ในบทความนี้ เราเสนอตัวอย่างการนำ SUBTOTAL Function มาช่วยลดขั้นตอนการทำงานของคุณ ๆ ว่าแล้วเข้าเรื่องสักที่ดีกว่านะคะ 😉😉😉
SUBTOTAL Function
หมายถึง ฟังก์ชั่นที่ช่วยคำนวณเซลล์ย่อย ๆ ของผลรวมในตาราง โดยมีการทำอยู่ 2 แบบ ดังนี้
ไวยากรณ์
=Subtotal(function_num, ref1, [ref2], ...)
หลักการ
- function_num คือ คุณต้องระบุตัวเลข ซึ่งมี 2 แบบ คือ 1-11 และ 101-111 เพื่อคืนค่าตาม Function ที่ต้องการ โดยเงื่อนไขในการกำหนดอยู่ในตารางที่ 1
- ref1, [ref2], ... คือ คุณระบุเลข 1-254 การอ้างอิงเพื่อให้ฟังก์ชั่นหาผลรวมย่อยของข้อมูล
ตารางที่ 1 แสดงความหมายของตัวเลขใน Function_num
Function | คำนวณค่าที่ซ่อน | ไม่คำนวณค่าที่ซ่อน |
AVERAGE | 1 | 101 |
COUNT | 2 | 102 |
COUNTA | 3 | 103 |
MAX | 4 | 104 |
MIN | 5 | 105 |
PRODUCT | 6 | 106 |
STDEV | 7 | 107 |
STDEVP | 8 | 108 |
SUM | 9 | 109 |
VAR | 10 | 110 |
VARP | 11 | 111 |
- ในตาราง Function แต่ละเลข (เช่น 1 กับ 101 / 2 กับ 102 / ...) จะถูกจับคู่ไว้อยู่แล้ว เมื่อคุณเลือก
- Function_num เป็นค่าระหว่าง 1-11 ฟังก์ชั่น SUBTOTAL จะคำนวณตัวเลขทุกตัว แม้ว่าตัวเลขจะถูกซ่อนไว้
- Function_num เป็นค่าระหว่าง 101-111 ฟังก์ชั่น SUBTOTAL จะ ไม่ นำตัวเลขที่ถูกซ่อนไว้มาคำนวณ
- แต่ถ้าคุณทำการกรองข้อมูลด้วย Autofilter แล้วฟังก์ชั่น SUBTOTAL จะไม่สนใจว่าคุณกำหนด Function_Num เป็นอะไร มันจะ ไม่ นำค่าในตารางที่คุณกรองข้อมูลนั้นมาคำนวณเด็ดขาด
- ฟังก์ชั่น SUBTOTAL จะสามารถทำงานตามที่บอกไว้กับข้อมูลแนวตั้ง แต่ถ้าข้อมูลเป็นลักษณะแนวนอน (Horizontal) ฟังก์ชั่น SUBTOTAL จะนำค่าที่ซ่อนไว้มารวมด้วย
ตัวอย่างที่ 1 เขียนฟังก์ชั่นแบบ Command ดังนี้
รูปที่ 1 แสดงตัวอย่าง Subtotal |
แบบที่ 2 ใช้ Subtotal แบบ Outline ดังนี้
รูปที่ 2 แสดงการทำ Subtotal แบบ Outline |
ขั้นตอนการทำงาน Subtotal แบบ Outline
1. ก่อนจะใช้เครื่องมือ Subtotal ได้ประสิทธิภาพที่สุด คุณควรจัดเตรียมข้อมูลให้โปรแกรมสามารถจัดการบริหารกับข้อมูลได้ง่ายขึ้นนั้นก็คือ ต้องใส่ข้อมูลให้เต็มทุกเซลล์ในตาราง / ทำการจัดเรียง (Sort) ข้อมูล ที่จะทำ Subtotal แบบ Outline ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 แสดงการเตรียมข้อมูลให้เหมาะสมกับการทำ Subtotal แบบ Outline |
2. เลือกเซลล์ส่วนใดส่วนหนึ่งบนตาราง และ เลือกที่ Data >> Subtotal โปรแกรมจะแสดง PopUp ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 แสดง Subtotal outline |
- At each change in: เป็นการเลือกคอลัมน์คุม ตารางที่ทำ Subtotal
- Use Function: เป็นการเลือกว่าจะใช้ Function ใดในการทำ Subtotal
- Add subtotal to : เป็นการเลือกคอลัมน์ที่ต้องการให้คำนวณ ตาม Function ที่เลือกไว้
- Replace current subtotal เป็นการกำหนดให้สามารถเพิ่มผลรวมย่อยได้ โดยจะถูกใช้เมื่อคุณทำ Subtotal ไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่ต้องการจะเพิ่ม Subtotal กับคอลัมน์อื่นเพิ่ม โดยไม่ให้กระทบกับข้อมูลที่ทำ Subtotal ไว้ก่อนหน้านี้นั้นเอง
- Page break between groups เป็นการกำหนดให้แบ่งเป็นหน้า
- Summary below data เป็นการกำหนดให้แสดงผลสรุปไว้ท้ายของตาราง
โดยในรูปที่ 4 คือการเลือกคอลัมน์ปี (Year) เป็นคอลัมน์คุมการแสดงผลรวมย่อย (Subtotal) ซึ่งจากการเติมข้อมูลให้เต็มทั้งตารางและจัดเรียงข้อมูลไว้ก่อนหน้านี้แล้ว คุณจะได้ข้อมูลผลรวมย่อยที่นำไปวิเคราะห์ได้ ดังรูปที่ 5
รูปที่ 5 แสดงผลลัพธ์การทำผลรวมย่อย (Subtotal - Outline) |
แต่หากคุณขี้เกียจ 😝😝😝 ไม่เติมข้อมูลให้เต็มหรือจัดเรียงข้อมูลให้เรียบร้อยก่อน คุณอาจจะได้ผลรวมย่อย (Subtotal) หลายรายการต่อข้อมูลในคอลัมน์เดียวกัน ซึ่งคุณก็คงต้องเริ่มต้นทำใหม่ ซึ่งถ้าคุณต้องการเริ่มต้นใหม่สามารถคลิกที่ปุ่ม Remove all ได้
นอกจากนี้ คุณยังสามารถทำการเพิ่ม Subtotal ที่ 2 ในตารางได้ โดยคลิกที่ Replace current subtotal แล้วเลือกคอลัมน์ที่ต้องการจะทำ Subtotal ที่ 2 ในส่วน Add subtotal to ดังรูปที่ 6
รูปที่ 6 แสดงตัวอย่างการทำผลรวมย่อยที่2 (Subtotal แบบ outline) |
รูปที่ 7 แสดงผลลัพธ์ของการทำผลรวมย่อยที่ 2 (Subtotal แบบ Outline) |
หวังว่าบทความนี้ คงพอจะให้คุณสามารถนำไปใช้สรุปผลรวมย่อยกับงานของคุณ ๆ ได้อย่างดีนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น