใน Excel ที่แตกต่างกันไป"
Share:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Dashboards คืออะไร มีกี่ประเภท

Dashboards คืออะไร และสามารถช่วยเราในการทำงานอย่างไร Dashboards คือ การนำข้อมูลมาสร้างรายงานที่เป็นภาพรวมทางธุรกิจ ให้ผู้บริหารสามารถ...

Recent Posts

Keywords

เอ็กเซล Data-Management Functions การจัดการข้อมูลในเอ็กเซล Blogger Basic-Excel Create-Blogger การจัดการข้อมูล Excel Conditional Formatting excel Data-Analysis Drop down list Excel สูตร Computer knowledge Feed RSS Atom คือ อะไร Index Match function excel SEO Search Console Search engine chart excel คือ excel data validate paste option Excel vlookup approximate Match exact Match vlookup function excel การใช้ concatenate ใน excel สร้าง drop down list สร้าง กราฟ เอ็กเซล Advance Filter Auto Filter by Color Auto Filter by Text Content Syndication DATEDIF() Datedif Function Excel SUM Function Excel SUMIF Function Excel SUMIFS Function Formula Values Transpose Formatting Function excel Gantt Chart excel Gantt Chart excel ทำยังไง HLOOKUP Icon Set Index Match function คือ Knowledge Line Chart Scatter Chart LogicFunction Match function excel Name Manager Paste Special Pie Doughnut chart excel Robots Header Tag Sumproduct function การใช้ สูตร เอ็กเซล Template Text Function Excel Trim Clear Function Excel Values column chart excel condition countif excel count if excel 2010 countifs data validation excel countifs เงื่อนไข ตัวอักษร มากกว่า น้อยกว่า excel index match formula excel match function reference cell excel sort and filter excel เบืื้องต้น excel เบื้องต้น flash fill excel คือ flash fill คือ อะไร function คือ highlight in dropdownlist index excel match vlookup index match ใช้ยังไง lookup excel กราฟ แผนภูมิ Excel การ เรียง ข้อมูล excel การ เรียง ลําดับ ข้อมูล excel การกรองข้อมูล Excel การตัดข้อความ เอ็กเซล การทํา chart excel การทําcontrol chart excel การสร้าง ตาราง กราฟ excel การสร้าง chart excel การสร้างฟีต การหาผลรวมในเอ็กเซล การเผยแพร่เนื้ือหา การเพิ่ม Subscription ให้ Blogger การแยก ข้อความ การใช้ if การใช้ index match excel การใช้งาน Subtotal outline excel การใช้ฟังก์ชั่น concatenate การใช้แผนภูมิ chart excel ค้นหาข้อมูล เอ็กเซล ค้นหาเลขคอลัมน์ ค้นหาเลขแถว เอ็กเซล ตัดช่องวางในเอ็กเซล ผูกเว็บกับ Google Analytics ฟังก์ชั่น Text การใช้ วิธีการตัดข้อความใน Excel วิธีทำ แผนภูมิ วงกลม Excel สูตร COUNTIF สูตรexcel concatenate สูตรการหาผลรวมใน Excel หาผลต่างระหว่างเดือน เพิ่มรายการใน Data Validation แผนภูมิ คอลัมน์ excel แผนภูมิคอลัมน์ เรียงซ้อน ใส่สีให้ dropdownlist