แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เอ็กเซล แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เอ็กเซล แสดงบทความทั้งหมด

การกรองข้อมูล (Filter) ใน Excel

การกรองข้อมูลตามเงื่อนไข (Filter)
คือ วิธีการที่คุณสามารถกรองข้อมูลตามเงื่อนไขได้ เพื่อให้สามารถตรวจสอบหรือค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น

วิธีการ 

เข้าไปที่ Ribbon Data >> คลิก Filter ดังรูปที่ 1
Filter
รูปที่ 1 แสดงช่องทางการทำ Filter
  • เมื่อคลิก Filter แล้วจะปรากฎ ตัวกรอง ขึ้นมาที่หัวคอลัมน์ 
  • สามารถกดปุ่มนั้นเพื่อกำหนดวิธีการกรองได้ ซึ่งเมื่อกดปุ่มกรองที่คอลัมน์ไหน มันก็จะกรองข้อมูลโดยใช้หลักเกณฑ์คอลัมน์นั้น ดังรูปที่ 2

การกรองด้วย Filter มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

แบบที่ 1 : การกรองค่าแบบอัตโนมัติ (Auto Filter) โดยมีวิธีกรองสามารถกรองได้จากทั้ง สี (Filter by Color) และ ข้อความ (Text Filter)

แบบที่ 2 : การกรองค่าแบบขั้นสูง (Advance Filter) จะขึ้นกับประเภทของข้อมูลในคอลัมน์นั้น ว่าเป็น Text Filters หรือ Number Filters 


แบบที่ 1 : การกรองค่าแบบอัตโนมัติ (Auto Filter)

แบบนี้เป็นวิธีการกรองแบบง่าย ไม่ยุ่งยาก ด้วยการคลิกที่เมนู Filter ดังรูปที่ 1 หรือ Short Cut : Ctrl + Shift + L 

ในบทความนี้ เราจะใช้ตัวอย่างจาก บทความการเรียงข้อมูล (Sort) ใน Excel ด้วย Ribbon Data ตารางรายการเมนูอาหาร (รูปที่ 2 ตารางด้านซ้าย) มาใช้อธิบาย 😉😉😊😊

ที่แถวบนสุดของคอลัมน์จะขึ้นรูปกรวย สัญลักษณ์การกรองข้อมูลอันตโนมัติ ดังรูปที่ 2 
Auto Filter by Color
รูปที่ 2 แสดงวิธีการ Auto Filter by Color

จากรูปที่ 2 ข้างบนนี้ โปรแกรมจะมอง Column รายการอาหารที่เลือกทำ Filter แล้วแสดง Cell Color ทั้งหมดจากคอลัมน์ทันที เพื่อให้คุณสามารถเลือกเรียงข้อมูลตาม Cell Color ได้

ตัวอย่างที่ 1 ต้องการกรองข้อมูล เฉพาะสีชมพู ที่มีราคา 30 บาท คุณจะกรองข้อมูลด้วยวิธีใด

ตอบ คลิก Ribbon Data >> เลือก Filter >> เลือกปุ่มสามเหลี่ยมที่คอลัมน์รายการอาหาร >> เลือก Filter by Color >> สีชมพู ดังรูปที่ 3
Auto Filter by Color
รูปที่ 3 แสดงตัวอย่างการเลือกรายการอาหารที่มี Filter สีชมพู

โปรแกรมจะแสดงข้อมูลเฉพาะสีที่คุณกรองมาแสดง ดังรูปที่ 4

Auto Filter by Color
รูปที่ 4 แสดงผลของการกรองด้วยสี

นอกจาก Auto Filter by Color ยังสามารถทำ Auto Filter by Text ได้ด้วยเช่นกัน ดังรูปที่ 5

Auto Filter by Text
รูปที่ 5 แสดงวิธีการ Auto Filter by Text
จากรูปที่ 5 โปรแกรมจะดู Column รายการอาหารที่เลือกทำ Filter แล้ว ให้คุณเลือกว่าจะกรองข้อความในคอลัมน์เป็นแบบไหน

ตัวอย่างที่ 2 ต้องการกรองข้อมูลรายการอาหาร โดยมีคำขึ้นต้นว่า "ข้าว" และ คำปิดท้ายว่า "ไก่" คุณจะกรองข้อมูลด้วยวิธีใด

ตอบ คลิก Ribbon Data >> เลือก Filter >> เลือกปุ่มสามเหลี่ยมที่คอลัมน์รายการอาหาร >> เลือก Text Filter >> เลือก Begins With.. และ Ends With...  ดังรูปที่ 6
รูปที่ 6 แสดง Custom AutoFilter PopUp
โปรแกรมจะแสดงข้อมูลเฉพาะสีที่คุณกรองมาแสดง ดังรูปที่ 7
Text Filter
รูปที่ 7 แสดงผลของการกรองด้วยตัวอักษร



แบบที่ 2 : การกรองค่าแบบขั้นสูง (Advance Filter)

จุดที่ Advanced Filter ต่างกับ Auto Filter คือ สามารถกรองข้อมูลได้ที่ละหลายเงื่อนไขพร้อมกัน จัดเรียงคอลัมน์ใหม่ และตัดข้อมูลที่มีความซ้ำซ้อนออกไปได้อย่างอัตโนมัติ

วิธีการ   
1. Data >> Sort&Filter >> Advanced 
2. จะแสดง Advance Filter Pop Up ดังรูปที่่ 8
Advance Filter Pop Up
รูปที่ 8 แสดง Advance Filter Pop Up
โดยวิธีการกรองแบบขั้นสูงนี้ สามารถทำได้ออกมาเป็น 2 ลักษณะ 


การกรองขั้นสูงแบบ 1. กรองข้อมูล แสดงบนเซลล์เดิม โดยสามารถทำตาม ดังนี้

  • Action เลือกเป็น Filter the list, in-place  
  • List range เลือกเซลล์ที่ต้องการ Filter ข้อมูล
  • Criteria range เลือกเซลล์ที่มีเงื่อนไข

การกรองขั้นสูงแบบ 2กรองข้อมูล แสดงบนเซลล์ใหม่ โดยสามารถทำตาม ดังนี้

  • Action เลือกเป็น Copy to another location 
  • List range เลือกเซลล์ที่ต้องการ Filter ข้อมูล
  • Criteria range เลือกเซลล์ที่มีเงื่อนไข
  • Copy to เลือกเซลล์ที่จ้องการให้ข้อมูลที่ Filter ไปแสดงในเซลล์ใหม่

ตัวอย่างที่ 3 ต้องการกรองข้อมูลรายการอาหารลำดับที่ 1,12 กับ อาหารที่มีราคาอาหาร 30 บาท 
ตอบ สร้างตารางเงื่อนไขที่จะใช้กรองข้อมูล ในส่วนของ Criteria range ก่อน ดังรูปที่ 9
Criteria Range in Excel
รูปที่ 9 แสดงตัวอย่างตารางเงื่อนไขที่จะใช้ในการกรองข้อมูล (Criteria range)

คลิก Ribbon Data >> ไปที่ Sort&Filter >> คลิก Advance >> จะมี Pop Up : Advance Filter ขึ้นมา >> ให้ทำตามการกรองขั้นสูงแบบ 1 ซึ่งใน Criteria range คุณไปเลือกตาราง ดังรูปที่ 9 ลงไป >> คลิก OK 


ผลลัพธ์ โปรแกรมจะกรองข้อมูลตามเงื่อนไข Criteria range และกรองข้อมูลทับตาราพื้นที่ตารางเดิม (เลือกมาเฉพาะข้อมูลรายงานอาหารลำดับที่ 1, 12 กับราคาอาหาร 30 บาท) ดังรูปที่ 10
กรองแบบมีเงื่อนไข
รูปที่ 10 แสดงผลลัพธ์การกรองข้อมูลแบบ Advance Filter ตามตัวอย่างที่ 3


ตัวอย่างที่ 4 ต้องการกรองข้อมูล ดังนี้ 

  • ราคาอาหาร มากกว่าหรือเท่ากับ 40 บาท กับ จำนวนยอดสั่งต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 4 จานต่อวัน
  • ลำดับที่ 1 ที่จำนวนยอดสั่งต้องมากกว่า 3 จานต่อวัน
  • รายการอาหารเป็น ข้าวผัดผักสามสหาย ที่มียอดสั่งต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 4 จานต่อวัน
  • ลำดับที่ 13 
ตอบ สร้างตารางเงื่อนไขที่จะใช้กรองข้อมูล ในส่วนของ Criteria range ก่อน ดังรูปที่ 11
รูปที่ 11 แสดงตัวอย่างตารางเงื่อนไขที่จะใช้ในการกรองข้อมูล (Criteria range)
คลิก Ribbon Data >> ไปที่ Sort&Filter >> คลิก Advance >> จะมี Pop Up : Advance Filter ขึ้นมา >> ให้ทำตามการกรองขั้นสูงแบบ 2 ซึ่งใน Criteria range คุณเลือกตาราง (รูปที่ 11) >> คลิก OK ดังรูปที่ 12 
การกรองข้อมูลในเอ็กเซล
รูปที่ 12 แสดงตัวอย่างการกรองข้อมูลใน Pop Up : Advance Filter ตามตัวอย่างที่ 4

ผลลัพธ์ โปรแกรมจะกรองข้อมูลตามเงื่อนไข Criteria range และกรองข้อมูลในพื้นที่ใหม่ ดังรูปที่ 13
Advance Filter in Excel
รูปที่ 13 แสดงผลลัพธ์การกรองข้อมูลแบบ Advance Filter ตามตัวอย่างที่ 4
คุณจะเห็นว่าแค่การกรองข้อมูลเรื่องเดียวก็มีวิธีการต่างๆ เพื่อให้สามารถเลือกวิธีการให้เหมาะสมกันไปในแต่ละสถานการณ์
Share:

การเรียงข้อมูล (Sort) ใน Excel

คุณเคยต้องจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ใน Excel หรือไม่ เช่น ต้องเรียงเงินเดือนจากมากไปน้อย เรียงราคาสินค้าจากน้อยไปมา แสดงข้อมูลที่กรองจาก hi-light สีต่างๆ ข้อความตามเงื่อนไข เป็นต้น


สิ่งเหล่านี้ ถือเป็นทักษะพื้นฐาน ที่คุณควรจะต้องรู้ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Excel

การเรียงข้อมูล (Sort)

เป็นสิ่งที่ช่วยให้เห็นภาพข้อมูลในลักษณะที่เป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น รวมถึงทำให้คุณสังเกตเห็นแนวโน้มหรือความผิดปกติได้ง่ายขึ้นด้วย ซึ่งถ้าคุณจะนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อ สิ่งแรกที่คุณควรทำ คือ การเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะฐานข้อมูล (Database) แบบเบื้องต้นได้

การเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะฐานข้อมูล (Database) แบบเบื้องต้น ต้องเป็นอย่างไร 
1. บรรทัดบนสุดของข้อมูลต้องเป็นชื่อหัวตาราง 
2. ต้องไม่มีข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อคอลัมน์ เช่น คอลัมน์เงินเดือน ก็ไม่ควรจะมีข้อมูลเป็นตัวหนังสือในคอลัมน์เงินเดือน เป็นต้น 


การเรียงข้อมูล (Sort) มี 2 ประเภทใหญ่

แบบที่ 1. การเรียงแบบคอลัมน์เดียว 
แบบที่ 2. การเรียงแบบหลายชั้น ซ้อนกัน เช่น ต้องการเรียงคอลัมน์ด้วย รหัสพนักงาน กับ ชื่อพนักงาน เป็นต้น

วิธีการเรียงข้อมูลแบบที่ 1 : การเรียงแบบคอลัมน์เดียว

เข้าไปที่ Ribbon Data >> คลิกที่คอลัมน์ที่คุณต้องการให้เรียงข้อมูล >> คลิก AZ กรณีต้องการเรียงจากน้อยไปมาก หรือ คลิก ZA กรณีต้องการเรียงจากมากไปน้อย ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 แสดงเมนู เพื่อการเรียงข้อมูล ทั้ง 2 แบบ
ตัวอย่างที่ 1 ต้องการเรียงข้อมูลตารางด้านซ้าย ให้แสดงการเรียงข้อมูลเมนูอาหารที่มียอดการสั่งต่อวันมากที่สุด ซึ่งก็จะแสดงแบบตารางด้านขวา ดังรูปที่ 2
Sort แบบแรก
รูปที่ 2 แสดงผลการเรียงข้อมูลแบบที่ 1 


วิธีการเรียงข้อมูลแบบที่ 2  : การเรียงแบบหลายชั้น ซ้อนกัน

1. เข้าไปที่ Ribber Data >> คลิก Sort  ตามรูปที่ 1 (ด้านบน)
2. โปรแกรมจะแสดง Sort Dialog Box เพื่อให้คุณระบุคอลัมน์ที่จะใช้เป็นเงื่อนไขในการเรียงข้อมูล ดังรูปที่ 3
Sort Dialog Box
รูปที่ 3 แสดงหน้าจอของ Sort Dialog Box 
ให้คุณสร้างเงื่่อนไขที่คุณต้องการจะให้เรียง 

ตัวอย่างที่ 2 ต้องการเรียงข้อมูลรายการอาหาร (จากตารางด้านซ้ายมือ) ด้วยเงื่อนไขแรก คือ คอลัมนราคาให้เรียงจากจากราคาน้อยไปมาก และเงื่อนไขสอง คือ จำนวนยอดการสั่งต่อวัน ให้เรียงจาก จำนวนสั่งมากไปน้อย ก็จะได้รายการอาหาร (จากตารางด้านขวามือ) ดังรูปที่ 4
Sort in Excel
รูปที่ 4 แสดงผลจากการเรียงข้อมูล ตามแบบที่ 2

โดยใน Sort Dialog Box จะต้องกำหนดตาม รูปที่ 5
รูปที่ 5 แสดงวิธีการกำหนดเงื่อนไขตามตัวอย่างที่ 2 ใน Sort Dialog Box

จากทั้ง 2 ตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า เครื่องมือใน Excel มีวิธีการในการเรียงข้อมูลได้หลายวิธีด้วยกัน ซึ่งคุณๆ ต้องทดลองเล่นเครื่องมือนี้ ตามโจทย์ต่างๆ แต่ถ้าคุณนึกโจทย์ไม่ออกให้ลอง ทำแบบฝึกหัดที่นี่




Share:

การหาผลรวมด้วย SUM() / SUMIF() / SUMIFS() ใน Excel

ปกติในโปรแกรม Excel จะมีฟังก์ชั่นในการหาผลรวมที่อยู่ในช่วง (Range) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถลดเวลาในการจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ได้อย่างสะดวกขึ้น

1. ฟังก์ชั่น SUM

ไวยากรณ์ =SUM(number1,[number2],…])
ตัวอย่าง เป็นการหาผลรวมของการขายสินค้าทั้งหมด ดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างการใช้ SUM หาผลรวม


จากรูปที่ 1 ที่เซลล์ E10 คุณสามารถเขียนฟังก์ชั่นเพื่อหาผลรวมของการขายสินค้าทั้งหมด =SUM(E3:E9) ซึ่งระบบจะทำการหาผลรวมใน E3 ถึง E9 นั้นเอง 

แต่ถ้าคุณต้องการคำนวณโดยใส่เงื่อนไขบางอย่างละ ตัวอย่างเช่น คำนวณเฉพาะผลการขายสินค้าที่เป็น Shirt คุณจะทำอย่างไร ???

เพื่อให้เป็นการง่าย ไม่ต้องมาหาผลรวมที่ละสินค้า หรือว่ามาทำการลบผลการขายสินค้าที่เป็น Shirt ออกไป โปรแกรม Excel ได้มีฟังก์ชั่น SUMIF() 
😊😊😊😊😊

2. ฟังกชั่น SUMIF()

SUMIF() ใช้สำหรับการหาผลรวมของช่วงที่ต้องการ โดยต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขที่กำหนด ... (เริ่มมีเงื่อนไขเข้ามากำหนด ไม่งั้นจะไม่หาผลรวม)

ไวยากรณ์ =SUMIF(Range, Criteria, [sum_range])
หลักการ
Range หมายถึง ช่วงเซลล์ที่มีเงื่อนไขที่ระบุใน criteria
Criteria หมายถึง เงื่อนไขที่ระบุ โดยจะเป็นตัวเลขหรือความข้อความก็ได้
Sum_rang หมายถึง ช่วงเซลล์ที่ต้องการให้หาผลรวมตามเงื่อนไขที่เราระบุไว้

ตัวอย่าง จากตัวอย่างเดิม ต้องการหาผลรวมของการขายสินค้าทั้งหมด ยกเว้นสินค้าที่เป็น Shirt คุณสามารถเขียนฟังก์ชั่นได้ ดังนี้

=SUMIF(A3:A9,"<>shirt",E3:E9)

ถ้าโจทย์ในการทำงานเปลี่ยนไป ต้องการหาผลรวมเฉพาะกระโปรง (Skirt) และ ราคาต่อชิ้นต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 800 บาทขึ้นไป (เงื่อนไขในการคำนวณมากกว่า 1 เงื่อนไข) คุณจะทำอย่างไร ???

คุณ ๆ คงจะเริ่มเห็นข้อจำกัดของฟังก์ชั่นนี้กันแล้วใช่ไหม 😁😁 ข้อจำกัดของมัน คือ SUMIF() สามารถระบุได้เพียง 1 เงื่อนไขเท่านั้น 

😱😱😱😱😱😱

3. ฟังก์ชั่น SUMIFS()

SUMIFS() ใช้สำหรับการหาผลรวมของช่วงที่ต้องการ ซึ่งสามารถกำหนดได้หลายเงื่อนไข ... (เมื่อมีเงื่อนไขมากกว่า 1)

ไวยากรณ์ =SUMIFS(sum_range, criteria_range1, criteria1, [criteria_range2, criteria2], …)

หลักการ
Sum_range (จำเป็น) คือ ช่วงของเซลล์ที่ต้องการหาผลรวม 
Criteria_range1 (จำเป็น) คือ ช่วงที่จะถูกทดสอบจะใช้ Criteria1
Criteria1 (จำเป็น) คือ เกณฑ์ที่กำหนดว่าเซลล์ใดใน Criteria_range1 จะถูกมีเงื่อนไขเป็นอะไรในการพิจารณา เช่น ">32", "แอปเปิ้ล“, "32“
Criteria_range2, criteria2, …    (ระบุหรือไม่ก็ได้) คือ ช่วงเพิ่มเติมและเกณฑ์ที่สัมพันธ์กันของช่วง คุณสามารถใส่ได้ถึง 127 คู่ของช่วง/เงื่อนไข

ตัวอย่าง เป็นการหาผลรวม โดยโจทย์กำหนดเงื่อนไขไว้ 2 เงื่อนไข คือ ต้องไม่ใช่สินค้าที่เป็น Skirt (แทนด้วยสีเขียว) และ สินค้านั้นต้องมีราคาสินค้ามากกว่าหรือเท่ากับ 800 (แทนด้วยสีฟ้า) 

รูปที่ 2 แสดงสูตรที่คำนวณเฉพาะสินค้ากระโปร่งและรามามากกว่า 800 บาท
จากตัวอย่างของการหาผลรวมทั้ง 3 ฟังก์ชั่น หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์กันไม่มากก็น้อยนะคะ 
Share:

การใช้ Logic Functions ใน Excel

Logic Functions คือ ฟังก์ชั่นเชิงตรรกศาสตร์ ที่ Excel เตรียมไว้

ในบทความนี้ เสนอฟังก์ชั่นที่ช่วยให้คุณทำการตัดสินใจในสูตร อย่างเช่น AND() NOT() OR() และ IF() 

ข้อควรระวังของการเขียนสูตรใน Excel จะต้องไม่มีช่องว่าง จนกว่าจะเขียนทั้งสูตรเสร็จสิ้น


👯👯👯👯👯👯👯👯


AND() เป็นการทดสอบตรรกะ/เงื่อนไขว่าต้องเป็นจริงทั้งหมด 

ไวยากรณ์ =AND(logical1, [logical2])



หลักการ

Logical1 คือ เงื่อนไขที่ต้องการทดสอบแรก

Logical2 คือ เงื่อนไขที่ต้องการทดสอบสอง 



ตัวอย่าง

AND($B3>=25,$B3<=30)
หมายถึึง เซลล์ B3 มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 25 และ B3 มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30

👯👯👯👯👯👯👯👯

NOT() เป็นการทดสอบตรรกะ/เงื่อนไข ว่าต้องเป็นเท็จ

ไวยากรณ์ =NOT(logical1)

ตัวอย่าง
NOT($B3>=25)
หมายถึง เซลล์ B3 ต้องไม่มี ค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 25

👯👯👯👯👯👯👯👯

OR() เป็นการทดสอบตรรกะ/เงื่อนไข ว่าต้องมีอย่างน้องหนึ่งตัวที่เป็นจริง

ไวยากรณ์ =OR(logical1, [logical2])

ตัวอย่าง
OR($B3>=25,$B3<=30)
หมายถึง เซลล์ B3 ต้องมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 25 หรือ มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 

👯👯👯👯👯👯👯👯

IF() เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้ทดสอบตรรกะ/เงื่อนไขว่าเป็นจริงหรือเท็จ และเปรียบเทียบตรรกะ/เงื่อนไขกับค่า Value ที่ระบุไว้


ไวยากรณ์ =IF(logical_test,Value_if_true,Value_if_False)

หลักการ
logical_test เป็นการระบุ ตรรกะ/เงื่อนไข ที่ต้องการตรวจสอบ 
value_if_true เป็นการระบุ ค่าที่โปรแกรมต้องส่งกลับ เมื่อเงื่อนไขเป็นจริง (จะใส่เป็นค่าหรือสูตรก็ได้) 
value_if_false เป็นการระบุ ค่าที่โปรแกรมต้องส่งกลับ เมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ (จะใส่เป็นค่าหรือสูตรก็ได้)

ตัวอย่าง

=IF($B13>100,"มากกว่า","น้อยกว่า")  
หมายถึง ถ้าเซลล์ B13 มีค่ามากกว่า 100 จะแสดงข้อความ มากกกว่า แต่ถ้าเซลล์ B13 มีค่าน้อยกว่า 100 จะแสดงข้อความ น้อยกว่า

=IF($B13>100,$B13+3,$B13+10)
หมายถึง ถ้าเซลล์ B13 มีค่ามากกว่า 100 จะแสดงผลรวมของค่าในเซลล์ B13 กับ 3 แต่ถ้าเซลล์ B13 มีค่าน้อยกว่า 100 จะแสดงผลรวมของค่าในเซลล์ B13 กับ 10

👯👯👯👯👯👯👯👯

ทั้ง 3 ฟังก์ชั่น คือ AND OR NOT สามารถนำไปใช้คู่กับ ฟังก์ชั่น IF ก็จะมำให้สูตรที่คุณเขียนมีลูกเล่นมากขึ้น 

ตัวอย่าง การใช้ IF และ AND
เขียนสูตรที่ตรวจสอบคะแนนของนักเรียนแต่ละวิชาต้องมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 20 คะแนน ทุกวิชาถึงจะผ่าน
รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างผลการตรวจสอบคะแนนว่าผ่านหรือไม่ผ่านใน Excel

ซึ่งคุณสามารถเขียนสูตรที่คอลัมน์ D ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 แสดงสูตรที่เขียนใน Excel
จากรูปที่ 2 เป็นการใช้ IF และ AND เพื่อเขียนสูตร โดยในเซลล์ 
D2 หมายถึง ถ้า เซลล์ B2 และ C2 มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 20 ให้แสดงคำว่า ผ่าน
เมื่อคุณเขียนสูตรเสร็จแล้วต้องการใช้สูตรเดียวกันกับเซลล์ D3-D5 ให้คุณๆ ทำการ Copy ไปวางได้ทันที่ โดยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความเรื่อง เทคนิคการคัดลอกข้อมูลในโปรแกรม Excel





Share:

ความรู้อะไรที่เป็นพื้นฐานในการใช้ Excel

ปัจจุบันมักมีหลายหน่วยงานที่กล่าวถึงความสามารถของ Excel ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคพื้นฐาน (ฺBasic Technical) หรือ เทคนิคขั้นสูง (Advanced Technical) ก็เพื่อให้คุณสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในการทำงานนั้นเอง ซึ่งถ้าคุณหวังจะใช้โปรแกรมนี้ได้อย่างเชี่ยวชาญ ก็ควรจะเริ่มต้นศึกษาเทคนิคพื้นฐานก่อน

แล้วอะไรบ้างที่เป็นความรู้พื้นฐานของโปรแกรม (ไม่แน่ว่า...เพียงคุณเข้าใจเรื่องพื้นๆ เหล่านี้แล้ว ก็อาจจะเพียงพอสำหรับงานที่คุณกำลังรับผิดชอบก็เป็นได้)
  • องค์ประกอบของโปรแกรม Excel  
  • การคำนวณผลรวม และสูตรการคำนวณ 
  • การระบุข้อมูลและรูปแบบของข้อมูล 
  • การเน้นข้อมูลให้ตรงกับเงื่อนไข
  • การสร้างรายงานและแผนภูมิแบบง่ายๆ 
  • การทำความเข้าใจ Keyboard Shortcuts และ Productivity Tricks 

องค์ประกอบของโปรแกรม Excel
          เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงเครื่องมือส่วนต่างๆ ภายในโปรแกรมได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ควรทำความเข้าใจองค์ประกอบของโปรแกรมก่อน ซึ่งหากเปิดโปรแกรมขึ้นมา คุณจะพบองค์ประกอบอยู่ 5 ส่วน ดังรูปที่ 1 คือ
Excel
รูปที่ 1 แสดงองค์ประกอบของหน้าจอโปรแกรม Excel
1. Quick Access Toolbar เป็นส่วนที่คุณสามารถวางเครื่องมือต่างๆ ที่ต้องเรียกใช้บ่อยๆ ได้ โดยโปรแกรมจะกำหนด Icon พื้นฐานไว้ 3 Icon คือ Save, Undo, Redo
2. Ribbon เป็นส่วนที่ใช้แสดงรายการคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงานกับเอกสาร
3. Formula Bar เป็นส่วนที่ใช้แสดงการใช้งานสูตรการคำนวณต่าง ๆ
4. Spreadsheet Grid เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ขั้นภายในเอกสาร
5. Status bar เป็นส่วนที่ใช้แสดงจำนวนหน้ากระดาษ และจำนวนตัวอักษรที่ใช้ในเอกสาร


การคำนวณผลรวม และสูตรการคำนวณ
          เรื่องนี้คงหนี้ไม่พ้น เพราะโปรแกรม Excel เกิดมาเพื่อช่วยคุณคำนวนสูตรต่างๆ เพื่อช่วยคุณทำการคำนวณได้อย่างง่าย โดยโปรแกรมจะแบ่งฟังค์ชั่นต่างๆ ออกเป็น
          Financial Function เป็นฟังค์ชั่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโปรแกรมก็ว่าได้ เพราะว่าโปรแกรมได้จัดเตรียมสูตรในการคำนวณด้านการเงินที่หลากหลาย เช่น การคำนวณผลผลิต การประเมินมูลค่าการลงทุน การคำนวณอัตราดอกเบี้ย การหาอัตราผลตอบแทน การหาค่าเสื่อมของสินทรัพย์ เป็นต้น
          Logical Function เป็นฟังค์ชั่นที่ช่วยให้คุณสามารถใส่เงื่อนไขในการตัดสินใจให้กับสูตรของคุณ ซึ่งมันจะประกอบไปด้วย ฺBoolean operators (AND OR XOR NOT) และ Conditional tests (IF IFERROR IFNA IFS SWITCH)
          Text Function เป็นฟังค์ชั่นที่ช่วยในการแปลงข้อความให้เป็นรูปแบบที่คุณกำหนดไว้
          Date & Time Function เป็นฟังค์ชั่นที่ช่วยในการแปลง ตัวเลขที่เก็บวันเวลาในโปรแกรม ให้อยู่ในรูปแบบของวันที่ เวลา ที่คุณๆ คุ้นเคย
          Lookup & Reference เป็นฟังค์ชั่นที่บอกให้โปรแกรม ส่งค่ากลับออกมาเป็นแถวหรือคอลัมน์ ซึ่งคล้ายกับฟังค์ชั่นการค้นหา เช่น VLOOKUP, HLOOKUP (พบใน Excel 2010 และ 2013 ข้ึนไป)
          Math & Trig เป็นฟังค์ชั่นที่ใช่ในการคำนวณสูตรคณิตศาสตร์ (mathematical calculations) เช่น เลขคณิตแบบพื้นฐาน (basic arithmetic) เงื่อนไขในการรวมค่า เลขยกกำลัง (exponents & logarithms) อัตราส่วนตรีโกมิติ (trigonometric ratios)
          Statistical Function เป็นฟังค์ชั่นในการคำนวณค่าสถิติต่างๆ
          Engineering Function เป็นฟังค์ชั่นในงานด้านวิศวกรรมศาตร์
          Cube Function เป็นฟังค์ชั่นที่เริ่มต้นใช้ใน Microsoft Excel 2007 มันจะถูกใช้ในการเชื่อมต่อกับ SQL หรือเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่ง Data Cube เป็นชุดข้อมูลหลายมิติซึ่งสามารถเก็บไว้ใน Excel ที่มีสามารถเก็บใน spreadsheet เพื่อใช้ในการสรุปข้อมูลได้สบายๆ
          Information Function เป็นฟังค์ชันในการจัดการรูปแบบและตำแหน่งของเซลล์ เช่น การจัดการข้อมูลที่ผิดพลาด ตัวเลข เป็นต้น
          Compatibility Function เป็นฟังค์ชั่นใหม่ที่มีใน Excel 2010 ขึ้นไป เช่น Statistical functions (reference) และ Math and trigonometry functions (reference)
          Web Function เป็นฟังค์ชั่นที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลจากสื่อออนไลน์ภายนอก (online resources) เข้ามาเก็บใน Excel
          แล้วฟังค์ชั่นอะไรบ้างที่คุณควรรู้เพื่อเป็นพื้นฐานบ้างละ

การระบุข้อมูลและรูปแบบของข้อมูล (Handling Data)
          การที่คุณเรียนรู้วิธีการใส่ข้อมูลและจัดการรูปแบบของข้อมูล ก็เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถทำงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เช่น การคัดลอกข้อมูล (Copy) การวาง (Paste) การค้นหา (Find) คำสั่ง Go To เป็นต้น

การเน้นข้อมูลให้ตรงกับเงื่อนไข (Conditional formatting)
         เป็นคุณลักษณะที่โดดเด่นจากโปรแกรมอื่นๆ เพราะมันช่วยให้คุณสามารถเน้นข้อมูลที่ต้องการเป็นรูปแบบต่างๆ ตามเงื่อนไขที่คุณกำหนดได้ เช่น ทำการเน้น (hilight) รายชื่อลูกค้าที่มียอดสั่งซื้อสูงสุด 10 คนแรก หรือ เน้นรายชื่อพนักงานที่มีประสิทธิภาพการทำงานต่ำ เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถรวมหลายเงื่อนไขด้วย Conditional formatting เพื่อเน้นข้อมูลได้ตรงตามเงื่อนไขมาก

การสร้างรายงานและแผนภูมิแบบง่ายๆ
          เมื่อโปรแกรมถูกสร้างมาเพื่อจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ โปรแกรมก็ควรจะต้องมีคุณลักษณะที่ช่วยให้นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจได้อย่างง่ายเช่นกัน ซึ่งขั้นตอนนี้หลายคนตกม้าตาย เมื่อพบว่าตัวเองต้องใช้เวลาในการสร้าง Graph หรือ Report เสียนาน

ารทำความเข้าใจ Keyboard Shortcuts และ Productivity Tricks
          หัวข้อนี้มักจะถูกหลายคนละเลย แต่คุณลองนึกถึงคนที่เชี่ยวชาญไม่ว่าจะอาชีพอะไร พวกเขาก็จะมีเทคนิกลูกเล่นต่างๆ เพื่อช่วยในการทำงานของพวกเขาทั้งนั้น แล้วถ้าคุณจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในโปรแกรมนี้ ความเข้าใจพื้นฐานแบบนี้ทำไมจะต้องโยนทิ้งไปซะละ

Reference
http://chandoo.org/wp/excel-basics/
http://www.excelfunctions.net/Excel-Logical-Functions.html
http://library.albany.edu/subject/tutorials/education/boolean.html
https://www.ablebits.com/office-addins-blog/2017/01/11/excel-text-function-formula-examples/
https://www.thoughtco.com/description-of-text-string-3124029
https://www.techonthenet.com/excel/formulas/text.php
http://www.excelfunctions.net/Excel-Date-And-Time-Functions.html
https://www.exceltip.com/tips/lookup-and-reference-function.html
https://www.microsoftpressstore.com/articles/article.aspx?p=2224376
http://www.excelfunctions.net/Excel-Information-Functions.html
https://blogs.office.com/en-us/2013/03/21/use-webservice-functions-to-automatically-update-excel-2013-spreadsheets-with-online-data/
Share:

การทำ Gantt Chart ผ่าน Excel แบบง้ายยย.....ง่าย

Gantt chart ใน Excel เป็นการแสดงรายละเอียดของโครงการหรืองานในรูปแบบของกราฟแนวนอน ซึ่งแผนภูมิแบบ Gantt จะแบ่งรายละเอียดของโครงการ โดยแสดงเป็นวันเริ่มต้น และวันสิ้นสุด ด้วยวิธีนี้ จะทำให้คุณๆ สามารถติดตามงานตามเวลา หรือเหตุการณ์ที่เรากำหนดขึ้นได้อย่างง่ายดาย

แต่ด้วยโปรแกรม Excel ไม่ได้สร้างเครื่องมือ Gantt chart ไว้ ดังนั้น คุณๆ ต้องมาหัดสร้างตาราง Gantt chart ไว้ติดตามงานได้ด้วยเองซะแล้ว

วิธีการสร้าง Gantt Chart แบบง้าย....ง่าย
1. สร้างตารางโครงการ เพื่อใช้ในการติดตามงานต่างๆกันก่อน
ก่อนที่จะสร้างกราฟได้เราต้องมีการใส่ข้อมูลให้กับตารางก่อน ดังนั้น ก็ต้องสร้างตารางกิจกรรมของโครงการทั้งหมด โดยระบุวันเริ่มต้น วันสิ้นสุด และระยะเวลาของกิจกรรม ซึ่งสามารถใส่สูตรง่ายๆ ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 : การสร้างตารางโครงการ
2. สร้าง Bar chart มาตราฐานของ Excel ตามวันเริ่มต้น
เลือกช่วงวันเริ่มต้น B1:B11 ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 : เลือกช่วงเซลล์ของวันเริ่มต้น 
ปล. ถ้าคุณเลือก A1:B11 คุณๆ จะได้ชื่อของกิจกรรมเข้ามาในกราฟ ดังรูปที่ 9

จากนั้นให้คลิกที่ Insert >> Charts group and click Bar แล้วเลือก Chart ที่ท่านต้องการได้เลย
รูปที่ 3 : เลือก Chart ที่ต้องการ
รูปที่ 4 : กราฟตัวอย่าง
3. การเพิ่มระยะเวลาใน Chart
หลักจากกราฟของเรามีข้อมูลของวันเริ่มต้นกิจกรรมแล้ว ต่อจากนี้เราต้องเพิ่มข้อมูลส่วนของระยะเวลาเข้าไปในกราฟ โดยเลือก Select Data จาก Ribbon Design หรือ การคลิกขวาที่กราฟ และเลือก Select Data จาก PopUp ที่ขึ้นมา ดังรูปที่ 5
รูปที่ 5 : คลิกขวาที่ใดของกราฟ แล้วเลือก Select Data 
หน้าต่างของ Select Data Source จะแสดงขึ้นมา ให้เลือกช่วงข้อมูล ที่ต้องการจะเพิ่มเข้าไป ดังรูปที่ 6
รูปที่ 6 : Select Data Source สำหรับการเพิ่มข้อมูลจากตารางเข้าไปที่กราฟ
คลิกปุ่ม Add โปรแกรมจะขึ้น Edit Series Diagram ดังรูปที่ 7
รูปที่ 7 : Edit Series Diagram 
โดยช่อง Series name ให้กำหนดชื่อของช่วงที่จะเพิ่ม ส่วน Series Values ให้เลือกช่วงข้อมูลที่ต้องการจะเพิ่ม ซึ่งในตัวอย่างนี้กำหนดเป็น "ระยะเวลา" และ เซลล์ "$D$2:$D$11" (ในตัวอย่าง คือ เลือกเซลล์ D2:D11 ใน Sheet2 ซึ่งเขียน $D$2 เป็นการเขียนแบบ Call Reference อ่านเพิ่มเติม) และคลิก OK

โปรแกรมจะกลับมาที่หน้าต่างของ Select Data Source ให้ดูที่ช่อง Legend Entries (Series) หรือ "คำอธิบายแผนภูมิ" จะพบข้อมูลตัวใหม่ที่เราเลือก ในตัวอย่างนี้จะเพิ่ม ระยะเวลา เข้ามา และคลิกปุ่ม OK ดังรูปที่ 8
รูปที่ 8 : การเพิ่มข้อมูลตัวใหม่เข้ามา
โปรแกรมจะเพิ่มข้อมูล ระยะเวลา ในกราฟเข้ามา ดังรูปที่ 9
รูปที่ 9 : กราฟที่มีข้อมูลระยะเวลาเข้ามา
4. การแปลง Bar Chart เข้าไปใน Gantt Chart
ตอนนี้กราฟของเรายังดูไม่ใกล้ Gantt Chart สักเท่าไร ดังนั้น เราต้องแต่งกราฟนี้สักหน่อย โดยทำให้พื้นที่สีฟ้านั้นหายไป และแสดงแต่สีส้ม เพื่อให้ตรงกับระยะเวลาของกิจกรรมแต่ละกิจกรรม
วิธีการ
4.1. ให้ทำการคลิกที่แถบ Bar สีฟ้าภายใน Gantt Chart ทั้งหมด >> คลิกขวา >> เลือก Format Data Series แล้วหน้าจอ Format Data Series จะแสดงขึ้นมา
กำหนด Fill เป็น No fill และ
กำหนด Border เป็น No Line
หรือ ที่ Fill ให้เลือกเป็น No Fill
ดังรูปที่ 10
รูปที่ 10 : การทำให้ Bar สีฟ้าซ่อนไว้
มาถึงตรงนี้ จะเห็นว่า กิจกรรม ของเรามันเรียงลำดับไม่ถูกต้อง ดังนั้น เราต้องกลับค่าของกิจกรรมเหล่านี้ โดยให้คุณๆ เลือกกิจกรรม >> เลือก Format AIXS  >> เลือก Categories in reverse order ดังรูปที่ 11
รูปที่ 11 : เลือก Categories in reverse order เพื่อจัดการ Format AIXS 

ข้อมูลกิจกรรมในกราฟจะเรียงลำดับใหม่ ดังรูปที่ 12
รูปที่ 12 : ผลการ Categories in reverse order
จากกราฟ ดังรูปที่ 12 จะมีลักษณะที่คล้าย Gantt Chart มากขึ้น

แต่กราฟของเรายังดูยาก เราจะมาปรับรูปแบบของกราฟ ให้มีลักษณะที่ใกล้กับ Gantt Chart ให้มากขึ้น
อ่านต่อ การทำ Gantt Chart ผ่าน Excel แบบง้ายยย.....ง่าย ภาค2
Share:

การทำ Gantt Chart ผ่าน Excel แบบง้ายยย.....ง่าย ตอนที่ 2

จากบทความ "การทำ Gantt Chart ผ่าน Excel แบบง้ายยย.....ง่าย" เราได้กราฟที่เป็น Gantt Chart แต่ก็ยังไม่สวยพอ ดังนั้น เราควรมาตกแต่งกราฟ เพื่อให้มีความเป็น Gantt Chart ได้มากขึ้น

ผลจากที่เราสร้างตารางในตอน "การทำ Gantt Chart ผ่าน Excel แบบง้ายยย.....ง่าย" ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 ผลจากการสร้างตารางติดตามโครงการ (Gantt Chart)
ในบทความตอนนี้ เราจะมาปรับแต่งตารางที่ได้จากบทความที่แล้ว ให้หน้าตาเหมือน Gantt Chart ให้มากยิ่งขึ้น เริ่มต้นจาก
     - วันที่ด้านบน ปรับให้แสดงแบบ Fix ตามข้อมูลในตารางวันเริ่มต้นตอนแรก ซึ่งจะทำให้แถบสีส้ม เข้ามาใกล้กับชื่อกิจกรรม ทางด้านซ้ายของตาราง
     - สร้างเส้น GridLine ของวันที่ เพื่อให้ดูง่ายขึ้น
     - ปรับแถบ Bar ให้เป็น 3D

วิธีการทำ
1. ปรับเปลี่ยนวันที่ด้านบนของกราฟ ให้เป็นแบบ Fix ด้วยการคลิกขวาที่ วันเริ่มต้น ในกราฟ >> เลือก Format Axis... >> โปรแกรมจะแสดงหน้าจอ Format Axis ให้เปลี่ยน โดยการเปลี่ยน Minimum เป็นแบบ Fixed

จากตัวอย่างข้อมูลในตารางโครงการ (ข้อ 1) ในบทความ "การทำ Gantt Chart ผ่าน Excel แบบง้ายยย.....ง่าย" กิจกรรมแรก ของเรามี วันเริ่มต้นเป็น "1/1/2017" ดังนั้น เราจะกำหนดวันเริ่มต้นนี้ลงใน Minimum (ในส่วนนี้คุณๆ สามารถทดลองใส่ค่าต่างๆ ได้โดยไม่ต้องกลัวว่ากราฟจะเสียหาย เพราะ สามารถกดปุ่ม Reset เพื่อให้ค่ากลับมาที่ค่าเดิมของโปรแกรม) ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 : การเปลี่ยนวันเริ่มต้นให้เป็นแบบ Fix
เมื่อเราทำการเปลี่ยนวันที่เป็นแบบ Fix แล้ว กราฟที่ได้จะเลือนวันที่เริ่มต้นกิจกรรมเข้ามา

2. การสร้างเส้น Grid
คุณๆ สามารถเพิ่มเส้น Grid ได้จากการคลิกที่กราฟ จะมี Chart Element (เครื่องหมายบวก) ขึ้นมาให้คุณๆ สามารถเพิ่มทั้ง Title, Legend, Gridlines และ Data Tables ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 เลือก Gridlines 

3. ปรับแถบ Bar ให้เป็น 3D
มาถึงส่วนนี้ กราฟของคุณๆ ดูเหมือน Gantt Chart กันบ้างแล้วหรือยัง ซึ่งคุณๆ สามารถทำให้กราฟของเรามีความสวยงามได้มากขึ้น เช่น การทำแถบ Bar ให้เป็น 3D

วิธีทำ คลิกขวาที่แถบ Bar ที่ต้องการเปลี่ยน >> เลือก Format Data Series >> เลือกส่วนของ Effects >> ไปที่ส่วน 3-D Format เลือกรูปแบบที่คุณๆ ต้องการ ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 : หน้าจอ Format Chart Ares

Share:

PivotTable สามารถช่วยอะไรได้บ้าง

"Pivot หมายถึง หมุน"  ส่วน "Table" ในโลกแห่งความเป็นจริง ใครๆก็จะรู้ว่า คือ โต๊ะ แต่ถ้าคุณๆ กำลังเรียนวิชาเกี่ยวกับ Computer อาจจะมีคนบอกว่า มันจะเรียกว่า "ตาราง" ดังนั้น เมื่อเอามารวมตัวกัน "ตารางที่สามารถให้คุณๆ จัดการหมุนข้อมูล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ตามมุมมองต่างๆ " 

แล้ว....ตารางที่สามารถให้คุณๆ หมุนเนี้ยต้องทำ อย่างไรละ ??? 
จะมีใครสงสัยกันแบบนี้หรือไม่

เรามาดูวิธีการทำข้อมูลให้หมุนได้กันก่อน โดยเราจะต้องทำ ดังนี้
1. คุณๆ ต้องทำข้อมูลให้พร้อมที่จะหมุนก่อน ด้วยการเตรียมข้อมูลให้เหมือน "ฐานข้อมูล" 
2. เมื่อข้อมูลพร้อมให้เราจับหมุนแล้ว ก็มาบอกตารางให้หมุน ก็คือการ "สร้าง" Pivot Table นั้นเอง

เรามาดูว่าแต่ละข้อต้องทำอย่างไรกันดีกว่า
1. การเตรียมข้อมูลให้เหมือน "ฐานข้อมูล"
    1.1. คุณๆ ต้องทำให้ข้อมูลในตารางคุณๆ สะอาดซะก่อน คือ "ต้องไม่มีเซลล์ใดเซลล์หนึ่งเป็นค่าว่าง" และ
    1.2. คุณๆ ต้องทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่ถูกต้อง คือ  Convert ข้อมูล ให้สามารถทำงานได้ง่าย เช่น ข้อมูลวันที่ ควรเป็น Date Format ไม่ควรอยู่ใน Text Format, ชื่อ e-mail ก็ต้องเขียนให้รูปแบบถูกต้อง เป็นต้น

เมื่อคุณๆ แต่งตัวให้กับตารางที่มีให้เหมือนกับ ฐานข้อมูล ทั่วๆไปแล้ว คุณๆ ก็สามารถไปทำการสร้าง Pivot Table ได้แล้ว

2. การสร้าง Pivot Table
     2.1. คลิกที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของตาราง และเลือก Insert > PivotTable > Create PivotTable popup เล็กๆ ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 Create PivotTable Popup
     2.2. โปรแกรม Excel จะเพิ่มพื้นที่ในการจัดการ Fields ภายในตาราง เรียกว่า PivotTable Fields เพื่อให้คุณๆ สามารถเลือกชื่อ Fields ที่ต้องการมองไปวางในตำแหน่งต่างๆ ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 PivotTable Fields popup
จากรูปที่2 จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
          2.2.1. Report Filter ทำหน้าที่ คัดกรองข้อมูล ให้แสดงเฉพาะข้อมูลเดียวกับที่คุณๆ ทำการ Filter 
          2.2.2. Column Label ทำหน้าที่ จัดกลุ่มแบบคอลัมน์ โดยมันจะแสดง item ทั้งหมดที่ไม่ซ้ำกันใน Field ที่เลือกมา
          2.2.3. Row Label ทำหน้าที่ จัดกลุ่มแบบแถว โดยมันจะแสดง item ทั้งหมดที่ไม่ซ้ำกันใน Field ที่เลือก
          2.2.4. Values ทำหน้าที่ คำนวณสรุปผล ทำได้หลายรูปแบบ เช่น SUM, Count, Average, Max, Min โดยอาจแสดงได้หลายรูปแบบ เช่น รูปแบบปกติ, %ของทั้งหมด, %ของแถว,%ของคอลัมน์, การรวมแบบสะสมค่า เป็นต้น

มาถึงตรงนี้เราจะได้ตาราง Pivot Table เรียบร้อย ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 ตัวอย่างตารางข้อมูลที่เปลี่ยนเป็น Pivot Table
จากรูปที่ 3 ตารางทางซ้ายเป็นข้อมูลที่ทำให้คล้ายกับฐานข้อมูล และ ตารางทางขวาคือตารางที่ทำให้เป็น Pivot Table เรียบร้อย 









Share:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Dashboards คืออะไร มีกี่ประเภท

Dashboards คืออะไร และสามารถช่วยเราในการทำงานอย่างไร Dashboards คือ การนำข้อมูลมาสร้างรายงานที่เป็นภาพรวมทางธุรกิจ ให้ผู้บริหารสามารถ...

Recent Posts

Keywords

เอ็กเซล Data-Management Functions การจัดการข้อมูลในเอ็กเซล Blogger Basic-Excel Create-Blogger การจัดการข้อมูล Excel Conditional Formatting excel Data-Analysis Drop down list Excel สูตร Computer knowledge Feed RSS Atom คือ อะไร Index Match function excel SEO Search Console Search engine chart excel คือ excel data validate paste option Excel vlookup approximate Match exact Match vlookup function excel การใช้ concatenate ใน excel สร้าง drop down list สร้าง กราฟ เอ็กเซล Advance Filter Auto Filter by Color Auto Filter by Text Content Syndication DATEDIF() Datedif Function Excel SUM Function Excel SUMIF Function Excel SUMIFS Function Formula Values Transpose Formatting Function excel Gantt Chart excel Gantt Chart excel ทำยังไง HLOOKUP Icon Set Index Match function คือ Knowledge Line Chart Scatter Chart LogicFunction Match function excel Name Manager Paste Special Pie Doughnut chart excel Robots Header Tag Sumproduct function การใช้ สูตร เอ็กเซล Template Text Function Excel Trim Clear Function Excel Values column chart excel condition countif excel count if excel 2010 countifs data validation excel countifs เงื่อนไข ตัวอักษร มากกว่า น้อยกว่า excel index match formula excel match function reference cell excel sort and filter excel เบืื้องต้น excel เบื้องต้น flash fill excel คือ flash fill คือ อะไร function คือ highlight in dropdownlist index excel match vlookup index match ใช้ยังไง lookup excel กราฟ แผนภูมิ Excel การ เรียง ข้อมูล excel การ เรียง ลําดับ ข้อมูล excel การกรองข้อมูล Excel การตัดข้อความ เอ็กเซล การทํา chart excel การทําcontrol chart excel การสร้าง ตาราง กราฟ excel การสร้าง chart excel การสร้างฟีต การหาผลรวมในเอ็กเซล การเผยแพร่เนื้ือหา การเพิ่ม Subscription ให้ Blogger การแยก ข้อความ การใช้ if การใช้ index match excel การใช้งาน Subtotal outline excel การใช้ฟังก์ชั่น concatenate การใช้แผนภูมิ chart excel ค้นหาข้อมูล เอ็กเซล ค้นหาเลขคอลัมน์ ค้นหาเลขแถว เอ็กเซล ตัดช่องวางในเอ็กเซล ผูกเว็บกับ Google Analytics ฟังก์ชั่น Text การใช้ วิธีการตัดข้อความใน Excel วิธีทำ แผนภูมิ วงกลม Excel สูตร COUNTIF สูตรexcel concatenate สูตรการหาผลรวมใน Excel หาผลต่างระหว่างเดือน เพิ่มรายการใน Data Validation แผนภูมิ คอลัมน์ excel แผนภูมิคอลัมน์ เรียงซ้อน ใส่สีให้ dropdownlist