บทความนี้ จะอธิบายการใช้ฟังก์ชั่น Match และแสดงตัวอย่างการประยุกต์ใช้ระหว่าง Match Function ร่วมกับ Vlookup Function
ฟังก์ชั่น Match
เป็นฟังก์ชั่นหาเลขลำดับของข้อมูล ซึ่งหลักการคล้ายกับ VLOOKUP (หาสิ่งที่เราสนใจ) โดยที่ MATCH จะ ไม่ แสดงค่า (Value) จากตาราง แต่มันทำได้เพียงหาเลขลำดับของสิ่งที่ค้นหาว่าอยู่ในแถว (Row) หรือคอลัมน์ (Column) อะไรเท่านั้น
ไวยาการณ์ =MATCH(lookup_value, lookup_array, [match_type])หลักการใช้ฟังก์ชั่น Match
- lookup_value คือ ค่าที่ต้องการหา
- lookup_array คือ ลำดับคำที่ค้นหา ว่าอยู่ในแถวหรือคอลัมน์อะไร (เลือกได้แค่แถว หรือคอลัมน์ เท่านั้น จะเลือกทั้งคู่ไม่ได้)
- [match_type] คือ การเลือกประเภทการค้นหา ซึ่งมี 3 ประเภท คือ
- 0 : เป็นการหาค่าที่ต้องเหมือนกันทั้งหมด (เหมือนกับ VLOOKUP แบบ Exact Match) แต่ถ้าเจอเหมือนกันมากกว่า 1 ตัว โปรแกรมจะแสดงตัวแรก
- 1 หรือไม่ต้องใส่ค่า : ควรทำการเรียงข้อมูล lookup_array จากน้อยไปมากก่อน ซึ่งหลักการทำงาน จะหาค่าที่มากกว่า ค่าที่กำลังค้นหา แล้วแสดงค่าตัวก่อน 1 ช่อง
- -1 : ควรทำการเรียงข้อมูล lookup_array จากมากไปน้อยก่อน ซึ่งหลักการทำงาน จะหาค่าที่น้อยกว่า ค่าที่กำลังค้นหา แล้วแสดงค่าตัวก่อน 1 ช่อง
ตัวอย่างการใช้ฟังก์ชั่น Match
เราจะใช้ตารางเดียวกับบทความ VLOOKUP เพื่อให้คุณ ๆ เห็นถึงความต่างของฟังก์ชั่น MATCH และ VLOOKUP
รูปที่ 1 ตารางใช้แสดงผลการค้นหาด้วย MATCH |
จากรูปที่ 1 สามารถหาลำดับคอลัมน์หรือแถว ของสิ่งที่ต้องการค้นหา ดังนี้
- การหาร้านค้าที่ชื่อ Ooh la la สามารถเขียนสูตร (หาแถว) ดังนี้
=MATCH("Ooh la la",B1:B14,0)
หมายถึง ใช้คำสั่ง Match ทำการค้นหาชื่อร้าน Ooh la la โดยมองหาที่ช่วงของคอลัมน์ B1:B14 และต้องค้นหาโดยคำต้องตรงกันทั้งหมด
ผลลัพธ์ของสูตรนี้ คือ 13
- การหาว่ารหัสร้านค้า S009 สามารถเขียนสูตร (หาแถว) ดังนี้
=MATCH(A6,A1:A14,0)
หมายถึง ใช้คำสั่ง Match ทำการค้นหารหัสร้านในเซลล์ A6 โดยมองหาที่ช่วงของคอลัมน์ A1:A14 และต้องค้นหาโดยคำต้องตรงกันทั้งหมดผลลัพธ์ของสูตรนี้ คือ 6- การหาคำว่า "Nameshop" สามารถเขียนสูตร (หาคอลัมน์) ดังนี้
=MATCH("nameshop",A1:D1,0)
หมายถึง ใช้คำสั่ง Match ทำการค้นหา "nameshop" โดยมองหาที่ช่วงของคอลัมน์ A1:D1 และต้องค้นหาโดยคำต้องตรงกันทั้งหมดผลลัพธ์ของสูตรนี้ คือ 2- การหาอัตราภาษี 500,000 บาท สามารถเขียนสูตร ดังนี้
=MATCH(D2,D1:D14,1)
หมายถึง ใช้คำสั่ง Match ทำการค้นหาอัตราภาษี 500,000 บาท โดยมองหาที่ช่วงของคอลัมน์ D1:D14 และต้องค้นหาโดยเรียงข้อมูลก่อน ผลลัพธ์ของสูตรนี้ คือ 14
นอกจาก คำสั่ง Match สามารถทำให้เราทราบคอลัมน์ หรือแถว ของสิ่งที่เราค้นหา ซึ่งคุณ ๆ สามารถนำสูตร Match นี้ไปใช้รวมกับสูตรอื่น เช่น VLOOKUP
ปล. ใครยังไม่เข้าใจการทำงานของ VLOOKUP Function สามารถเข้าไปอ่านทบทวนได้ที่ "การค้นหาข้อมูลด้วย vLookUp จาก Excel"
ตัวอย่างการใช้ฟังก์ชั่น Match ร่วมกับฟังก์ชั่น Vlookup
จากรููปที่ 1 จะแสดงวิธีการนำทั้ง 2 ฟังก์ชั่นมาค้นหาข้อมูลได้อย่างอย่าง แต่คุณอย่าพึ่งคิดว่า ข้อมูลเพียงแค่นี้ไม่เห็นต้องเขียนสูตรให้ยุ่งยาก
เราใช้รูปที่ 1 แทนข้อมูลขนาดใหญ่ เพราะถ้าคุณต้องไปเจอทั้งคอลัมน์และแถวมีจำนวนมากๆ ก็สามารถใช้ทั้ง 2 ฟังก์ชั่น มาประยุกต์ เขียนสูตรเพื่อหาข้อมูลได้ง่าย ๆ ดังนี้
การค้นหาเลขคอลัมน์โดยใช้ฟังก์ชั่น match ร่วมกับฟังก์ชั่น vlookup
เราใช้รูปที่ 1 แทนข้อมูลขนาดใหญ่ เพราะถ้าคุณต้องไปเจอทั้งคอลัมน์และแถวมีจำนวนมากๆ ก็สามารถใช้ทั้ง 2 ฟังก์ชั่น มาประยุกต์ เขียนสูตรเพื่อหาข้อมูลได้ง่าย ๆ ดังนี้
การค้นหาเลขคอลัมน์โดยใช้ฟังก์ชั่น match ร่วมกับฟังก์ชั่น vlookup
=VLOOKUP("S013",A1:C14,MATCH("Branch",A1:C1,0),FALSE)
จากคำสั่งที่เขียนด้านบน ส่วนของ Match หมายถึง หาเลขลำดับที่ตรงกับคำว่า "Branch" จากช่วง A1:C1 โดยทำต้องสะกดเหมือนกับคำที่กำลังหา คำตอบของสูตร (MATCH("Branch",A1:C1,0)) นี้ เป็นเลขคอลัมน์ คือ 3
เมื่อนำมาร่วมกับ vlookup คำตอบของสูตร (=VLOOKUP("S013",A1:C14,MATCH("Branch",A1:C1,0),FALSE)) นี้ เป็น Krabi นั้นเอง
คุณ ๆ คงสงสัยว่า ใครจะอยากรู้ เลขคอลัมน์ หรือแถว ข้อมูล (Data) กันบ้างละ สิ่งที่คนใช้งาน Excel อยากจะรู้ ควรจะเป็น ข้อมูล (Data) ที่อยู่ในเซลล์นั้นๆ ซิ !!!!
คนที่จะอยากรู้ว่าเลขคอลัมน์ หรือเลขแถว ของสิ่งที่ค้นหาเป็นเลขอะไร ก็คือ คนที่เขียนสูตรด้วยฟังก์ชั่น INDEX นั้นเอง
คนที่จะอยากรู้ว่าเลขคอลัมน์ หรือเลขแถว ของสิ่งที่ค้นหาเป็นเลขอะไร ก็คือ คนที่เขียนสูตรด้วยฟังก์ชั่น INDEX นั้นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น