Dashboards คืออะไร มีกี่ประเภท

Dashboards คืออะไร และสามารถช่วยเราในการทำงานอย่างไร


Type of Dashboard

Dashboards คือ การนำข้อมูลมาสร้างรายงานที่เป็นภาพรวมทางธุรกิจ ให้ผู้บริหารสามารถทำการวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น จะเห็นว่าเราเรียก Dashboards ว่าเป็นรายงานได้ แต่ไม่ใช่ว่าทุกรายงานจะเป็น Dashboards แล้วความแตกต่างระหว่าง Dashboards และรายงานคืออะไร 

  • รายงานจะทำการรวบรวมข้อมูล และแสดงข้อมูลที่รวบรวมนั้น จากที่เดียวกัน เช่น ผู้จัดการขององค์กรแห่งหนึ่ง ต้องการทราบการเติบโตของยอดขายในช่วงเวลาที่ผ่านมาและภูมิภาคไหนที่ทำกำไรได้สูงที่สุด เป็นต้น เราจะต้องนำรวบรวมข้อมูลและแสดง เป็นรายงาน ซึ่งรายงานนี้ เราค่อยนำไปใช้เป็น Data ในการสร้าง Dashboards ภายหลัง
  • ส่วน Dashboards จะสามารถตอบคำถามให้กับผู้จัดการขององค์กรได้ดีกว่า เพราะ Dashboards จะแสดงให้เห็นทันที ว่าภูมิภาคใดที่มียอดขายผลิตภัณฑ์ใดสูงสุด ส่งผลให้ผู้จัดการ สามารถวางแผนส่งเสริมการขายได้ง่ายขึ้น 


ปัจจุบันรายงานแบบ Dashboards สามารถสร้างได้จากเครื่องมือจำนวนมาก หนึ่งในเครื่องมือเหล่านี้ คุณๆ สามารถเลือกใช้ Microsoft Excel ที่เราคุ้นๆ แต่ไม่ค่อยจะสนิทกันสักเท่าไร ฮ่าฮ่าฮ่า

ก่อนที่เราจะไปเรียนรู้วิธีการสร้างรายงานแบบ Dashboards ให้มาทำความรู้จักรูปแบบรายงานแบบ Dashboards กันก่อน ดังนี้

1. Strategic Dashboards

Dashboard เชิงกลยุทธ์ เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจให้กับผู้จัดการทุกระดับ โดยแสดงภาพรวมที่มีประสิทธิภาพของธุรกิจ มักจะแสดงเป็นรายวัน รายเดือน รายไตรมาส และรายปี เช่น Customer Service Dashboards หมายถึง การนำข้อมูลมาสร้างเป็นรายงานภาพรวมของการให้บริการลูกค้า ในธุรกิจนั้นเอง เพื่อให้นำไปวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น 
หรือ KPI Dashboard ซึ่งย่อมาจาก Key Performance Indicators เป็นเครื่องมือที่ช่วยผู้บริหารสามารถมองเห็นประสิทธิภาพของบริษัท ด้วยการรวบรวม (collecting) จัดกลุ่ม (grouping) จัดระเบียบ (organising) และแสดงตัวชี้วัดที่สำคัญของบริษัท โดยวัตถุประสงค์หลักของการใช้ KPI Dashboards สามารถแสดงประสิทธิภาพของ KPI ที่สำคัญ และมุมมองเชิงเปรียบเทียบของ KPI หรือบริษัทอื่นอีกด้วย

2. Analytical Dashboards
เป็น Dashboard เชิงวิเคราะห์ ประกอบด้วย ข้อมูลจำนวนมาก ประวัติของข้อมูล และผลการเปรียบเทียบข้อมูล ซึ่งเน้นมุมมองต่างๆของข้อมูลที่วิเคราะห์ออกมา เช่น dashboard บริหารการเงิน / dashboard บริหารยอดการขาย เป็นต้น

3. Operational Dashboards
เป็น Dashboard ที่ใช้ตรวจสอบการทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง Dashboard นี้จะแตกต่างจาก Dashboard 2 ตัวแรกที่กล่าวมา และต้องเป็น Dashboard ที่มีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ เช่น Project Management Dashboards เป็น Dashboard ที่จำเป็นสำหรับผู้จัดการโครงการที่ต้องควบคุมโครงการขนาดเล็กถึงโครงการขนาดกลาง สามารถใช้ Excel มาใช้ในการวางแผน ติดตามโครงการต่างๆ ได้

4. Informational Dashboards
เป็น Dashboard ที่แสดงข้อมูล ตัวเลขที่เป็นข้อเท็จจริง หรือสถิติ ซึ่ง Dashboard ชนิดนี้สามารถแสดงข้อมูลทั้งแบบค่าคงที (Dashboard static) หรือ ข้อมูลแบบที่เปลี่ยนแปลง (Dashboard dynamic) แต่ Dashboard นั้นจะไม่สามารถโต้ตอบกับผู้ดูได้ เช่น Dashboard แสดงข้อมูลเครื่องบินขึ้น-ลงสนามบิน เป็นต้น


Dashboards ทั้ง 4 นั้น เราจะสร้างได้นั้น เราต้องทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ของแต่ละ Dashboards ก่อน ต่อไปนี้จะเป็นวิธีการที่ทำให้คุณๆ วิเคราะห์ว่าจะสร้าง Dashboards อะไร เพื่อได้ตอบสนองกับความต้องการของผู้ที่จะนำ Dashboards นี้ไปใช้งาน 

  • สิ่งที่คุณๆ ต้องทำก่อนหรือทันทีที่ได้รับข้อมูลมา คุณต้องถามผู้ที่เกี่ยวข้อง ถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการจาก Dashboards เช่น KPI ที่ต้องการให้สร้างเพียงครั้งเดียวหรือสร้างเป็นประจำ เป็น KPI ของทั้งบริษัทหรือบางแผนก เป็นต้น การตั้งคำถามที่เหมาะสมจำช่วยให้คุณเข้าใจข้อมูลที่คุณนำมาสร้าง Dashboards
  • แหล่งของข้อมูลที่คุณจะต้องได้รับ เช่น ข้อมูลจะได้จากไหน รูปแบบของข้อมูลคืออะไร ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยแค่ไหน
  • ใครคือผู้ใช้ Dashboard นี้ เช่น ผู้จัดการอาจสนใจเฉพาะข้อมูลเชิงลึกจาก Dashboard แต่นักวิเคราะห์ข้อมูลบางคนอาจต้องการข้อมูลที่ละเอียดลงไป แล้วแต่ว่าใครจะเป็นผู้ใช้ Dashboard นั้นเอง
  • Dashboard นี้ต้องการให้ Update บ่อยแค่ไหน เช่น ต้อง Update ทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน คุณสามารถสร้าง plug-and-play model ซึ่งเมื่อต้อง Update ก็เพียงแค่คัดลอกข้อมูลมาวาง แต่ถ้า Dashboard สร้างเพียงครั้งเดียวคุณก็ไม่ต้องสร้างเป็น Model ไว้
  • Office เป็น version อะไร เพราะถ้าคุณสร้าง Dashboard ด้วย Version 2016 แต่ผู้ใช้กลับเปิด Dashboard version 2003 รับรองว่าเปิดไม่ได้

Reference
http://chandoo.org/wp/excel-dashboards/
https://www.datapine.com/blog/strategic-operational-analytical-tactical-dashboards/
https://trumpexcel.com/creating-excel-dashboard/
https://trumpexcel.com/kpi-dashboard-in-excel-part-1/

Share:

วิธีการสร้างเมนูใน Blogger ด้วย html

ใครที่มีบทความเผยแพร่บน Blogger หรือ Blogspot เคยมีความคิดอยากจะสร้างเมนู (Menu) ให้กับ Blog ของคุณไว้ใช้เองหรือไม...วันนี้บทความนี้จะแนะนำวิธีการสร้างเมนู (Menu) หรือ เมนูย่อย (SubMenu) ไว้ใช้กันแบบง้ายยยย...ง่าย

ขั้นตอนการสร้างเมนูให้กับ Blogger อย่างง่าย

วิธีนี้คุณต้องไปโหลด Template ที่คุณชอบมาก่อน โดยเราสามารถไปค้นหาจากหลายๆที่ (คุณๆสามารถไปเปิดอ่านในบทความ "การสร้างรูปแบบของ Blogger ให้สวยเพียง 1 นาที" ซึ่งเราได้หา Template แล้วตามรูป 1
รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างเมนูจาก template

1. ให้เปิดเข้าไปในส่วนของ Back-End ของระบบ
2. เลือกเมนูทีม (Theme) ดังรูป 2
สร้างเมนูใน blogger
รูปที่ 2 เลือกเมนูธีม เพื่อเข้าไปจัดการเมนูใน blogger

3. คลิกที่ปุ่ม "แก้ไข html" ตามรูปที่ 1 ระบบจะแสดงโค้ช html ให้ดังรูปที่ 3
สร้างเมนูใน blogger
รูปที่ 3 แสดงหน้าโค้ช html 
4. ค้นหาคำตามเมนู ในรูปที่1 โดยเมนูถัดไปจาก Home คือคำว่า Excel ให้คุณวางเมาส์ไว้ที่แสดง HTML code และ กด Ctrl+F จะเกิด PopUp ที่มุมบน ด้านขวาของจอ ซึ่งจะแสดงตามรูปที่ 4
สร้างเมนูใน Blogger
รูปที่ 4 ค้นหาคำในเมนู
ให้คุณสังเกต Code ที่คล้ายแบบข้างล่างนี้

<li><a href='#'>Excel</a>
<ul class='children'>
<li><a href='https://www.itlearncenter.com/search/label/Basic-Excel'>Basic Excel</a></li>
<li><a href='https://www.itlearncenter.com/search/label/Data-Management'>Data Management</a></li>
<li><a href='https://www.itlearncenter.com/search/label/Functions'>Function</a></li>
<li><a href='https://www.itlearncenter.com/search/label/Data-Analysis'>Data Analysis</a></li>
</ul>
</li>
ตัวหนังสือสีดำ ให้ใส่ชื่อเมนูที่ต้องการ ซึ่งใน Code นี้ Excel จะเป็นเมนูหลัก และ Basic Excel / Data Management / Function / Data Analysis จะเป็นเมนูย่อยภายใต้เมนูใหญ่

ตัวหนังสือสีแดงเป็น URL ที่คุณต้องการให้สามารถ Link ได้ถึง 

กำหนด URL ให้กับเมนูย่อยภายใน Blogger

สำหรับเมนูย่อยภายใต้เมนูใหญ่ใน Blogger สำหรับมือใหม่อาจจะสับสน ว่าจะได้ URL ของเมนูย่อยนั้นมาอย่างไร ... ให้คุณๆย้อนกลับไปถึงการสร้างเนื้อหาภายใน Blogger ทางด้านขวาจะมี "ป้ายกำกับ (Label)" ให้คุณระบุ Keyword ของบทความนั้น ก็ให้คุณกำหนด Keyword ที่ต้องการให้เป็นเมนูย่อยลงไป ดังรูปที่ 5
การใส่ป้ายกำกับให้บทความใน Blogger
รูปที่ 5 การใส่ Keyword ในป้ายกำกับ (Label) ให้บทความภายใน Blogger

 จากรูปที่ 5 ใส่ Keyword เข้าไป 4 คำ ถ้าคุณไม่ต้องการใส่ Keyword อีกก็คลิกเสร็จสิ้น จากนั้นให้เปิดบทความนั้น และคลิกที่ Keyword ที่คุณต้องการให้เป็น SubMenu ของเว็บคุณ ดังรูปที่ 6
การสร้างเมนูย่อยใน Blogger
รูปที่ 6 การสร้าง Submenu ใน Blogger

คลิกเข้าไปที่ Keyword ที่ต้องการ ซึ่งจากรูปที่ 6 ให้คลิกที่ Data Management ระบบจะรวบรวมบทความที่มี Keyword นี้ โดย URL จะเป็นแบบนี้ https://www.itlearncenter.com/search/label/Data-Management เพียงแค่นี้คุณก็จะได้ SubMenu ไปแก้ไข Code ในข้อ 4 ได้แล้ว 


Share:

การใส่สีให้ Drop Down List ใน Microsoft Excel อย่างง่าย


ถ้าคุณๆ อ่านมาหลายบทความเริ่มเห็นหรือไมว่าการใช้ Excel มันไม่ได้ยาก เพียงคุณๆ เข้าใจความสามารถของเครื่องมือที่เราใช้ เราก็จะสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ให้อย่างง่ายดาย ก่อนที่จะบรรยายไปไกลกว่านี้ เรามาเข้าเรื่องบทความของเราดีกว่า วันนี้ผู้เขียนจะขอนำเสนอเทคนิคต่างๆ มาช่วยให้ดูน่าสนใจ 

การใส่สีให้ Drop Down List อย่างง่าย

เมื่อคุณๆ คิดอยากใส่สี HighLight เปลี่ยนสีตัวหนังสือ หรือใส่ Icon เป็นต้น มาถึงตรงนี้ถ้าใครที่ชำนาญ Excel สักหน่อย คงจะคิดถึง Conditional Formatting เป็นแน่ ถูกต้องแล้วค่ะ ไม่พูดพร่ำต่อละ เข้าเรื่องเลยละกันค่ะ

1. คุณต้องสร้าง Drop Down List ก่อน แต่ถ้ายังไม่รู้จะสร้างอย่างไร สามารถศึกษาวิธีการสร้างจากบทความเก่า เช่น การสร้าง Drop Down List แบบง่ายๆ หรือ การเพิ่มรายการภายใน Drop Down List ภายหลังโดยไม่ต้องสร้างใหม่ 




กรณีต้องการใส่สี HighLight ใน Drop Down List เพียง Cell เดียว

2. กำหนดให้คอลัมน์ B เป็น Drop Down List แล้ว (โดย Drop Down List เราเป็นคำที่แสดง Status ต่างๆ เช่น Complete Pending Inprocess Queue และ Cancel) เราจะแสดงตัวอย่างวิธีการกำหนดให้เมื่อผู้ใช้คลิกเลือกสถานะต่างๆ Hightlight จะขึ้นตามที่กำหนด ตามรูปที่ 1 
รูปที่ 1 แสดงตัวอย่าง DropDownList ให้แสดง Hightlight

     2.1 ให้คุณๆ คลิก Cell ที่เป็น Drop Down List ซึ่งตามรูปที่ 1 คือ B1 โดยให้ไปเลือก Home Ribbon และเลือก Conditional Formatting ตามรูปที่ 2
รูปที่ 2 การเลือก Conditional Formatting 

     2.2 เลือก Highlight Cells Rules และจะขึ้นเมนูย่อยให้คุณเลือกว่าจะกำหนดเงื่อนไขยังไงให้แสดง Highlight แบบต่างๆ ตามตัวอย่างข้อ 2 DropDownList ของเราเป็นตัวหนังสือ ดังนั้น เราจะเลือกเป็น Equal To... ตามรูปที่ 3
รูปที่ 3 ขึ้น Equal To PopUp ให้กำหนดค่าที่จะเท่ากัน

ตามข้อ 2 ให้คุณพิมพ์คำว่า Complete ในช่องด้านซ้าย และเลือกสิ่งที่จะให้แสดงที่ช่องด้านขวา ตามรูปที่ 4
รูปที่ 4 กำหนดว่าถ้า DropDownList มีค่าเท่ากับ Complete จะแสดง Highlight 

กรณีต้องการใส่สี HighLight ใน Drop Down List หลาย Cells

3. จากข้อ 2.1 แทนที่จะเลือกแค่ B1 ให้คุณเลือกทั้งคอลัมน์ B และทำตามข้อ 2.2 โดยพิมพ์คำที่ต้องการไปที่ละคำ (Pending Inprocess Queue และ Cancel) และเลือกรูปแบบเป็นอย่างอืน ตามรูปที่ 5
รูปที่ 5 กำหนด DropDownList หลาย Cells ให้แสดง Highlight ตามต้องการ

ตามรูปที่ 5 กำหนดคำ Pending ให้แสดง Hightlight เป็นสีเทา ซึ่งใน Equal To PopUp ไม่มีค่าไว้ให้คุณเลือก Custom Format... ตามรูปที่ 6
รูปที่ 6 กำหนดพื้นของ DropDownList 
ที่เมนู Format Cell คุณต้องเลือก Fill Tab ซึ่งคำ Pending เลือกพื้นเป็นสีเทา และคลิกปุ่ม Ok
ตามรูปที่ 1 ด้านบนคลิก DrowDownList ที่ B2 เลือก Pending จะแสดง Hightlight ตามที่กำหนด ดังรูปที่ 7 
รูปที่ 7 แสดงตัวอย่าง DropDownList ที่แสดง HighLight

ส่วนคำ Inprocess Queue และ Cancel ให้ทำตามข้อ 3 และเลือก Highlight ตามต้องการ ซึ่งกรณีที่ต้องการแก้ไขที่หลังสามารถเข้าไปที่ Conditional Formatting เลือก Manage Rule ตามรูปที่ 8
รูปที่ 8 แสดง Conditional Formatting Rules Manager 
คุณๆ สามารถแก้ไข Cell Value ต่างๆ โดยเลือกค่านั้น และคลิกที่ปุ่ท Edit Rule.. หรือ Double Click เข้าไป ตามรูปที่ 9 
รูปที่ 9 Edit Formatting Rule 
ที่ Select a Rule Type เลือกประเภทกฏที่ต้องการ ในรูปที่ 9 เลือกการจัดรูปแบบเซลที่มีเท่านั้น 

ส่วน Edit the Rule Description คือ ส่วนที่คุณเข้าไปแก้ไขกฏที่จะให้ Excel ตรวจสอบได้

ส่วน Preview ให้คุณคลิกที่ปุ่ม Format เพื่อเปลี่ยนรูปแบบ HighLight ตามที่คุณต้องการได้เอง

เพียงเท่านี้คุณจะได้คอลัมน์ DropDownList ที่เมื่อเลือกค่าตรงกับเงื่อนไขไหนจะแสดง HighLigt ที่คุณกำหนดได้เอง จากรูปล่างนี้เป็นตัวอย่างการแสดง HighLight ต่างๆ

หวังว่าบทความนี้ คงพอจะเป็นตัวอย่างการประยุกต์ใช้ Excel ของคุณๆ ให้สามารถนำมาจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ได้ หากมีคำแนะนำหรือข้อคำถามสามารถส่งมาที่เมล์ ขอบคุณค่ะ 👩😁😃

Share:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Dashboards คืออะไร มีกี่ประเภท

Dashboards คืออะไร และสามารถช่วยเราในการทำงานอย่างไร Dashboards คือ การนำข้อมูลมาสร้างรายงานที่เป็นภาพรวมทางธุรกิจ ให้ผู้บริหารสามารถ...

Recent Posts

Keywords

เอ็กเซล Data-Management Functions การจัดการข้อมูลในเอ็กเซล Blogger Basic-Excel Create-Blogger การจัดการข้อมูล Excel Conditional Formatting excel Data-Analysis Drop down list Excel สูตร Computer knowledge Feed RSS Atom คือ อะไร Index Match function excel SEO Search Console Search engine chart excel คือ excel data validate paste option Excel vlookup approximate Match exact Match vlookup function excel การใช้ concatenate ใน excel สร้าง drop down list สร้าง กราฟ เอ็กเซล Advance Filter Auto Filter by Color Auto Filter by Text Content Syndication DATEDIF() Datedif Function Excel SUM Function Excel SUMIF Function Excel SUMIFS Function Formula Values Transpose Formatting Function excel Gantt Chart excel Gantt Chart excel ทำยังไง HLOOKUP Icon Set Index Match function คือ Knowledge Line Chart Scatter Chart LogicFunction Match function excel Name Manager Paste Special Pie Doughnut chart excel Robots Header Tag Sumproduct function การใช้ สูตร เอ็กเซล Template Text Function Excel Trim Clear Function Excel Values column chart excel condition countif excel count if excel 2010 countifs data validation excel countifs เงื่อนไข ตัวอักษร มากกว่า น้อยกว่า excel index match formula excel match function reference cell excel sort and filter excel เบืื้องต้น excel เบื้องต้น flash fill excel คือ flash fill คือ อะไร function คือ highlight in dropdownlist index excel match vlookup index match ใช้ยังไง lookup excel กราฟ แผนภูมิ Excel การ เรียง ข้อมูล excel การ เรียง ลําดับ ข้อมูล excel การกรองข้อมูล Excel การตัดข้อความ เอ็กเซล การทํา chart excel การทําcontrol chart excel การสร้าง ตาราง กราฟ excel การสร้าง chart excel การสร้างฟีต การหาผลรวมในเอ็กเซล การเผยแพร่เนื้ือหา การเพิ่ม Subscription ให้ Blogger การแยก ข้อความ การใช้ if การใช้ index match excel การใช้งาน Subtotal outline excel การใช้ฟังก์ชั่น concatenate การใช้แผนภูมิ chart excel ค้นหาข้อมูล เอ็กเซล ค้นหาเลขคอลัมน์ ค้นหาเลขแถว เอ็กเซล ตัดช่องวางในเอ็กเซล ผูกเว็บกับ Google Analytics ฟังก์ชั่น Text การใช้ วิธีการตัดข้อความใน Excel วิธีทำ แผนภูมิ วงกลม Excel สูตร COUNTIF สูตรexcel concatenate สูตรการหาผลรวมใน Excel หาผลต่างระหว่างเดือน เพิ่มรายการใน Data Validation แผนภูมิ คอลัมน์ excel แผนภูมิคอลัมน์ เรียงซ้อน ใส่สีให้ dropdownlist