TRIM Function ปะทะ Clear Function


ในบทความนี้ จะรวบรวมฟังก์ชั่นที่ใช้ในการลบช่องว่างในโปรแกรม Excel เช่น TRIM CLEAN 

TRIM Function
นี้เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบช่องว่างเฉพาะตำแหน่งหัวและท้ายของคำ (TEXT) แต่ไม่ลบช่องว่างระหว่างคำ นอกจาก ช่องว่างระหว่าคำมีมากกว่า 1 ช่อง คำสั่งนี้จะปรับให้เหลือเพียง 1 เท่านั้น

ไวยากรณ์  =TRIM(text)

ตัวอย่าง ใช้คำสั่ง TRIM Function ในการลบช่องว่างในข้อความ ดังนี้

ประโยคในเซลล์ A1 เป็น text ซึ่งในประโยคที่เป็น text นี้จะมีช่องว่างตามที่ทำสีเหลือง
A1=         TRIM Function to remove leading    & trailing spaces from text and     to remove spaces only single spaces between words.        "

เมื่อระบุ TRIM Function ด้วยการเขียน TRIM(A1) ดังรูปที่ 1 
Trim Function
รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างการใช้ Trim Function 

จาก TRIM Function ทำการตัดช่องว่างหน้าประโยค และลบช่องว่างระหว่างคำทั้ง 3 ตำแหน่ง 


เงื่อนไขการทำงาน TRIM
  • ตัดช่องว่างต้น-ท้ายประโยค
  • ตัดช่องว่างระหว่างคำให้เลือก 1 ช่อง
ผลลัพธ์ใน A2 คือ TRIM Function to remove leading & trailing spaces  from text and to remove spaces only single spaces between words. "

👇👇👇👇👇

Clear Function
คำสั่งนี้เป็นการที่ Clear บรรทัด (line breaks) และอักษรที่ไม่สามารถพิมพ์ได้ (non-printable charactersออกไป 
ไวยากรณ์ =Clear(text)
ตัวอย่าง การใช้คำสั่ง Clear ในการนำบรรทัดและอักษรที่ไม่สามารถพิมพ์ได้ ออก โดยโจทย์ให้ Clear ข้อความในเซลล์ A1 ซึ่งมีข้อความดังนี้
A1="CLEAN function takes a text string and 
returns text that has been "cleaned" of 

line breaks 

and"&CHAR(5)&" other"&CHAR(7)&"  non-printable characters."&CHAR(17) ดังรูปที่ 2
Clear Function in Excel
รูปที่ 2 แสดงข้อความที่ต้องการจะใช้คำสั่ง Clear

จากรูปที่ 2 จะเห็นว่า ประโยคในเซลล์ A1 มีการขึ้นบรรทัดใหม่ที่ return, line, and นอกจากนี้ ยังมีอักษรที่ไม่สามารถพิมพ์ได้ CHAR(5), CHAR(7), CHAR(17) เมื่อใช้คำสั่ง Clear Function จะได้ผลลัพธ์ ดังรูปที่ 3
Clear Function in Excel
รูปที่ 3 แสดงผลลัพธ์การใช้คำสั่ง Clear Function

Share:

คุณลักษณะของการใช้ Paste ใน Excel

ใน Excel มีฟังก์ชั่นในการวางข้อมูล เป็นสิ่งที่คุณๆ หลายคนคุ้นเคย แต่จะมีสักกี่คน ที่จะเข้าใจคุณสมบัติของ Paste อย่างถูกต้องครบถ้วนบ้าง

ในบทความนี้ จะนำเสนอคุณลักษณะ (Featuresของ Paste โดยช่องทางอย่าง Home Tab หรือ คลิกขวาที่เซลล์ที่ต้องการจะวางข้อความ ซึ่งจะมีคุณลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้ 

วิธีแรก เปิด Home Tab >> คลิกปุ่มสามเหลี่ยมที่ Paste >> จะแสดงแถบเมนู ดังรูปที่ 1  
Paste
รูปที่ 1 แสดงแถบเมนู Paste
จากรูปที่ 1 จะแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 
  1. ส่วน Paste
  2. ส่วน Values
  3. ส่วน Other Paste Options
  4. ส่วน Paste Special...

อธิบายปุ่มที่อยู่ในส่วน Paste 


Paste (P) : ผลลัพธ์การวางเนื้อหาเซลล์ที่คัดลอกจะได้ ทั้งเนื้อหา (Content) และรูปแบบ (Format)



Formulas (F) : ผลลัพธ์การวางเนื้อหาที่คัดลอกจะได้เฉพาะสูตร โดยไม่รูปแบบ (Format) ของเนื้อหามาแสดง


Formulas & Number Formatting (O) : ผลลัพธ์การวางเนื้อหาที่คัดลอกมาได้ทั้งสูตรและรูปแบบของเนื้อหามาแสดง



Keep source formatting (K) : ผลลัพธฺการวางเนื้อหาที่คัดลอกมา พร้อมทั้งรูปแบบของเซลล์เดิมมาด้วย โดยเครื่องมือนี้ ต้องระวังกรณีข้อมูลของเซลล์เดิม มีการใช้การอ้างอิงเซลล์ (Call Reference) แล้วเซลลปลายทางที่จะวาง ไม่ได้มีโครงสร้างของ Sheet เหมือนกัน เช่น 
Keep source formatting
รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างข้อมูลที่จะวางด้วย Keep source formatting
จากรูปที่ 2 นี้ เซลล์ A3 ถึง A5 เป็นเซลล์อ้างอิง ถ้าคุณ ๆ ทำการคัดลอกแล้ว ไปวางที่เซลล์ F ดังรูปที่ 3
Keep source formatting
รูปที่ 3 แสดงผลการวางโดนโครงสร้าง Sheet ไม่ตรงกัน
จากรูปที่ 3 ผลลัพธ์การวางในคอลัมน์ F (F3, F4) จะมองหาเนื้อหาจากเซลล์ถัดไป ให้เหมือนกับเซลล์อ้างอิงของเซลล์ต้นทาง (A3, A4) 


No Border (B) : ผลลัพธ์การวางเนื้อหาที่คัดลอกมา โดยไม่นำเส้นตารางของเซลล์เดิมมาด้วย


Keep source column width (W) : ผลลัพธ์การวางเนื้อหาที่คัดลอกมา พร้อมความกว้างของเซลล์เดิมมาด้วย


Transpose (T) : ผลลันธ์การวางเนื้อหาที่ค้ดลอกมา โดยหมุนเนื้อหาให้ตรงข้ามกับช่วงของเซลล์เดิม 



อธิบายปุ่มที่อยู่ในส่วน Values


Values (V) : ผลการวางจะวางเฉพาะผลการคำนวณแล้ว



Values & Number Formatting (A) : ผลการวางจะวางทั้งสูตรและรูปแบบ ของเซลล์เดิม



Values & Source Formatting (E) : ผลการวางจะวางทั้ง ผลการคำนวณและรูปแบบ ของเซลล์เดิม



อธิบายปุ่มที่อยู่ในส่วน Other Paste Options

Formatting (F) : ผลการวางจะวาง เฉพาะรูปแบบของเซลล์เดิม



Paste Link (N) : ผลการวางจะวาง เซลล์อ้างอิง (Call Reference) ของเซลล์เดิม




Picture (U) : ผลการวางจะวางเป็นรูปภาพ




Linked Picture (I) : ผลการวางจะวาง URL ของภาพ



อธิบายส่วนของ Paste Special...  
เมื่อคุณ ๆ คลิกที่ปุ่ม Paste Special... ตามรูปที่ 1 หรือ Shortcut : Ctrl+Alt+V คุณ ๆ จะพบ pop up ดังรูปที่ 4
Paste
รูปที่ 4 แสดงแถบเมนู Paste Special...
รูปที่ 4 ในส่วน Paste จะเหมือนกับคำอธิบายด้านบน ส่วน Operation จะทำให้คุณ ๆ นำเนื้อหาที่คัดลอกมาทำการวางลงไปที่เซลล์ใหม่ โดยไม่ดำเนินการใด (None) บวก (Add) ลบ (Subtract) คูณ (Multiply) และ หาร (Divide) นอกจากนี้ ยังสามารถยกเว้นช่องวาง (Skip blanks) อีกด้วย

ส่วนวิธีการ "คลิกขวาที่เซลล์ที่ต้องการจะวางข้อความ" สามารถอ่านได้ที่บทความ ุ"6 ปุ่มที่ให้ผล Paste option ใน Excel ที่แตกต่างกันไป"
Share:

ุ6 ปุ่มที่ให้ผล Paste option ใน Excel ที่แตกต่างกันไป

ในการใช้คุณสมบัติการวาง (Paste) ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบมาอยู่ตลอดเวลา เช่น Excel 2003 วาง Paste special บนเมนู Edit ส่วน Excel 2007 และ Excel 2010 ย้ายไปไว้ที่ Clipboard group ใน Home Tab ส่วน Excel  2013 ขึ้นมา คุณ ๆ สามารถใช้ Paste option จาก Home tab หรือการคลิกเมาส์ขวา นั้นเอง



บทความนี้ จะอธิบายการใช้ Paste option ในแบบต่างๆ (เฉพาะ 6 ปุ่มแรก) ด้วยวิธีการคลิกขวาที่เซลล์ที่ คุณ ๆ ต้องการวาง

Paste Option
รูปที่ 1 Paste Option
จากรูปที่ 1 จะมีตัวเลือกของปุ่ม Paste 6 แบบ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ปุ่มที่ 1 คือ Paste (P) สามารถทำการวางทั้งข้อความ (Text) รูปแบบ (Format) และสูตร (Formula)
ตัวอย่าง
รูปที่ 2 แสดงผลการคัดลอง Paste (P) Option
จากรูปที่ 2 ประกอบด้วย 2 ตารางย่อย คือ ตารางบน แสดงให้เห็นว่าเซลล์ B2 มีการเขียนสูตรและจัดรูปแบบ (Format) ให้กับข้อความ แต่ในตารางล่าง แสดงผลการคัดลอกข้อความในเซลล์ B2 มาว่างในเซลล์ C2 จะพบว่า Paste (P) Option จะคัดลอกมาทั้งข้อความ รูปแบบ และสูตร 

ปุ่มที่ 2 คือ Values (V) สามารถวางได้เฉพาะข้อความอย่างเดียว ไม่ว่าข้อความต้นทางที่คัดลอก (Copy) มาจะมีการจัดรูปแบบต่างๆ ก็จะคัดลอก (Clear) หมด
ตัวอย่าง
Values (V) Option
รูปที่ 3 แสดงผลการคัดลอง Values (V) Option
จากรูปที่ 3 ประกอบด้วย 2 ตารางย่อย คือ ตารางบน แสดงให้เห็นว่าเซลล์ B2 มีการดำเนินการทั้งการเขียนสูตร =TODAY() และจัดรูปแบบ (Format) ให้เป็นตัวหนาและพื้นหลังเป็นสีส้ม เมื่อคุณ ๆ ทำการคัดลอก (Copy) ข้อมูลในเซลล์ B2 ไปวางในเซลล์ C2 ด้วย Values Option ผลลัพธ์จะได้ตามตารางล่าง ที่แสดงผลการคัดลอกด้วย Values (V) Option เพียงข้อความ (วันที่) ตามสูตรที่เขียนไว้ใน B2 เท่านั้น ดังนั้น ข้อมูลใน C2 จึงแสดงเพียงข้อมูลวันที่นั้นเอง

ปุ่มที่ 3 คือ Formula (F) สามารถวางสูตรที่คัดลอก (Copy) ได้เพียงอย่างเดียว 
ตัวอย่าง
รูปที่ 4 แสดงผลการวาง โดยใช้ Formula Option
จากรูปที่ 4 ประกอบด้วย 2 ตารางย่อย คือ ตารางบน แสดงให้เห็นว่าเซลล์ B4 มีการดำเนินการทั้ง การเขียนสูตร =SUM(C2:C3) และ จัดรูปแบบ (Format) ให้พื้นหลังเป็นสีฟ้า เมื่อคุณ ๆ ทำคัดลอก (Copy) ข้อมูลในเซลล์ B4 ไปวางในเซลล์ C4 ด้วย Formula Option ผลลัพธ์จะเป็นดังตารางด้านล่าง คือ Formula Option จะคัดลอกเพียงสูตร =SUM(C2:C3) มาเท่านั้น ดังนั้น ผลการคำนวณ (7) จึงเปลี่ยนไปตามเซลล์ใหม่นั้นเอง 

ปุ่มที่ คือ Transpose (T) สามารถหมุนข้อความที่คัดลอกมา 
ตัวอย่าง
รูปที่ 5 แสดงผลการวาง โดยใช้ Transpose option
จากรูปที่ 5 ประกอบด้วย 2 ตารางย่อย คือ ตารางบน แสดงให้เห็นว่าเซลล์ B2 ถึง B3 มีการดำเนินการทั้ง ข้อความที่จัดรูปแบบ (Format) และ B4 เขียนสูตร =SUM(ฺB2:B3) กับจัดรูปแบบ (Format) 

เมื่อคุณ ๆ ทำคัดลอก (Copy) ข้อมูลในเซลล์ B2 ถึง B4 ไปวางในเซลล์ B7 ด้วย Transpose option ผลลัพธ์จะเป็นดังตารางด้านล่าง คือ Transpose option จะคัดลอกทั้งข้อความ รูปแบบและสูตร โดยหมุนให้ตรงข้ามกัน 

ปล. ถ้าทำการคัดลอก B7 ถึง D7 ไปวางแบบ Transpose option ผลลัพธ์จะได้แบบตารางบน

ปุ่มที่ คือ Formatting (R) สามารถวางได้เฉพาะรูปแบบ (Format) อย่างเดียว โดยไม่มีข้อความที่คัดลอก (Copy) มาด้วย
ตัวอย่าง
รูปที่ 6 แสดงผลการวาง โดยใช้ Formatting (R) Option
จากรูปที่ 6 ประกอบด้วย 2 ตารางย่อย คือ ตารางบน แสดงให้เห็นว่าเซลล์ B2 มีการดำเนินการทั้ง การเขียนข้อความ และ จัดรูปแบบ (Format) ให้พื้นหลังเป็นสีชมพูกับข้อความเป็นตัวเอียง 

เมื่อคุณ ๆ ทำคัดลอก (Copy) ข้อมูลในเซลล์ B2 ไปวาง (Paste) ในเซลล์ C2 ด้วย Formatting Option ผลลัพธ์จะเป็นดังตารางด้านล่าง คือ Formula Option จะคัดลอกเพียงรูปแบบ (Format) เท่านั้น 

ปุ่มที่ คือ Paste Link (N) สามารถวางเซลล์อ้างอิง ของข้อความต้นทาง เมื่อมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความต้นทาง ข้อความปลายทางจะเปลี่ยนตามไปด้วย
ตัวอย่าง
รูปแบบที่ 7 แสดงผลการวาง โดยใช้ Paste Link option
จากรูปที่ 7 ประกอบด้วย 2 ตารางย่อย คือ ตารางบน แสดงให้เห็นว่าเซลล์ B2 มีการดำเนินการทั้ง สูตร =10+28-5*3 และ จัดรูปแบบ (Format) ให้พื้นหลังเป็นสีส้ม ข้อความเป็นตัวเอียง ขีดเส้นใต้และตัวหนังสือสีฟ้า

เมื่อคุณ ๆ ทำคัดลอก (Copy) ข้อมูลในเซลล์ B2 ไปวาง (Paste) ในเซลล์ C2 ด้วย Paste Link Option ผลลัพธ์จะเป็นดังตารางด้านล่าง คือ Paste Link Option จะวางเซลล์อ้างอิงเซลล์ต้นทาง =$B$2

นี่เป็นเพียง 6 วิธีในการจัดการข้อมูลที่ต้องการวางได้ เพื่อคุณๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
Share:

ฟังก์ชั่นในการจัดการข้อความ (Text Function) ในโปรแกรม Excel


ในโปรแกรม Excel จะมีฟังก์ชั่น Text หลายตัวเพื่อให้คุณสามารถนำไปประยุกต์จัดการข้อความได้ตามสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งในบทความนี้ ขอนำเสนอการใช้ LEN LEFT MID RIGHT TRIM FIND SEARCH ดังนี้

ฟังก์ชั่นในการนับตัวอักษรทั้งหมดในข้อความที่สนใจ (ในที่นี้ text)
ไวยากรณ์ =LEN(text)

ตัวอย่างที่ 1 ต้องการนับตัวอักษรในข้อความ สามารถเขียนได้ ดังนี้

=LEN("แสดงการนำตัวอักษรจากประโยคนี้")
ผลลัพธ์ คือ 29 ตัวอักษร


A1 = LEN Function returns the number of characters in a text string.
=LEN(A1)
ผลลัพธ์ คือ 63 ตัวอักษร


😁😁😁

ฟังก์ชั่นในการดึงตัวอักษรในข้อความ (text) โดยนับจากทางซ้ายของ Text ไปกี่ตัวอักษร (num_char) 
ไวยากรณ์ =LEFT(text, [num_chars])
หลักการ
  • Text (จำเป็น) คือ ข้อความที่ต้องการจะดึงมาแสดง
  • num_chars (ไม่จำเป็น) คือ จำนวนอักษรต้องการให้แสดง โดยเริ่มนับจากทางซ้ายของข้อความ
ตัวอย่างที่ 2 ต้องการดึงตัวอักษรจากทางซ้ายของข้อความ ดังนี้
A1 = LEFT function extracts a given number of characters from the left side of a supplied text string.
=LEFT(A1,14)
ผลลัพธ์ คือ LEFT function

😁😁😁

ฟังก์ชั่นในการดึงตัวอักษรในข้อความ (text) ซึ่งสามารถเริ่มดึงข้อความได้ตรงไหนของข้อความก็ได้ โดยระบุตำแหน่งที่ต้องการเริ่มให้ดึง (start_num) และ ต้องการดึงไปกี่ตัว (num_chars)
ไวยากรณ์ =MID(text,start_num,num_chars)
หลักการ
  • Text (จำเป็น) คือ ข้อความที่ต้องการจะตัด
  • start_num คือ จำนวนอักษรแรกที่ต้องการให้ตัด
  • num_char คือ จำนวนอักษรสุดท้ายที่ต้องการให้ตัด
ตัวอย่างที่ 3 ต้องการดึงตัวอักษรในข้อความจากตรงกลางไป 10 ตัวอักษร ดังนี้
A1 = MID function extracts a given number of characters from the middle of a supplied text string.
=MID (A1,42,10)
ผลลัพธ์ คือ characters


😁😁😁

ฟังก์ชั่นในการดึงตัวอักษรในข้อความ (text) โดยเริ่มต้นนับจากทางขวาของ Text ไปกี่ตัวอักษร (num_char)
ไวยากรณ์ =RIGHT(text, [num_chars])
ตัวอย่างที่ 4 ต้องการดึงตัวอักษรจากทางขวาของข้อความ ดังนี้
A1 = RIGHT function extracts a given number of characters from the right side of a supplied text string.
=RIGHT(A1,12)
ผลลัพธ์ คือ text string.


😁😁😁

ฟังก์ชั่นในการตัดช่องว่าง ที่อยู่ข้างหน้า และ ข้างหลังของข้อความที่กำหนดไว้ 
ไวยากรณ์ =TRIM(text)
ตัวอย่างที 5 ต้องการตัดช่องว่าง ดังนี้

=TRIM(" TRIM function ")
ผลลัพธ์ คือ TRIM function


😁😁😁

ฟังก์ชั่นในการค้นหาคำที่ต้องการ ว่าอยู่ในตำแหน่งอะไรของข้อความนั้น 
ไวยากรณ์   =FIND(find_text, within_text, [start_num])
หลักการ
  • find_text คือ คำที่คุณต้องการหา
  • within_text คือ คำนั้นต้องการหาจากที่ไหน
  • [start_num] (ไม่จำเป็น) คือ ตำแหน่งที่คุณต้องการเริ่มต้นหา
ตัวอย่างที 6 ต้องการค้นกาคำ ดังนี้
A1 = FIND function returns the position (as a number) of one text string inside another. 

=FIND("number",A1)
ผลลัพธ์ คือ 42

=FIND("returns","FIND function returns the position (as a number) of one text string inside another. ")
ผลลัพธ์ คือ 15

=FIND("FUNCTION",A1)
ผลลัพธ์ คือ #VALUE!


สังเกตของ Find Function

  • ฟังก์ชั่นนี้จะคืนค่าตำแหน่งตัวแรก ของคำที่คุณค้นหา (find_text)
  • ฟังก์ชั่นนี้จะคืนค่าตำแหน่งของคำที่คุณค้นหา (within_text)
  • ฟังก์ชั่นนี้จะแสดง #VALUE! เมื่อค้นหาคำ find_text ไม่พบใน within_text
  • ฟังก์ชั่นนี้จะสนใจตัวอักษรเล็ก-ใหญ่ ถ้าเป็นคำเดียวกันแต่ต่างกันที่ตัวอักษรเล็ก-ใหญ่ เมื่อไม่พบโปรแกรมจะแสดง #VALUE! 
แต่ถ้าไม่ต้องการให้โปรแกรม serious กับตัวอักษรเล็ก-ใหญ่ ต้องใช้ฟังก์ชั่นการค้นหาด้วย Search() 

😁😁😁

ฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับค้นหาคำที่ต้องการ ว่าอยู่ตำแหน่งที่เท่าไหร่ของข้อความที่ต้องการค้นหา โดยใช้การหาแบบ Wildcard 

ไวยากรณ์ =SEARCH(find_text, within_text, [start_num])

ตัวอย่างที่ 7 

A1 = SEARCH function returns the location of one text string inside another. SEARCH returns the position of the first character of find_text inside within_text. Unlike FIND, SEARCH allows wildcards, and is not case-sensitive.

=SEARCH("RETURNS",A1)
ผลลัพธ์ คือ 17

😁😁😁


Share:

ฟังก์ชั่นในการจัดการ Text ในโปรแกรมเอ็กเซล


ในการใช้โปรแกรม Excel ทำงาน เรามักจะเกี่ยวข้องกับตัวเลขเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องจัดการรูปแบบตัวอักษรเช่นกัน ดังนั้น ในบทความนี้ ได้เสนอกฎเกณฑ์ เงื่อนไขของการใช้ฟังก์ชั่น TEXT และ แสดงตัวอย่างการใช้ในแบบต่าง ๆ  

😉😉😉😉😉

TEXT Function 

เป็นฟังก์ชั่นในเอ็กเซลที่ทำการแปลง (Convert) ตัวเลขให้เป็นข้อความ ตามรูปแบบที่คุณ ๆ เป็นผู้กำหนดด้วยตนเอง

ไวยากรณ์ของ Text Function

=TEXT(Value, format_text)
หลักเกณฑ์

  • Value เป็นการระบุตัวเลขที่ต้องการแปลงเป็นข้อความ ซึ่งคุณ ๆ จะใส่ได้ทั้งที่เป็นตัวเลข (Number), วันที่ (Date), การอ้างอิงเซลล์ที่คืนค่ามาเป็นตัวเลข และ ฟังก์ชั่นอื่นที่คืนค่ามาเป็นตัวเลขหรือวันที่
  • Format_text เป็นการระบุรูปแบบที่คุณต้องการจะแสดง ซึ่งควรจะอยู่ในเครื่องหมายคำพูด (quotation marks) เช่น "DD/MMMM/YYYY" เป็นต้น

โดยทั่วไปฟังก์ชั่น TEXT มักถูกนำไปใช้กับเรื่องต่างๆ เช่น การแสดงตัวเลขเป็นข้อความให้สามารถอ่านได้ง่าย แสดงวันที่ในรูปแบบที่ต้องการ หรือ การรวมตัวเลข วันที่ กับข้อความที่คุณต้องการ เป็นต้น ดังนั้น คุณจะไม่สามารถนำฟังก์ชั่น TEXT มาใช้ในการคำนวณอย่างอื่นได้

คำถาม คือ แล้ว Format_text มีเงื่อนไขในการกำหนดรูปแบบหรือไม 😱😱😱😱 

โปรแกรม Excel จะมีเงื่อนไขในการกำหนดรูปแบบข้อความที่ต้องการให้แสดง ซึ่งในบทความนี้เราจะนำเสนอเฉพาะที่เป็นรูปแบบที่พบเห็นได้บ่อย ดังนี้ 



ส่วนของวันที่ (Date) และเวลา (Time) มีเงื่อนไขในการกำหนดรูปแบบ ดังนี้

รูปแบบคำอธิบายตัวอย่างการใช้รูปแบบ
dแสดงวันd - แสดงตัวเลข 1 - 2 หลัก โดยไม่มีศูนย์นำหน้า เช่น 1 ถึง 31
dd - แสดงตัวเลข 1-2 หลัก โดยมีศูนย์นำหน้า เช่น 01 ถึง 31
ddd - แสดงตัวอักษรย่อ เช่น จ. ถึง อา. หรือ Mon ถึง Sun
dddd - แสดงชื่อเต็ม เช่น จันทร์ ถึง อาทิตย์ หรือ Monday ถึง Sunday
mแสดงเดือน m - แสดงตัวเลข 1 - 2 หลัก โดยไม่มีศูนย์นำหน้า เช่น 1 ถึง 12
mm - แสดงตัวเลข 1-2 หลัก โดยมีศูนย์นำหน้า เช่น 01 ถึง 12
mmm - แสดงตัวอักษรย่อ 3 ตัวอักษร เช่น ม.ค ถึง ธ.ค. หรือ Jan ถึง Dec 
mmmm - แสดงชื่อเต็ม เช่น มกราคม ถึง ธันวาคม หรือ January ถึง December
yแสดงปีyy - แสดงตัวเลข 2 หลัก เช่น  60 หมายถึง 2560 หรือ 16 หมายถึง 2016 
yyyy - แสดงตัวเลข 4 หลัก เช่น  2560, 2016
hแสดงชั่วโมงh - แสดงตัวเลข 1-2 หลัก โดยมีศูนย์นำหน้า เช่น 1 ถึง 24
hh - แสดงตัวเลข 2 หลัก โดยมีศูนย์นำหน้า เช่น 01 ถึง 24
mแสดงนาทีm - แสดงตัวเลข 1-2 หลัก โดยมีศูนย์นำหน้า เช่น ถึง 60
mm - แสดงตัวเลข 2 หลัก โดยมีศูนย์นำหน้า เช่น 01 ถึง 60)
sแสดงวินาทีs - แสดงตัวเลข 1-2 หลัก โดยมีศูนย์นำหน้า เช่น 1 ถึง 60
ss - แสดงตัวเลข 2 หลัก โดยมีศูนย์นำหน้า เช่น 01 ถึง 60
AM/PMแสดงเวลาเป็น 12 ชั่วโมง, ลงท้าย "AM" หรือ "PM"
นอกจากนี้ คุณสามารถใส่เครื่องหมายพิเศษ ลงไปในรูปแบบที่ต้องการได้ด้วย ดังนี้ 
สัญลักษณ์ความหมาย
+ and -เครื่องหมายบวกและลบ
( )เครื่องหมายวงเล็บ
:เครื่องหมายทวิภาค (Colon)
^เครื่องหมายหมวก (Caret)
'เครื่องหมายลูกน้ำ (Apostrophe)
{ }เครื่องหมายปีกกา (Curly brackets)
< >เครื่องหมายมากกว่าและน้อยกว่า (Less-than and greater than signs)
=เครื่องหมายเท่ากับ (Equal sign)
/เครื่องหมายทับ (Forward slash)
!เครื่องหมายอัศเจรีย์ (Exclamation point)
&เครื่องหมายแอนด์ (Ampersand)
~เครื่องหมายตัวหนอน (Tilde)
ช่องว่าง (Space character)
ตัวอย่างที่ 1 การเขียน Text Function ต่าง ๆ เช่น ตัวเลข วันที่
Text Function in Excel
รูปที่ 1 แสดงตัวอย่างการเขียน Text Function
จากรูปที่ 1 จะมีตัวอย่างการเขียนแปลงตัวเลข วันที่ให้เป็นข้อความที่สามารถเข้าใจได้ง่าย 

😁😁😁😁😁

ตัวอย่างที่ 2 การเขียน Text Function มารวมกับข้อความ ซึ่งสามารถทำได้ 2 แบบ ดังนี้ 

แบบที่ 2.1: เป็นการเขียน Text Function มารวมกับข้อความธรรมดา จะใช้ & ในการผสานข้อความกับฟังก์ชั่นนั้นเอง


="วัน" &TEXT(14/10/2016,"dddd"
ผลลัพธ์ คือ วันเสาร์

แบบที่ 2.2: เป็นการนำ CONCATENATE Function มารวมกับ Text Function (ตัวที่พื้นเป็นสีเทา)


=CONCATENATE("วัน",TEXT(14/10/2016,"dddd"))
ผลลัพธ์ คือ วันเสาร์ เหมือนกันกับแบบที่ 2.1

ปล. ใครไม่รู้เรื่อง CONCATENATE สามารถไปทบทวนในบทความ การผสานหรือรวมข้อความด้วยฟังก์ชั่น CONCATENATE ของโปรแกรม Excel

👀 👀 👀 👀 👀
Share:

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Popular Posts

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Dashboards คืออะไร มีกี่ประเภท

Dashboards คืออะไร และสามารถช่วยเราในการทำงานอย่างไร Dashboards คือ การนำข้อมูลมาสร้างรายงานที่เป็นภาพรวมทางธุรกิจ ให้ผู้บริหารสามารถ...

Recent Posts

Keywords

เอ็กเซล Data-Management Functions การจัดการข้อมูลในเอ็กเซล Blogger Basic-Excel Create-Blogger การจัดการข้อมูล Excel Conditional Formatting excel Data-Analysis Drop down list Excel สูตร Computer knowledge Feed RSS Atom คือ อะไร Index Match function excel SEO Search Console Search engine chart excel คือ excel data validate paste option Excel vlookup approximate Match exact Match vlookup function excel การใช้ concatenate ใน excel สร้าง drop down list สร้าง กราฟ เอ็กเซล Advance Filter Auto Filter by Color Auto Filter by Text Content Syndication DATEDIF() Datedif Function Excel SUM Function Excel SUMIF Function Excel SUMIFS Function Formula Values Transpose Formatting Function excel Gantt Chart excel Gantt Chart excel ทำยังไง HLOOKUP Icon Set Index Match function คือ Knowledge Line Chart Scatter Chart LogicFunction Match function excel Name Manager Paste Special Pie Doughnut chart excel Robots Header Tag Sumproduct function การใช้ สูตร เอ็กเซล Template Text Function Excel Trim Clear Function Excel Values column chart excel condition countif excel count if excel 2010 countifs data validation excel countifs เงื่อนไข ตัวอักษร มากกว่า น้อยกว่า excel index match formula excel match function reference cell excel sort and filter excel เบืื้องต้น excel เบื้องต้น flash fill excel คือ flash fill คือ อะไร function คือ highlight in dropdownlist index excel match vlookup index match ใช้ยังไง lookup excel กราฟ แผนภูมิ Excel การ เรียง ข้อมูล excel การ เรียง ลําดับ ข้อมูล excel การกรองข้อมูล Excel การตัดข้อความ เอ็กเซล การทํา chart excel การทําcontrol chart excel การสร้าง ตาราง กราฟ excel การสร้าง chart excel การสร้างฟีต การหาผลรวมในเอ็กเซล การเผยแพร่เนื้ือหา การเพิ่ม Subscription ให้ Blogger การแยก ข้อความ การใช้ if การใช้ index match excel การใช้งาน Subtotal outline excel การใช้ฟังก์ชั่น concatenate การใช้แผนภูมิ chart excel ค้นหาข้อมูล เอ็กเซล ค้นหาเลขคอลัมน์ ค้นหาเลขแถว เอ็กเซล ตัดช่องวางในเอ็กเซล ผูกเว็บกับ Google Analytics ฟังก์ชั่น Text การใช้ วิธีการตัดข้อความใน Excel วิธีทำ แผนภูมิ วงกลม Excel สูตร COUNTIF สูตรexcel concatenate สูตรการหาผลรวมใน Excel หาผลต่างระหว่างเดือน เพิ่มรายการใน Data Validation แผนภูมิ คอลัมน์ excel แผนภูมิคอลัมน์ เรียงซ้อน ใส่สีให้ dropdownlist