จากความก่อนหน้านี้ กล่าวถึง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแผนภูมิต่างๆ แผนภูมิคอลัมน์ และ แผนภูมิวงกลมหรือโดนัท ไปแล้ว บทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักแผนภูมิเส้นกับแผนภูมิกระจาย ซึ่งเมื่อคุณดูรวมๆ จะพบว่า รูปแบบลักษณะของทั้ง 2 มีความคล้ายกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผนภูมิกระจายที่มีการเชื่อมต่อโดยเส้น (Scatter with Smooth/Straight Lines and Markers Chart) ยิ่งจะดูคล้ายกับแผนภูมิเส้นที่มีเครื่องหมายกำกับ (Line with Marker Chart/Stacked Line with Marker Chart)
บทความนี้ จะใช้ข้อมูลดิบที่เป็นข้อมูลยอดขายสินค้าแต่ละเดือน เทียบกันระหว่างปี 2016 และ 2017 มาใช้เป็นตัวอย่างการสร้างแผนภูมิทั้ง 2 ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างข้อมูลยอดขายสินค้าแต่ละเดือนเทียบปี |
แผนภูมิเส้น (Line Chart)
เป็นแผนภูมิที่สามารถใช้ในการแสดงแนวโน้มตามช่วงเวลา ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อย 1 ชุด หรือมากกว่า 1 ชุด โดยแนวนอน (Horizontal axis) มักใช้ในการแสดงหมวดหมู่ (Category) ของข้อมูล เช่น แสดงแนวโน้นตามปี เดือน ช่วงวัน เป็นต้น ส่วนแนวตั้ง มันใช้ในการแสดงข้อมูลตัวเลข
รูปแบบแผนภูมิเส้นแบบต่างๆ
1. Line Chart เป็นแผนภูมิที่เหมาะกับข้อมูลที่มีหลาย Data Point (Data Points หมายถึง ตัวเลขที่แสดงในแต่ละจุดบนแผนภูมิ ซึ่งจากรูปที่ 2 คุณสามารถเห็น Data Point บนแผนภูมิเส้นก็ต่อเมื่อนำเมาส์ไปวางในแต่ละจุดของเส้น หรือกำหนดให้แผนภูมิแสดงตัวเลขในแต่ละจุดออกมา) ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างแผนภูมิเส้น (Line Chart) |
คุณควรเตรียมรูปแบบของข้อมูลดิบให้เหมาะสม กับการสร้างแผนภูมิเส้นให้ง่ายขึ้น ดังนี้
- ควรมีคอลัมน์ตัวเลขอย่างน้อย 1 คอลัมน์ หรือมากกว่า และ คอลัมน์ตัวเลขนี้ ต้องมีแถวตั้งแต่ 2 แถวขึ้นไป เพื่อให้แต่ละเส้นมีจุดมากกว่า 2 จุด
- ตัวเลขควรเป็นค่าบวกหรือลบ
- อาจมีคอลัมน์ที่เป็นตัวหนังสือหรือวันที่ได้
จากรูปที่ 1 เรามาสังเกตว่าข้อมูลในตารางเหมาะจะมาสร้างแผนภูมิเส้นหรือไม่
- มีคอลัมน์ที่เป็นตัวเลขมากว่า 1 คอลัมน์ คือ B, C และแต่ละชุดข้อมูล มีแถว 12 แถว
- มีค่าตัวเลขในคอลัมน์ B, C เป็นค่าบวก
- มีคอลัมน์ที่เป็นตัวหนังสือ คือ ชื่อเดือน
2. Stacked Line Chart เรียกว่าแผนภูมิเส้นแบบซ้อนกัน แต่เส้นในแผนภูมินี้ จะ ไม่ ซ้อนทับกัน เพราะแต่ละเส้นจะมีการสะสมค่าเพิ่มเข้าไปแต่ละจุดของข้อมูล ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 แสดงตัวอย่างแผนภูมิเส้นแบบซ้อนกัน |
3. 100% Stacked Line Chart เป็นแผนภูมิเส้นตรงแบบ 100% แบบนี้เส้นแต่ละชุดข้อมูลจะไม่ซ้อนทับกัน เพราะแต่ละเส้นจะบวกค่าเพิ่มไปที่ละชุดข้อมูล และแสดงค่าดิบโดยการแปลงค่าดิบนั้นให้เป็นเปอร์เซ็นก่อน ซึ่งถ้าสังเกตเส้นสุดท้ายหรือชุดข้อมูลสุดท้าย จะแสดงเป็นค่าเปอร์เซ็นทั้งหมด นั้นคือ 100% ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 แสดงตัวอย่างแผนภูมิเส้นตรงแบบ 100% |
- ชุดข้อมูลของแผนภูมินี้ ต้องบวกค่าข้อมูลสะสมไปเรื่อยๆ จนครบ 100%
- ชื่อคอลัมน์จะแทนด้วยเส้นตรง ซึ่งเป็นเส้นตรงที่ยาวเท่ากับจำนวนคอลัมน์ เช่น จากรูปที่ 4 ชื่อคอลัมน์ คือ ชื่อเดือน แผนภูมินี้จึงแสดงชื่อเดือนเป็นเส้นตรงนั้นเอง
- เส้นที่ 2 จะแสดงด้วยค่าของเส้น/ชุดข้อมูลที่ 1 รวมกับ 2 เป็นเปอร์เซ็นของแต่ละคอลัมน์ เช่น เส้นสีฟ้าจุดแรกเป็นค่าเดือนมกราคมแปรงเป็นเปอร์เซ็น ส่วนเส้นสีแดงจุดแรกจะนำค่าทั้ง 2 ชุดมารวมกันจนครบ 100%
รูปที่ 5 แสดงตัวอย่างแผนภูมิเส้นแบบมีเครื่องหมาย |
5. Stacked Line with Marker Chart ดังรูปที่ 6
รูปที่ 6 แสดงตัวอย่างแผนภูมิเส้นตรงที่มีเครื่องหมาย |
6. 100% Stacked Line with Marker Chart ดังรูปที่ 7
รูปที่ 7 แสดงตัวอย่างแผนภูมิเส้นตรงที่มีเครื่องหมายแบบ 100% |
7. 3-D Line Chart ดังรูปที่ 8
รูปที่ 8 แสดงตัวอย่างแผนภูมิเส้นแบบ 3 มิติ |
😊😊😊😊😊
แผนภูมิกระจาย (Scatter Chart)
เป็นแผนภูมิกระจาย ที่ใช้เมื่อต้องการเปรียบเทียบตัวแปรหรือชุดข้อมูลอย่างน้อย 2 ชุดขึ้นไป เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือชุดข้อมูลนั้น โดยแผนภูมิกระจายจะเรียกว่า X Y ว่ามีแนวโน้มไปแนวทางใด มันจุึงเหมาะสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลอย่างมาก
ถ้าคุณมีข้อมูลยอดขายสินค้าแต่ละเดือนในแต่ละปี เป็นดังนี้
รูปแบบแผนภูมิกระจายแบบต่างๆ
1. Scatter Chart เป็นแผนภูมิกระจาย ที่ใช้เมื่อต้องการเปรียบเทียบตัวแปรหรือชุดข้อมูลอย่างน้อย 2 ชุดขึ้นไป เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือชุดข้อมูลนั้น ดังนั้น แผนภูมินี้ จึงเหมาะที่จะนำไปใช้กับข้อมูลที่มีวิธีการวัดแยกกัน ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างแผนภูมิกระจาย (Scatter Chart) |
คุณควรเตรียมรูปแบบของข้อมูลดิบทั้งจำนวนและวันที่ ให้เหมาะสม กับการสร้างแผนภูมิกระจาย ซึ่งถ้าข้อมูลไม่เหมาะสม อาจส่งผลให้แผนภููมิเกิดข้อผิดพลาดได้
1. ควรมีคอลัมน์ที่เป็นตัวเลข 2 คอลัมน์ และ คอลัมน์ที่เป็นตัวเลขนี้ ต้องมีอย่างน้อย 2 แถวหรือมากกว่า เพื่อให้โปรแกรมลากเส้นระหว่าง 2 ชุดข้อมูลได้
2. คอลัมน์ที่เป็นวันที่สามารถใช้เป็นคอลัมน์ตัวเลข ซึ่งจะวางไว้ที่แนวนอน (แกน X) โดยแแกน X นี้ มักให้แสดงข้อมูลที่เป็นหมวดหมู่ เช่น วันที่ เดือน ปี เป็นต้น
2. Scatter with Smooth Lines and Markers Chart เป็นแผนภูมิกระจายแบบเส้นโค้งที่มีเครื่องหมายจุด ที่เหมาะสมกับข้อมูลที่มีข้อมูลน้อย และข้อมูลแทนด้วย X, Y ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างแผนภูมิกระจายแบบเส้นโค้งมีเครื่องหมาย (Scatter with Smooth Lines and Markers) |
รูปที่ 3 แสดงตัวอย่างแผนภูมิกระจายเส้นโค้ง (Scatter with Smooth Line Chart) |
4. Scatter with Straight Lines and Markers Chart เป็นแผนภูมิกระจายเส้นตรงที่มีเครื่องหมาย โดยเหมาะที่จะใช้กับข้อมูลที่มีข้อมูลน้อย และข้อมูลแทนด้วย X, Y ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 แสดงตัวอย่างแผนภูมิกระจายที่เป็นเส้นตรงที่มีเครื่องหมาย (Scatter with Straight Lines and Markers Chart) |
5. Scatter with Straight Lines Chart เป็นแผนภูมิกระจายเส้นตรง แผนภูมิแบบนี้เหมาะกับข้อมูลจำนวนมากและมีวิธีการวัดที่ต่างกัน ดังรูปที่ 5
รูปที่ 5 แสดงตัวอย่างแผนภูมิกระจายเส้นตรง (Scatter with Straight Lines Chart) |
😊😊😊😊😊
จากตัวอย่างข้างบน จะพบว่า จุดประสงค์ของแผนภูมิทั้ง 2 ไม่เหมือนกัน เพราะ แผนภูมิเส้น เพื่อแสดงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นของข้อมูล แต่แผนภูมิกระจาย เพื่อเปรียบเทียบตัวแปรหรือชุดข้อมูล และ แผนภูมิกระจาย เวลา Pot เส้น ยังไม่มีหมวดหมู่บนแกนแนวนอน เหมือนกับ Line Chart อีกด้วย
นอกจากนี้ ข้อจำกัดของการสร้างแผนภูมิทั้ง 2 แผนภูมิ คือ ห้ามเว้นข้อมูล(ดิบ) ทั้งแถวหรือคอลัมน์ ในตารางที่นำมาสร้างแผนภูมิ เพราะแผนภูมิจะไม่สมบูรณ์ทันที
ขอบคุณครับ
ตอบลบ